"บิ๊กตู่" อวยพรวันวาเลนไทน์ แนะวัยรุ่นท่องเที่ยวอย่างระมัดระวัง !! (รายการคืนความสุขฯ)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ประจำวันที่ 12 ก.พ. - ดำเนินการสร้างความเสถียรภาพด้านความมั่นคงให้กับประเทศ - อวยพรวันวาเลนไทน์ วัยรุ่นควรท่องเที่ยวแบบระมัดระวัง รักษาประเพณีไทยไม่ให้เสียหาย ...

 

 

 

 

วันนี้ (12 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนี้
         


สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
         

วันนี้ผมมีเรื่องสำคัญที่อยากจะเรียนให้ทราบนะครับ สัปดาห์นี้ เรื่องที่ 1 นะครับ ประชาชนทุกท่านอยากให้ทุกท่านลองพิจารณาดูนะครับว่าท่านทราบหรือยัง ว่าสิ่งที่รัฐบาลนี้ คสช.ได้ดำเนินการไว้มีอะไรบ้างนะครับ ช่วยกรุณาพิจารณาคิดย้อนกลับไปดูนะครับว่า อะไรที่เราทำเสร็จแล้ว อะไรที่เริ่มทำ แล้วมีการแก้ไขอะไรเปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้างนะครับ อะไรที่ต้องเริ่มต้นใหม่ แล้วทำต่อเนื่องนะครับ
         

หลังจากเข้ามา 22 พ.ค.57 คสช.ได้นำความสงบสุขกลับคืนมานะครับ ได้ดำเนินการสร้างเสถียรภาพด้านความมั่นคงให้กับประเทศ ปลดล๊อคในทุกเรื่องที่ติดขัดทั้งๆ ที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งในเรื่องอื่นๆ ด้วยก็ตาม ตลอดจนกระบวนการประชาธิปไตยที่มีข้อจำกัด เพื่อจะขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้นั้น เราได้นำทุกเรื่องเข้าสู่การพิจารณาดำเนินการนะครับ โดยเฉพาะเรื่องคดีต่างๆ ก็นำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ฯลฯ
         

ในส่วนของการบริหารราชการแผ่นดินในห้วงต่อมานั้น ผมได้พบปัญหาต่างๆ ที่สะสมมากมายนะครับ ของประเทศเรานี้ มีหลายอย่างด้วยกัน อาทิ ปัญหางาช้าง ,ปัญหาการค้ามนุษย์, ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย, ปัญหาการบินพลเรือน ตลอดจนวามไม่เป็นสากลต่างๆ กฎหมายที่ไม่ทันสมัยเหล่านี้ เป็นปัญหาทั้งสิ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานะของประเทศในเวทีโลก ในการค้า การลงทุน ทั้งสิ้น สำหรับปัญหาภายในประเทศที่ต้องเร่งแก้ไข ได้แก่ปัญหาความมั่นคงหลายอย่างด้วยกันนะครับ ทั้งในส่วนของการบูรณาการ การสร้างความเชื่อมั่น ในการลงทุนจากต่างประเทศ ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ,ปัญหาความเดือนร้อนของพี่น้องเกษตรกร, ปัญหาในการจัดระเบียบสังคม ถนนหนทาง การขายของ ปัญหาการทำงานที่ไม่บูรณาการ นะครับ ผมเคยกราบเรียนแล้วว่าจะต้องบูรณาการทั้งคน เจ้าหน้าที่แผนงานโครงการ และงบประมาณนะครับ เพื่อจะไม่ซ้ำซ้อนกัน ทำในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นพื้นที่ หรือเป็นกิจกรรมซึ่งเรากำลังเดินหน้าอยู่นะครับ
         

ปัญหาทีแก้ต่อไปคือปัญหารัฐวิสาหกิจที่ต้องมีการฟื้นฟู นะครับ จากภาวะ การขาดทุนแล้วอาจจะมีความไม่โปร่งใสในบางประเด็น รัฐบาลก็พยายามจะแก้ไขนะครับ ซึ่งทุกอย่างต้องใช้เวลาด้วย ถ้าเร็วเกินไปก็อาจจะมีปัญหาต่อไปในอนาคตนะครับ ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ด้วยดี ในระดับที่เป็นที่น่าพอใจนะครับ อย่างไรก็ตามรัฐบาลและ คสช.นั้นปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้อยู่แล้ว ในการบริหารราชการแผ่นดินในวันนี้ นะครับ ก็เป็นโอกาสที่พวกเราเข้ามาพอดีเศรษฐกิจโลกตกต่ำลงทั้งหมดนะครับ ด้วยสาเหตุหลายๆ อย่างด้วยกัน ทุกเรื่องถ้าเรายังไม่มีความพร้อมต้องรีบแก้ไขนะครับ ต้องปรับปรุง ต้องสร้างความเข้มแข็ง เร่งช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เพื่อเป็นการบรรเทาไประยะหนึ่งก่อนนะครับ แล้วก็เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะงั้น รัฐบาล และคสช. รวมทั้ง สนช. , สปท. , กรธ.ก็ได้ดำเนินการในทุกเรื่อง หลายเรื่องเสร็จแล้ว, หลายเรื่องกำลังทำ หลายเรื่องต้องทำต่อเนื่องอีกมากมาย นั่นแหละครับคือเหตุผลที่ผมต้องพูดมากทุกวันนี้ เพราะบางทีก็ลืมไปแล้ว ลืมไป ปีกว่าๆ สองปีลืมหมดนะ
         

ในเรื่องการปฏิรูปนะครับ สิ่งสำคัญคือ ทุกเรื่องต้องมีการประสานสอดคล้องกันทั้งหมด ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทุก 5 ปี นโยบายความมั่นคง ของ สปช. แล้วก็แผนงานของทุกส่วนราชการ รวมความถึงแผนการปฏิรูปที่เราได้วางไว้ แผนการปฏิรูปในช่วง 1 - 5 ปี แล้วสอดคล้องกับแผนสภาพัฒน์ฯ 5 ปี แล้วไป 4 แผน 4 x 5 = 20 นะครับ เพราะงั้นเราได้เตรียมแผนปฏิรูปไว้เป็นระยะนะครับ ระยะที่ 1 คือ ถึงปี 60 รัฐบาลนี้ยังอยู่นะครับ อันนี้คือใช้แผนที่ 12 เริ่มต้นเราจะเอา แผน 12 นี่ บางอย่างที่เราร่างไว้แล้วนี่มาขับเคลื่อนให้ได้ก่อน ปี 59 ในปี 59 นี้นะครับ เพราะงั้นวันนี้เรากำลังสร้างความเข้มแข็งของประเทศ วางพื้นฐานทั้งหมด เหลือเวลาของผมอีกประมาณ ปีกว่าๆ นะครับ ถึงปี 60 หลังปี 60 ไปแล้วนั้น เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 เต็มๆ เพราะงั้นเราก็ต้องวางว่า 60 - 64 จะเป็นยังไง 65 - 69 จะเป็นยังไง 70 - 74 เป็นยังไง 75 - 79 จะเป็นอย่างไรนะครับ นั้นคือยุทธศาสตร์ 20 ปี แล้วมองย้อนกลับมานะครับว่าเราจะทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แผน 12 - 15 ได้อย่างไร เพื่อเป็นการประเมินผลความคืบหน้าในการบริหารราชการแผ่นดิน ของรัฐบาลทุกรัฐบาล ถอยหลังมาทุก 5 ปี นะครับ แล้วกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า แล้วมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลต่อๆ ไป ในลักษณะที่ จะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้อง
         

เพราะงั้นการปฏิรูปประเทศนั้น เราอาจจะต้องทำไปอย่างต่อเนื่องนะครับ บางเรื่องอาจจบภายในปีเดียว หรือภายใน 5 ปี หรือภายใน 1 ปี หรือภายในเวลา 20 ปี อาจจะนานกว่านั้นก็ได้นะครับ เพราะว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะ 20 ปีข้างหน้า ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น วันนี้เราต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้นะครับ สถานการณ์โลกมันเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งสำคัญ ทุกประเทศในโลกนี้มีผลกระทบทั้งสิ้น เพราะงั้น การบริหารประเทศของทุกรัฐบาลต่อไปนี้ ต้องทันต่อทุกสถานการณ์นะครับ มีการวางแผนล่วงหน้าตลอดเวลา มีมาตรการลดความเสี่ยงนะครับ แล้วมีกลยุทธ ยุทธศาสตร์ตามห้วงระยะเวลาที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนด้วยนะครับ
         

การปฏิรูปประเทศนั้น อย่าใจร้อนมากนะครับ เพราะว่ามหาอำนาจบางประเทศผมไม่อาจจะกล่าวนามได้นะ ยังไม่หยุดการปฏิรูปเลยวันนี้ เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อยอยู่นะครับ มากกว่าเราอีก แต่ส่วนรวยคือรวย ส่วนตรงกลางก็ตรงกลาง แต่เขามากกว่าเรา เพราะงั้นอย่างไรก็ตามเขาต้องพัฒนาไปสู่ข้างล่างเพราะว่าเป็นสาเหตุของการที่มีความขัดแย้ง หรือ ความเหลื่อมล้ำในสังคมนะครับ ในเรื่องของอาชีพ รายได้ ทำให้มีช่องว่างในการพัฒนานะครับ
         

ประชาชนอาจจะไม่มีความสุขถ้าเขามีรายได้น้อย หนี้สิ้นมาก บ้านเราก็เป็นมากนะครับ เรื่องนี้ที่ผมกล่าวนี้ เราต้องแก้ปัญหานะครับ แล้วก็ไม่ใช่แก้ทั้งหมดที่เดียว มันแก้ไม่ได้หรอกครับ เพราะงบประมาณจำนวนมาก เราต้องทำทั้งระดับบน-กลาง-ล่าง คือรวยมาก รวยน้อย ตรงกลาง มาถึงรายได้น้อย จะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกันนะครับ เราเรียกว่า อยู่ในวงจรที่เรียกว่า "ห่วงโซ่คุณค่า" ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เกื้อกูลต่อกัน พี่จูงน้อง อะไรเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น ในสังคมไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนะครับเราต้องเข้มแข็งจากทั้งภายในประเทศ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ก็คือชุมชน จังหวัด กลุ่มจังหวัดนะครับ แล้วก็ไปต่างประเทศ เราต้องร่วมมือกันทำงานกันแบบ "ประชารัฐ" นะครับ ในทุกๆ อย่าง ทั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิบัติงานในพื้นที่ ความร่วมมือของทกภาคส่วนนะครับ ต้องร่วมมือกันให้ได้
         

เพราะงั้นผมก็อยากเรียน บรรดากลุ่ม NGO ทั้งหมดนะครับ ขอความกรุณาต้องเข้าใจนะครับ ว่าบางอย่างนั้นเราต้องเดินหน้าประเทศนะครับ เพราะงั้น ก็ขอให้ทุกคนได้พิจารณาดูให้ถ่องแท้นะครับ ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นมีประโยชน์กับใคร หรือทำให้ใครเสียประโยชน์ และอะไรมาก อะไรน้อย แล้วจะแก้ปัญหาที่เสียประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ส่วนใหญ่จะได้มาเพื่อส่วนรวมหรือเปล่า เห่านี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องพิจารณาใหม่นะครับ ไม่งั้นมันเกิดปัญหาทั้งหมด แล้วท่านก็บอกว่ารัฐบาลนี้ทำอะไรไม่ได้เลย ทุกรัฐบาลนะครับ ทำไม่ได้หมด เพราะว่าขัดแย้งกัน ไปในตัวอยู่แล้ว โดยปัจจัยพื้นฐาน บางอย่างต้องเปลี่ยนแปลง บางอย่างต้องมีการเปลี่ยนวิธีการถ้าท่านบอกว่าเอาพื้นฐานเดิมมาหมด ก็ไมไม่ได้ ก็ต่อต้าน ขัดแย้งกัน ทั้งหมด ทำอะไรก็ไม่สำเร็จหรอกครับ ประเทศก็ไปไม่ได้ เราก็มีผู้มีรายได้น้อยอยู่แบบนี้ ตลอดเวลานะครับ
         


ถ้าท่านได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง แม่น้ำทั้ง 5 สาย นะครับ ผมได้จัดทำแผนผังขึ้นมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ เดี๋ยวท่านคงได้เห็นกันทั่วไปนะครับ กรุณาดูสักนิดหนึ่งนะ ว่าวันนี้เราทำงานมากมายแค่ไหน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 22 ทุกอย่างเดินหน้าไปตาม Road Map ที่ผมกำหนดไว้ทั้งสิ้น แล้วมีกิจกรรมในนั้นทั้งที่เขียนลงไปแล้ว บางอย่างก็อาจจะลงไปยังไม่ครบ แต่ให้รู้ว่าเราต้องเดินหน้าประเทศแบบนี้นะ ทั้ง 6 กลุ่มนะครับ ที่เรามีราองนายกรัฐมนตรีกำกับอยู่ในขณะนี้นะ ทั้ง 19 กระทรวงนะครับ ที่กำลังเดินหน้าประเทศอยู่ เพราะงั้นเรา จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกพวก ทุกฝ่ายนะครับ แม้กระทั่งฝ่ายการเมืองที่จะอาสาเข้ามาทำงานให้กับประเทศในห้วงต่อไป เพราะงั้นประชาชนที่เลือกท่านเข้ามานั้น ขอให้ท่านเคารพในสิทธิของเขาบ้างนะครับ สิทธิของประชาชน ไม่ต้องรอให้เขาขอความช่วยเหลือทุกครั้งไป แล้วถึงจะช่วย หรือเลือกช่วย หรือเฉพาะ เพื่อเป็นฐานเสียง อะไรต่างๆ เหล่านี้ ผมว่าผิดหลักการประชาธิปไตยนะครับ หลายท่านได้กล่าวไว้แล้วนะครับ ในขณะนี้
         

เรื่องที่ 2 คือการดำเนินการดังกล่าว นั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือมีกฎหมายลูก เพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่องนะครับ ผมกล่าวไปแล้วเรื่องปฏิรูป เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องวามมั่นคง นโยบาย ทุกอย่างไม่ใช่เดินไปทีเดียวแล้วเลิก ปีหน้าเปลี่ยนใหม่มันเป็นไปไม่ได้ เราก็จะไม่มี สะเปะ สะปะ ไม่มีทิศทางหางเสือ เพราะงั้นอันนั้นแหละคือเข็มทิศนำทางทั้งหมดนะครับ เพราะงั้นใช้เข็มทิศให้เกิดประโยชน์ด้วย ไม่งั้นเราจะเกิดปัญหากับการบริหารราชการแผ่นดินไปอนาคต ผมเข้าใจดีนะครับว่ารัฐบาลต่อไปก็อาจจะเกิดยังไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ว่าสิ่งที่ผมทำไว้แล้วนี่ จะทำให้ท่านลำบากหรือเปล่า ผมกราบเรียนว่าถ้าทุกคนจะต้องลำบากนะ ลำบากด้วยความบริสุทธิ์ใจ ลำบากเพราะเราทำทุ่มเทให้กับประชาชน ผมว่านั่นแหละคือความลำบากที่ต้องเจอ ไม่ใช่ลำบากในการที่จะใช้จ่ายงบประมาณ ลำบากในการที่จะทำนโยบายต่างๆ ที่เป็นปัญหา ไม่ใช่ๆ ผมไม่ต้องการอย่างนั้น เพราะงั้นท่านก็กรุณาบริหารราชการแผ่นดินในลักษณะที่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ เป็นไปตามแผนปฏิรูป เป็นไปตามนโยบายด้านความมันคง นะครับ
         

แล้วก็เดินไปสู่การบริหารราชการแผ่นดินในสิ่งที่ท่าน เป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง มีนโยบายพรรค มีอะไรต่างๆ ท่านก็ว่าของท่านไป เรากำหนดแนวทางไว้ให้ มีแผนสำเร็จรูปไว้ให้ แต่ท่านจะทำหรือไม่ทำก็ขึ้นอยู่กับท่านนะ ท่านก็ต้องตอบสภา ตอบในส่วนที่ต้องตรวจสอบทั้งหมด มีเหตุผลความจำเป็นอย่างไรถึงทำ ไม่ทำ อะไรก็แล้วแต่ ผมไม่บังอาจไปบังคับท่านได้อีกต่อไปแล้วนะครับในวันหน้า เพราะงั้นทุกคนจะต้องสร้างความเข้มแข็ง สร้างความมั่นคง สร้างความเชื่อมั่น ไว้เนื้อเชื่อใจในการที่จะ ทำอะไรก็ตามเพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศนะครับ ทำเพื่อประชาชน เราต้องปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ การเกษตร อุตสาหกรรม การค้าการลงทุนนะครับ และทุกอย่างต้องเข้มแข็งจากภายในตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับหมู่บ้านชุมชนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ไปการค้าชายแดน ไป CLMV ไปอาเซี่ยนไปประชาคมโลกอื่นๆ นะครับ
         

เพราะงั้นรัฐบาลนี้จะทำแผนระยะยาวไว้ 20 ปี แผนที่ว่าไม่ใช่แผนที่จะต้องลงละเอียดเป๊ะๆ ไม่ใช่ บังคับท่านไม่ได้ แต่จะเป็นกรอบที่จะต้องเป็นเข็มทิศนำทางที่ผมเรียนท่านแล้วนะ เป็น Road Map ในทุกเรื่อง ในนั้นจะบรรจุในเรื่องของแผนปฏิรูปไว้ด้วยนะครับ ให้สอดคล้องกับแผนตรงนี้ สภาพัฒน์ฯ ก็ทำแผน 5ปี สอดคล้องกับตรงนี้ ทุก 5 ปีก็เปลี่ยนได้ ยุทธศาสตร์ที่ว่านี่ ถ้ามีความจำเป็นนะครับ เช่นในเรื่อง การบริหารจัดการน้ำ, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วันนี้ต้องรู้แล้วว่าประเทศไทย 20 ปีข้างหน้าจะเดือดร้อนอะไร วันนี้เราเดินมาเท่าไรแล้ว เราต้องเดินอะไร ระยะที่เหลือ ทุก 5 ปี หรือทุกปีที่เป็นเรื่องของท้องถิ่น นี่แหละครับถึงจะไปสู่การกระจายอำนาจ การใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากท่านวันหน้ามีปัญหากันนะครับ ในเรื่องเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของสภาทั้งสองสภา ก็ต้องไปหารือร่วมกันว่าจะทำยังไง จะแก้ปัญหาอย่างไรนะครับ ใครจะเป็นคนตัดสิน ไม่รู้ ท่านต้องไปสร้างความเข้าใจให้ได้ก่อน
         

อย่ามองว่าทำอันนี้เพื่อจะอย่างโน้นอย่างนี้ แสดงว่าท่านก็คิดว่าจะมีเรื่อง จะมีความทุจริต จะมีความขัดแย้ง ใช่หรือไม่ ถ้าเราคิดว่าทุกคน พยายามไม่ไปสู่ความขัดแย้ง ไม่ไปสู่ประเด็นแห่งปัญหา ทั้งหมดผมว่าไม่ต้องไปกลัวใครทั้งสิ้น เพราะทำอะไรท่านไม่ได้อยู่แล้ว แม้กระทั่งทำแบบผมก็ทำไม่ได้ ถ้าไม่มีสาเหตุนะ แล้วก็ให้แก้ปัญหาอะไรก็แก้ไม่ได้ ก็ต้องดำเนินการตามที่ผมทำมานี่แหละนะ เพราะงั้นขอให้แยกแยะให้ออกว่าอะไรยุทธศาสตร์ อะไรคือนโยบายพรรค อะไรคือนโยบายรัฐบาล อะไรคือประชาชนนะ ขอให้ดูด้วยนะครับ ฝากไว้แล้วกัน ประชาชนช่วยกันดูด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศเป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แก้ปัญหาเรื่อ’ความความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเท่าเทียมความเป็นธรรม ประชาชนทุกคนได้เห็นอนาคต 20 ปีข้างหน้า คือเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมา ปี 60 นี่ นะ เกิดพร้อมแผน 12 นี่นะ เขาจะได้รู้ว่า 20 ปีข้างหน้า เขาเรียนหนังสือ จบปริญญาตรีแล้วเขาจะเห็นอะไรประเทศเขา เขาจะได้คิดว่าจะเรียนหนังสือยังไง เขาจะพัฒนาตัวเองอย่างไร เพื่อจะไปสู่จุดๆ นั้นเมื่อเขาจบปริญญาตรี อายุ 19 - 20 อะไรทำนองนี้ ผมก็คิดห่านไว้แบบนี้นะครับ ถูกหรือผิดก็ไปคิดกันเอาเอง
         

เรื่องที่ 3 ทุกรัฐบาลนั้นจะต้องเอาปัญหาประเทศมาเป็นตัวกำหนดนะครับ แยกปัญหาออกให้ชัดเจน ปัญหาหลัก ปัญหารอง ปัญหาที่เป็นปัจจัยเสริมให้ปัญหานี้แรงขึ้น ความขัดแย้งแรงขึ้นท่านต้องเอาปัญหาทุกอันมาคลี่ดูให้หมด แล้วเอาประชาชนทุกคนในประเทศมาเป็นเป้าหมาย การจะแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อให้เกิดผลกับประชาชนมีความสุข ระหว่างทางนี้ เราก็มาสู่วิธีการบริหารราชการแผ่นดิน ที่เป็นธรรมาภิบาล ก็ต้องไปดูเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณด้วยนะครับ การจัดทำแผนงานโครงการ ทุกกระทรวงนั้น ถ้าหากว่าเราทำไปโดยไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาเหล่านี้ไปด้วยนี่ ไม่อาจจะนำประเทศไปสู่ความเข้มแข็งได้เลย เพราะงั้นเราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทั้งหน่วยงาน ทั้งโครงสร้าง ทั้งกระบวนการ ที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง อย่างแท้จริง
         

เรื่องที่ 4 คือ การที่จะเพิ่มขีดความ สามารถของประเทศนั้น จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนนะครับในทุกประเด็น กราบเรียนไว้แล้วว่าต้องมีมาตรการลดความเสี่ยง และรู้ว่าปัจจัย ภายนอก สถานการณ์โลกจะเป็นยังไง โดยการประเมิน ผมคิดว่ามีหน่วยงานเยอะแยะไป ของ UN ก็มี ประชาคมแต่ละประชาคมก็มีนะครับ ทุกคนก็เขียนแผน เขียนกลยุทธกันไว้หมด เอามาศึกษาซะบ้างนะ เราจะได้ทำแผนสำรองไว้ ให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน ภัยพิบัติ น้ำแล้ง หรือการสู้รบ อะไรก็แล้วแต่ เขาเรียกว่าภัยคุกคามรูปแบบใหม่ไงนะ เพราะงั้นให้ปัจจัย ภายใน ภายนอก สถานการณ์โลกมาเป็นตัวกำหนดด้วยว่าเราจะแก้ปัญหาแล้วเตรียมการประเทศเราให้พร้อมอย่างไร เข้มแข็งได้อย่างไรนะครับ
         

เรื่องเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเหมือนกัน กับทุกคน ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยก็หนักนะ เพราะเรามีประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทำการเกษตร แล้วก็อาชีพอิสระอื่นๆ ประมาณสัก 30 - 40 ล้านคนนะ ในท้องถิ่นต่างๆ เพราะงั้น อาจจะไม่เข้าใจคำว่า "เศรษฐกิจ" มากนักนะครับ ต้องเห็นใจ พ่อแม่พี่น้อง เพราะวันๆ ก็ทำงานหาเงิน เลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด อาจจะไม่มีเวลาที่ศึกษาในรายละเอียดนะครับ เพระงั้นก็ให้ทุกคนช่วยกันถ่ายทอด สร้างความเข้าใจ สร้างการเรียนรู้นะครับ ให้ได้มากที่สุดนะ เพราะ "เศรษฐกิจ" ผูกพันหลายอย่างด้วยกัน ตั้งแต่ส่งออก - นำเข้า ตั้งแต่ภาษี รายได้ประเทศ เศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ต้องเกื้อกูลกันอย่างไร ถ้าเรามองแต่เพียงว่าหาเงินให้ประชาชนมีใช้ไปเรื่อยๆ แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้ให้เขา แล้วเขาจะเข้มแข็งหรือเปล่า
         

วันนี้รัฐบาลพยายามทำทุกอย่างนะครับ ก็ขอให้เข้าใจด้วย ก็เสียใจทุกครั้ง เวลาทีทำอะไรไปแล้ว ไม่เข้าใจนะ เพราะงั้นเราต้องสร้างความเข้มแข็งให้ได้นะครับ อย่าไปทำอะไรที่เป็นเหมือนภาพลวงตา ไม่สร้างความยั่งยืน กลายเป็นว่าประชาชนกลายเป็นคนไม่มีเหตุ มีผลมันมาอย่างนี้ได้ยังไง ใช้อย่างนี้ได้ยังไง ไม่สนใจ สนใจแต่เพียงว่าเราได้อะไร เราไม่ได้อะไร อย่างนี้ไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าเราไม่ได้สร้างวัฒนธรรมในองค์กร หรือในประเทศของเราให้เป็นองค์ที่มีส่วนร่วมซึ่งกันและกันนะ ลำบากก็ต้องลำบากด้วยกัน แล้วก็ช่วยกันแก้ปัญหา พยุงเพื่อน พยุงน้อง พยุงพี่ อะไรก็แล้วแต่ ต้องจูงมือไปด้วยกันนะครับ เพราะงั้นให้คำนึงถึงความสัมพันธ์ปัจจัยภายใน ภายนอก เป็นหลักด้วยนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เป็นธรรม / เหลื่อมล้ำ ปัจจัยภายนอก โครงสร้างเศรษฐกิจไทย ความเข้มแข็งภาครัฐ - ภาคธุรกิจ - ภาคประชาชน เหล่านี้ทั้งหมดต้องแก้ไข
         

5. เรื่องสำคัญที่มองเห็นอีกอย่างคือ การบูรณาการแผนงาน โครงการของทุกกระทรวง ในกิจกรรมเดียวกันนะครับ เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำ โครงการปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบ โครงการปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบนะครับ การปรับปรุงเรื่องการค้า การอำนวยความสะดวก กฎหมาย เรื่องการลงทุน สิทธิประโยชน์ อุตสาหกรรม ขยายศักยภาพในการทำอุตสาหกรรมให้ทันสมัยขึ้น รองรับการที่จะปรับเปลี่ยนการปฏิรูปเศรษฐกิจ ระยะที่ 4 ของโลกใบนี้นะครับ งานทุกงานนี่ หลายงานไม่ใช่กระทรวงเดียวทำสำเร็จนะ เช่นเรื่องน้ำ มีทั้งกระทรวงเกษตร , มหาดไทย , ทรัพยากรฯ มีหลายกรมอยู่ในนั้น เพราะงั้นถ้าทุกคนต่างคนต่างทำก็จะกระจายเป็นเบี้ยหัวแตกไปทั่ว เหมือนไปขุดตรงโน้น ตรงนี้ แต่ระบบส่งน้ำไม่มี ก็ไปสู่ผู้ใช้น้ำไม่ได้ยังไง แล้วก็บริหารจัดการไม่ได้ นี่คือปัญหาของเรา เพราะงันเราจะต้องมาทำงานในเรื่องของงบประมาณกันใหม่ ทำแผนโครงการกันใหม่ ต้องมีการบูรณาการ ผมจะใช้ตั้งแต่ปี 59 ไปเลยนะครับ
         

ถึงงบประมาณออกมาแล้ว แผนงานออกมาแล้ว แต่ผมจะจัดเข้ากรอบใหม่นะ และจะต้องจัดทำตาม Road Map ที่ผมมีอยู่ ปีกว่าๆ นี่ ให้ได้ อย่างน้อยก็ให้เกิดประโยชน์ให้จบเป็นพื้นที่ ตามความต้องการของประเทศ ตามความเร่งด่วนให้ได้ก่อนนะครับ ทำยังไงจะเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กัน อันนี้เสร็จ อันนี้อาจจะยังไม่เสร็จ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนนะ แต่ถ้าทุกคนต้องการเท่ากันทั้งหมดมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะว่ามีความแตกต่างนะครับ
         

สิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด จะเข้ามาข้อ 6.นี่คือเราต้องมี การจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณใหม่ซึ่งผมกำลังให้ร่างอยู่ ถึงจะทำให้เกิดการบูรณาการอย่างนั้นได้ เพราะไม่งั้นต่างคนต่างทำแผน ต่างคนต่างใช้ ต่างคนต่างเบิกนะ ทำสัญญา ก็ทำคนละที่หมด วันนี้ต้องมาทำร่วมกัน แล้ววาง Road map ว่าทุกอย่างต้องทำพร้อมกัน เรืองน้ำ ทุกกระทรวงต้องเสนอกันมา พร้อมกัน เข้า ครม.พร้อมกัน แล้วไปเปิดทำสัญญาพร้อมกัน ผมว่าน่าจะทำได้นะ กำลังทำอยู่ ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็เสนอมาแล้วกัน ผมว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยนะ ตรวจสอบก็ง่ายขึ้น แล้วก็จับต้องได้
         

เรื่องที่ 7. เรื่องการสร้างการรับรู้นะครับ รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจ ถึงแม้ว่าจะมีการต่อต้าน บิดเบือนอยู่มากพอสมควรนะครับ ผมก็ไม่ทราบว่าด้วยเหตุอะไรนะ วันนี้เราไม่ได้ห้ามใครแสดงความคิดเห็นอันบริสุทธิเลยนะครับ เว้นแต่อย่าทำผิดกฎหมาย เข้าช่องทางที่ไม่ถูกต้อง หรือไปวิพากษ์วิจารณ์โดยเจตนาไม่สุจริต เหล่านี้ ผมคิดว่าถ้าท่านยังท