"บิ๊กตู่" ลุยขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก - เน้นความมั่นคง-เศรษฐกิจร่วมกับ "มะกัน" (คำต่อคำ)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ประจำวันที่ 19 ก.พ. 2559 - แสดงจุดยืนถึงความสำคัญของอาเซียน เน้นความมั่นคง-เศรษฐกิจร่วมกับสหรัฐอเมริกา ...


เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ โดยมีเนื้อหาว่า

  

สวัสดี พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ เป็น  “วันมาฆบูชา” ขอหยิบยก “โอวาทปาติโมกข์” อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คือ “การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” ขอให้พี่น้องประชาชน ใช้เป็นเข็มทิศ เครื่องนำชีวิตสู่ความสุข อย่างแท้จริง และในการนี้ ขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ร่วมกันตั้งปณิธานความดี โดยคิดดี ทำดี และรักษาศีล 5 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในปีมหามงคล พ.ศ. 2559 นี้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 7 รอบ 84 พรรษารวมทั้งเพื่อแสดงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวทีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างพร้อมเพรียงกัน
 


สำหรับการเดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ณ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตามคำเชิญของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในห้วงที่ผ่านนั้นมีบทสรุปสำคัญ คือ การแสดงจุดยืนร่วมกันถึงความสำคัญของอาเซียน สำหรับบทบาทที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงร่วมกับสหรัฐอเมริกา  เพราะว่าเราต้องมีความเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว ดังนี้
            


1.  การส่งเสริมความมั่นคั่งของภูมิภาคผ่านกลไกทางเศรษฐกิจ  เพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน โดยเห็นว่าต้องคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย ทั้งนี้ ต้องอาศัยการขยายความร่วมมือ ในลักษณะเกื้อกูลกัน ในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน  และการช่วยเหลือด้านเงินทุนและเทคนิค ควบคู่ไปกับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เรามีจุดประสงค์ร่วมกันเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในประชาชนและในประเทศและในประชาคมด้วย  โดยต้องสร้างเข้มแข็ง แล้วก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง    ทั้งนี้ สิ่งที่เห็นว่าเราจะได้ประโยชน์ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต บนพื้นฐานของนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้แก่
   


(1) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ให้สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ในการประชุมทุกครั้ง ตั้งแต่การประชุมสหประชาชาติลงมา พูดถึงSME เราก็ดำเนินเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเทศ 
   


(2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก อาทิ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนด้านผลิตภาพ คือที่เรากำลังดำเนินประชารัฐสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วย
   


(3) การใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจยุคใหม่ อนาคตต้องใช้เศรษฐกิจดิจิทัล และในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ คือใช้ความรู้ความสามารถ ซึ่งสามารถจะต้องแข่งขันกันได้ในปัจจุบันและในอนาคตด้วย เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบรายใหม่ในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ทุกคนต้องมีการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรมได้เพื่อที่เราจะสามารถสร้างเครือข่าย สามารถแข่งขันกับบริษัทที่ใหญ่กว่าได้ โดยภาครัฐเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเรากำลังปรับในส่วนของกระทรวงเศรษฐกิจเพื่อสังคม โดยใช้ระบบดิจิทัล เป็นหลักในการดำเนินการในห้วงต่อไปใน
  


เรื่องการวิจัยพัฒนาเช่นเดียวกันเราต้องมีการเร่งรัด จัดกลุ่มการวิจัยและพัฒนา ทุนการวิจัยและนำการวิจัยระดับสูงไปในการผลิต และจำหน่ายให้ได้ ทั้งนี้เราจะได้มีรายได้จากการส่งออก ในส่วนที่เราสามารถคิดเองได้ และเป็นการลดค่าจ่ายในประเทศไปด้วย ไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศมากหนัก เราต้องมีถ่ายโอนเทคโนโลยีระดับสูง รวมทั้งการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ การขายในวันนี้ การขายในระบบ Social ต่าง ๆIT มากมาย ที่เหมือนกับต่างประเทศเขาทำ ที่เป็นการค้าขายโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยใช้ในทางเครื่องมือ ทั้งนี้ ได้เชิญชวนผู้นำอุตสาหกรรมดิจิทัลและภาคเอกชนในสหรัฐฯ มาลงทุนในประเทศไทยและอาเซียนมากขึ้น ในลักษณะไทย+1    2     3 เชื่อมโยงกันหรือ +อาเซียน ทั้งหมดไปร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
    


(4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีก้าวหน้าและนวัตกรรม โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ของเดิมเรามีอยู่ 5 ประเภท วันนี้เราเพิ่มมาอีก 5 ประเภท เป็นอุตสาหกรรมที่เราต้องการเรามีศักยภาพที่เพียงพอ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงานสะอาด การเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม  การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมและอวกาศ  ต้องเน้นเปิดช่องทาง สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันด้านการศึกษา แก่กลุ่มเยาวชนและผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อปูพื้นฐานไปสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน วันนี้เราไปร่วมมือประชุมกันเป็นเรื่องระหว่างของสหรัฐอเมริกากับอาเซียน ไม่ใช่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะอาเซียนมีทั้ง 10 ประเทศด้วยกัน เราต้องดำเนินการในลักษณะเป็นหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (หรือ STEM)  วันนี้ให้กระทรวงศึกษาขับเคลื่อนอยู่
                   


2. การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ยืนยันในที่ประชุมถึงจุดยืนของประเทศไทย ในบทบาทที่เราจะเป็นผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อฝ่ายต่าง ๆ ในการที่จะชูการพัฒนา ตามปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งเราเน้นมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทุกอย่างต้องเริ่มจากตัวเองทั้งสิ้น จากประชาชน จากภายในประเทศ และตัวประเทศ รัฐบาลต้องมีนโยบายให้ทั้งหมดเกิดจากข้างในไปด้วย พร้อมกับคู่ขนานกับเรื่องการค้าการลงทุนต่าง ๆ ทั้งหมด จะได้เข้มแข็งทั้งระบบ
                 


ในส่วนการร่วมมือประชารัฐของรัฐบาลในวันนี้ สอดคล้องกับที่พูดคุยในที่ประชุมอยู่แล้ว ต้องร่วมมือกัน ทั้งรัฐ ข้าราชการ ประชาชน สังคม นักสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ  เราต้องเตรียมความพร้อมให้กับประเทศ เพื่อจะเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความยากจน ความเหลือมล้ำ วิกฤตเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ ธรรมชาติ การร่วมมือกันในการแก้ไขป้องกัน วันนี้เราต้องการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่มีการประชุมวาระพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เพื่อให้ โลกนั้นมีความปลอดภัย ยั่งยืนร่วมกัน
                 


3. การรักษาสันติภาพความมั่งคงในเอเชีย-แปซิฟิก ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้ได้หาความร่วมมือใหม่ ๆ หรือที่เป็นไปได้ก่อน เพื่อจะแสวงหาเสถียรภาพในภูมิภาค และมีการเติบโตไปพร้อมกัน ๆ เราต้องพยายามลดการขัดแย้งกันให้มากที่สุด สนับสนุนให้ใช้สถาปัตยกรรม และกรอบความร่วมมือเดิม ๆ เสริมประสิทธิภาพระหว่างกันที่จะพูดคุยเจรจา ทำอะไรได้ก็ทำ ไม่เช่นนั้นจะติ