"นรชิต" ยัน กรธ.ไม่ได้ลดสิทธิประชาชน !!  ไม่สน "ทักษิณ" จ้อต่างแดน ป่วนไทย

ติดตามข่าวสารข้อมูล www.tnews.co.th

 

วันนี้ ( 10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  นายนรชิต สิงหเสณี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้แถลงข่าวถึงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญว่าในขณะนี้ กรธ.ได้พิจารณาเพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญโดยกลับไปพิจารณาในหมวดองค์กรอิสระก่อนที่จะเข้าหมวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม กรธ.มีความเป็นห่วงและให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาที่อยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นความสับสนเรื่องรัฐจะต้องให้การศึกษากับประชาชน 9 ปี หรือ 12 ปี แต่ตนขอยืนยันว่า กรธ.ได้บัญญัติหลักการว่าด้วยการให้การศึกษาว่ามากกว่า 12 ปีหรือตั้งแต่ ป.1- ม.6 อย่างแน่นอน โดยจะบัญญัติลงไปว่ารัฐต้องให้การศึกษาภาคบังคับเป็นระยะเวลา 9 ปี และได้บัญญัติลงไปเพิ่มเติมว่ารัฐต้องสนับสนุนการศึกษาก่อนวัยเรียน สำหรับผู้ที่ด้อยโอกาสนั้น กรธ.ก็ได้บัญญัติว่ารัฐต้องให้สนับสนุนให้ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการศึกษาด้วย และอาจะมีการตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ที่ด้อยโอกาส เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมต่อไป

 

 


          นายนรชิตกล่าวต่อว่างบประมาณที่ลงไปที่แต่ละภาค ในแต่ละโรงเรียนโดยที่ไม่มีความจำเป็นนั้น ต่อจากนี้งบเหล่านี้จะต้องนำมาใช้เป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษา นอกจากนี้ในอนาคตก็จะมีการออก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังที่จะบัญญัติรายละเอียดอีกว่า เอกชนรวมไปถึงบุคคลธรรมดานั้นสามารถสมทบทุนการศึกษาและอาจจะในรูปแบบของกองทุนมรดกเพื่อนำไปหักภาษีได้ด้วย

 

 

 


          นายนรชิตกล่าวต่อเรื่องการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องของสิทธิประชาชนอาทิการเข้าชื่อเพื่อเสนอเรื่องต่อองค์กรอิสระนั้น กรธ.ไม่ได้ไปลดสิทธิประชาชนตรงนี้แต่อย่างใด สำหรับเรื่องของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ออกมาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าไม่ได้สร้างการถ่วงดุลในอำนาจ 3 ฝ่ายและไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ตนขอยืนยันว่าประชาชนยังมีส่วนเรื่องอยู่เหมือนเดิมในการเลือกตั้ง ส.ส. ประชาชนก็มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง และส่วนของ ส.ว. นั้นผู้แทนก็ยังคงเป็นของประชาชน ถือเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างชัดเจนเป็นกลไกที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ ส.ว.เป็นสภาผัวเมีย เพราะ ส.ว.จะนำว่าจากกลุ่มผุ้เชี่ยวชาญต่างๆกัน

 

 

 


          เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความเห็นว่าการที่นายทักษิณไปพูดที่ต่างประเทศนั้นจะทำให้ประเทศไทยถูกมองในแง่ลบจากนานาประเทศมากขึ้นหรือไม่ นายนรชิตกล่าวว่าต่างประเทศเข้าก็คงต้องไปประมวลว่าข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ถ้าเขาติดตามการทำงานติดตามโพลต่างๆก็จะรู้ว่าประชาชนนั้นรับกับสิ่งที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ ไม่ได้ค้านกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ

 

 

 


          เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรอบการทำงานของ กรธ.ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรมากไหม นายนรชิตกล่าวว่ายังคงจะยึดกำหนดการเดิมคือยังในวันที่ 23-26 มี.ค. จะต้องทำรัฐธรรมนูญให้เรียบร้อย และจะต้องยื่นทั้งหมดและอาจรวมถึงบทเฉพาะกาลให้กับรัฐบาลให้ทันวันที่ 29 มี.ค. หลังจากนั้น 1-15 เม.ย. กรธ.จะพิจารณาว่าจะใช้ประโยชน์ในเวลาดังกล่าวสรุปรประเด็นที่สำคัญเพื่อเตรียมไปยังประชาชนอย่างไรเพื่อจะให้เขาตัดสินว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ต้องเตรียมชี้แจงในประเด็นที่ กรธ.ถูกวิจารณ์ในตัดส่วนที่สำคัญออกไปด้วยว่าควมจริงนั้นไม่ได้ตัด หลังจากวันที่ 15 เม.ย.ก็จะเป็นให้การให้ความรู้กับผู้ที่จะไปชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนต่อไปซึ่งตอนนี้ก็มีการหารือให้ภาคเอกชนและองค์กรกึ่งราชการให้เข้ามาช่วยเหลือแล้ว และทาง กรธ.ก็จะลงพื้นที่ไปชี้แจงกับประชาชนให้ได้เข้าใจด้วย

 

 

 


          เมื่อผู้สื่อข่าวถามความเห็นว่าช่วงนี้ นายมีชัย ฤพันธุ์ ประธาน กรธ.มักหายออกจากที่ประชุมเป็นประจำเป็นไปไดเไหมว่าจะไปคุยกับทางรัฐบาล นายนรชิตกล่าวว่านายมีชัยนั้นเป็นผู้ใหญ่ตอนที่ออกจากที่ประชุมก่อนคนอื่นนั้นก็ต้องบอกกว่อนเสมอเพราะเกรงใจเพื่อนสมาชิก กรธ.ส่วนว่านายมีชัยจะไปไหน คุยรายละเอียดกับใครนั้น ตนคิดว่าเมื่อถึเวลานายมีชัยคงเล่าเอง