"พท." ร่ายยาว !! วิจารณ์ร่างรธน.ปราบโกง - อ้าง "องค์กรอิสระ-ศาลรธน." ทำหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

"พรรคเพื่อไทย" ร่อนแถลงการณ์วิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม อ้างการทำหน้าที่องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญเกิดปัญหาความไม่เที่ยงธรรม - สิทธิเสรีภาพ-การบริหารราชการแผ่นดินไม่ตอบสนองปชช.

 

วันนี้ (21 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางเว็บไซด์พรรคเพื่อไทย ได้เผยแพร่แถลงการณ์ในหัวข้อ "ข้อเสนอในการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ" โดยระบุเนื้อหาว่า

 


ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกเสร็จสิ้นและส่งให้องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคการเมืองได้พิจารณาและเสนอข้อคิดเห็นตลอดจนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในภูมิภาคต่างๆ เพื่อประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้เกิดความเหมาะสมต่อไป นั้น

 


พรรคเพื่อไทยเห็นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีผลต่อทุกคนในสังคม กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงควรให้ประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย แต่พรรคเพื่อไทยเข้าใจและยอมรับต่อความจำเป็นของสถานการณ์ เนื่องจากเป็นการร่างรัฐธรรมนูญภายหลังที่มีการรัฐประหาร อย่างไรก็ดีเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะมีความเป็นประชาธิปไตย และมีสาระสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมยอมรับได้ แต่เมื่อได้พิจารณากรอบแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่แสดงออก  ผ่านการให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณชนและเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแล้ว มีหลักการ  และสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญหลายประเด็นที่นับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ อันจะนำไปสู่ปัญหา  และวิกฤตของชาติรอบใหม่ พรรคเพื่อไทยจึงขอสรุปประเด็นอันเป็นปัญหาสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

 


1.   การตั้งโจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด

 


การร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ดีนั้นจะต้องเข้าใจปัญหาของประเทศ  ให้ถูกต้องว่าต้นเหตุของปัญหานั้นคืออะไรเสียก่อน การตั้งโจทย์หรือปัญหาในการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาด นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาแล้ว ก็จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น และซับซ้อนเข้าไปอีก

 


เมื่อพิจารณาปัญหาของประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญคือ ปัญหาปากท้องของประชาชน มีประชาชนจำนวนมากยังมีฐานะยากจนมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตจากผลของรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ขณะที่การปรับตัวของราคาสินค้าและค่าครองชีพ  สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในภาคเกษตรต้องประสบกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่  ไม่แน่นอน ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทุกรัฐบาลได้รับรู้ถึงปัญหาและได้ช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด จนปัญหาดังกล่าวได้ลดระดับความรุนแรงลงและทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งประชาชนมักจะเลือกพรรคการเมืองที่มีแนวคิดที่มุ่งให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของตนเอง และรัฐบาลก็ต้องบริหารประเทศให้ได้ตามนโยบายที่ได้สัญญาไว้ แต่เจตนาของพรรคการเมืองและนักการเมืองรวมถึงความหวังของประชาชนได้ถูกบิดเบือนและทำลายลงไปทุกครั้งเมื่อมีการทำรัฐประหาร โดยคณะรัฐประหารที่มุ่งจะได้อำนาจการปกครองของประเทศได้สร้างเงื่อนไขและความชอบธรรมให้กับตนเอง โดยการโจมตีใส่ร้าย ทำลายความชอบธรรมของนักการเมืองและรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น ทั้งข้ออ้างเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างว่ามีการใช้นโยบายประชานิยมบ้าง หรือการทุจริตเชิงนโยบายบ้าง เป็นต้น

 


และเมื่อทำรัฐประหารได้สำเร็จ ก็มีการสร้างกฎกติกาของตนเองเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มุ่งเอาผิดกับนักการเมืองและผู้บริหารประเทศที่ตนเองไปยึดอำนาจเขามา ซึ่งกฎกติกาเหล่านั้น แม้โดยรูปแบบและเนื้อหาจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างชัดแจ้ง  ก็รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จนยากที่ศาลจะพิจารณาให้เป็นอย่างอื่นได้

 


นอกจากนี้ก็รับรองผลการกระทำของคณะรัฐประหารว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ตนเองต้องถูกตรวจสอบ เมื่อเอาผิดกับนักการเมืองได้สำเร็จก็อ้างคำพิพากษาของศาลเพื่อโจมตีนักการเมืองและพรรคการเมืองว่าเป็นต้นตอของปัญหา ทั้งที่ข้อเท็จจริงปัญหาต่างๆ ของประเทศและของประชาชนที่ผ่านมา ก็มีนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้แก้ปัญหา  ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง แล้วเข้ามากำหนดนโยบายของรัฐบาลอันเป็นหลักการสากลที่ทั่วโลกยอมรับ

 


ในการบริหารราชการ อาจมีนักการเมืองบางคนมีปัญหาบ้าง แต่รัฐธรรมนูญและกฎหมายก็มีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการถอดถอนจากตำแหน่งหรือการดำเนินคดีอาญา และรัฐธรรมนูญก็เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรียุบสภาเพื่อแก้ไขปัญหาได้ แต่มิใช่ว่านักการเมืองและพรรคการเมืองทั้งหมดจะเป็นคนเลวหรือเป็นคนไม่ดีตามวาทกรรมที่ฝ่ายผู้ยึดอำนาจโจมตีใส่ร้าย

 


หากพิจารณาจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงแล้ว  ต้องยอมรับว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศต้องหยุดชะงัก ก็เนื่องมาจากการที่ทหารไม่ทำหน้าที่ของทหาร แต่มุ่งจะได้อำนาจรัฐและเข้าบริหารประเทศเสียเอง ด้วยการทำรัฐประหารบ่อยครั้ง เป็นการไม่ยอมรับในรัฐธรรมนูญและกระบวนการประชาธิปไตยที่มีอยู่ จึงทำให้เป็นปัญหาซ้ำซาก

 


การทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็ทำนองเดียวกัน ข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่าหากทหารได้ทำหน้าที่ของตนเองตามที่รัฐบาลร้องขอก็จะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงใดๆ ขึ้น แต่ทหารกลับเลือกแนวทางรัฐประหารแล้วเข้าบริหารประเทศเสียเอง ในวันที่ทำการรัฐประหารข้ออ้างสำคัญคือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมและการปฏิรูป แต่แม้จะบริหารราชการมาเกือบ 2 ปีแล้ว ปัญหาทั้งสองก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างใดเลย กลับยิ่งจะสร้างปัญหาความขัดแย้งให้เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลและ คสช.กลายเป็นคู่ขัดแย้งของประชาชน  เสียเอง

 


ส่วนการทุจริตของรัฐบาล ไม่ใช่เป็นข้ออ้างในขณะยึดอำนาจ แต่เมื่อได้อำนาจบริหารมาแล้ว ก็มีการหยิบยกข้ออ้างนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเองและนำไปบรรจุ  ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35 ที่มุ่งจำกัดบทบาทของนักการเมือง เสมือนกับนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้ร้ายและตนเองเป็นพระเอก ซึ่งกรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา 35 ประกอบกับแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นอัตตาสูง จึงได้ทำให้เกิดเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญผิดเพี้ยนไปจากหลักการสากลและปัญหาของประเทศอย่าง  มีนัยสำคัญ มุ่งทำลายนักการเมืองและพรรคการเมือง สร้างกลไกและกระบวนการเพื่อสร้าง  กลุ่มอำนาจใหม่ในการบริหารประเทศให้กับตนเองและพวกพ้องถึงขนาดตั้งชื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “ฉบับปราบโกง”

 


สำหรับข้ออ้างเรื่องความขัดแย้งของคนในสังคมนั้น เมื่อพิเคราะห์อย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็มิใช่สิ่งที่รัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจได้เป็นผู้สร้างปัญหา แต่ต้องศึกษาย้อนไปตั้งแต่เมื่อมีการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจและสร้างกลไกเพื่อมุ่งไล่ล่าทำลายล้างนักการเมืองที่เป็นปรปักษ์ จนส่งผลไปถึงกระบวนการยุติธรรมที่ต้องใช้กฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นนั้น ทำให้เกิดปัญหาความยุติธรรมสองมาตรฐานขึ้นในหลายคดี แม้จะสร้างกลไกสกัดนักการเมืองและพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามผ่านรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว แต่ประชาชนก็ยังเลือกตัวแทนของตนเข้ามาเป็นรัฐบาล แต่กลับมีการสร้างเงื่อนไขไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจนมีการบุกยึด ปิดล้อมหน่วยงานสำคัญ จนถึงทำเนียบรัฐบาลและ  ท่าอากาศยานสำคัญๆ ของชาติ แต่ผู้ที่กระทำการดังกล่าวได้รับการปกป้องจากกระบวนการยุติธรรม ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลที่มาตามระบอบประชาธิปไตยได้ถูกดำเนินการอย่างเร่งรีบ เฉียบขาด ไร้ความปราณี เมื่อออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกลับต้องถูกปราบปรามจนเสียชีวิต บาดเจ็บจำนวนมาก โดยรัฐบาลและทหารที่มีส่วนในการกระทำก็ไม่ต้องรับผิดใดๆ ในส่วนขององค์กรอิสระก็ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติมุ่งลงโทษเฉพาะกลุ่มการเมืองฝ่ายหนึ่งและช่วยเหลืออีกฝ่ายหนึ่ง จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

 


จึงเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญของบ้านเมืองเป็นปัญหาจากการไม่ยอมรับกติกาตามรัฐธรรมนูญของทหารและกลุ่มการเมือง การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมขององค์กรอิสระและศาลรั