ผวาทั้งเมือง !! "แมงมุมจิ๋ว" พิษรุนแรง สมัยสงครามโลก โผล่สยองในถ้ำจ.กาญฯ กว่า500ตัว! -มีความสำคัญระดับโลก?

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกีฏวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เตรียมแถลงข่าว การค้นพบ แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน Loxosceles rufescens ครั้งแรกในประเทศไทย ในวันนี้ (20 ม.ค.) ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์ อาคารเคมี2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการค้นพบแมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน Loxosceles rufescens ถูกค้นพบในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. เขาวังเขมร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

 

เฟซบุ๊ก "พิรัตน์ โลกาพัฒนา" ได้อธิบายไว้ว่า แมงมุมดังกล่าว เป็นสายพันธุ์ญาติของ Brown Recluse ที่มีการแชร์ในอินเทอร์เน็ตว่าทำให้เกิดแผลเน่าดำได้ เนื่องจากพิษของ Loxosceles rufescens ทำให้เกิดอาการ necrotic arachnidism หรือแผลเนื้อตายจากพิษแมงมุม

 

ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า แมงมุมพิษ “แมงมุมสันโดษเมดิเตอเรเนียน” เจอในถ้ำตามธรรมชาติที่ไทรโยคประมาณมากกว่า 500 ตัว มันอาจจะติดมาไทย ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยติดมากับวัสดุอุปกรณ์ที่มากับการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งต้องรอผลดีเอ็นเอพิสูจน์ก่อน และน่าจะไม่ได้กระจายออกไปนอกถ้ำ โดยถ้ำนี้ก็อยู่ห่างชุมชน ไม่เคยพบในบ้านเรือนของไทย ไม่มีนิสัยดุร้าย

 

แมงมุมสันโดษเมดิเตอร์เรเนียน ถือเป็นแมงมุมที่มีพิษรุนแรง และมีความสำคัญระดับโลก โดยปกติแล้วแมงมุมชนิดนี้พบได้ในแถบยุโรป อเมริกา และมีระบาดข้ามมาทางเอเชียบ้าง โดยที่ผ่านมามีรายงานการถูกแมงมุมดังกล่าวกัดที่อินเดีย แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันชัดเจนว่ามีการพบในประเทศไทย ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการแถลงอย่างจริงจัง ต่อการค้นพบแมงมุมดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลและอ่านเพิ่มเติมจาก

ผวาทั้งเมือง !! "แมงมุมจิ๋ว" พิษรุนแรง สมัยสงครามโลก โผล่สยองในถ้ำจ.กาญฯ กว่า500ตัว! -มีความสำคัญระดับโลก?