"พุทธะอิสระ" เย้ย "จตุพร" !! ยื่นค้านประกันตัวแบบเบาปัญญา  -เชื่อ รบกี่ครั้งก็ไม่ชนะ

ติดตามข่าวสารข้อมูล www.tnews.co.th

 

วันนี้ ( 10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้โพสต์ผ่านโลกโซเชียล ตอบโต้นายจตุพร พรหมพันธุ์  ที่ไปยื่นหนังสือถึง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ   เพื่อขอคัดค้านหนังสือที่ยื่นถอนประกันตนเอง


                            พร้อมระบุว่า "มิน่า มีหัวหน้า ที่ปัญญาน้อยอย่างนี้ รบทีไร จึงไม่เคยชนะซักที  ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙  ไม่เข้าใจว่าพวก น.ป.ช. ไปเลือกคนที่ไม่รู้แม้กระทั้งกฎหมายง่ายๆ มาเป็นแกนนำได้อย่างไร  อยากบอกนายจตุพรว่า คดีที่อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน หรืออัยการนั้น  เวลาผู้ต้องหาขอประกันตัว เงื่อนไขก็คือ

 

 

๑. หลักทรัพย์เพียงพอไหม

 

 

๒. ต้องมารายงานตัวตามที่นัด

 

 

 

พนักงานสอบสวนไม่ใช่ศาล จึงไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ ที่จะเป็นผลกระทบต่อผู้ต้องหาและรูปคดีได้  โดยมี ป.วิอาญา มาตรา ๑๐๖ (๒) ย่อหน้าสุดท้ายความว่า  กรณีผู้ต้องหา ยังไม่อยู่ในอำนาจศาล เพราะยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือ อยู่ในระหว่างจัดทำคำฟ้องเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลของอัยการ เมื่อผู้ต้องหานั้นอยู่ในอำนาจ ของพนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการ “ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว” ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของพนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการที่จะพิจารณาสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต  คำว่า ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ป.วิอาญา มาตรา ๑๐๖ กำหนดไว้ มีดังนี้

 

 


ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง (เช่น บุพการีผู้สืบสันดาน สามีภริยาญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้) หรือนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด) สำหรับกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการ ผู้แทนตัวแทนหุ้นส่วน พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น   แล้วหัวหน้า น.ป.ช. ใช้สิทธิอะไร ไปยื่นคำร้อง ขอถอนประกันฉัน อย่าแถว่า แล้วทำไมทีฉันไปยื่นถอนประกันคุณได้

 

 

 

ส่วนคดีของหัวหน้า น.ป.ช. ได้ผ่านพนักงานสอบสวนไปแล้ว จนถึงมือศาล ศาลท่านอนุญาตให้ประกันตัวแต่มีเงื่อนไขว่า
ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะดูหมิ่นผู้อื่น ยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตราย กระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น  ที่เป็นเช่นนี้เพราะคดีถึงมือศาลแล้ว ศาลจึงมีอำนาจในการตั้งเงื่อนไข


เมื่อเห็นว่าพฤติกรรมของจำเลย จะไปก่อความวุ่นวาย สร้างความเสียหาย และทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง   โดยอาศัยเหตุตามที่ปรากฏใน ป.วิ อาญา มาตรา ๑๐๘/๑ กรณีที่ศาลปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นการชั่วคราวระหว่างพิจารณาแล้ว หากปรากฏว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ผู้ได้รับความเสียหายชอบที่ร้องขอต่อพนักงานอัยการ ให้ศาลใช้ดุลพินิจเพิกถอนคำสั่งให้ประกันตัวชั่วคราวหรือปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณานั้นได้ แต่ถึงอย่างไร หากความไปปรากฏต่อศาลเอง จะด้วยมีผู้หนึ่งผู้ใดไปยื่นคำร้องแสดงเหตุต่อศาล ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจยกคำร้องนั้นหรือสั่งให้ ไต่สวนคำร้องเพื่อให้ได้ความจริง แล้วจึงพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรนั้นได้  ทีนี้พอเข้าใจหรือยังว่า ฉันใช้สิทธิที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียหาย ยื่นถอนประกันได้   พอจะเก็ต ขึ้นมาหรือยังหัวหน้า น.ป.ช.


ฉะนั้นการที่หัวหน้า น.ป.ช. ไปยื่น หนังสือ ขอถอนประกันตัวฉันแก่อัยการ ผู้เป็นพนักงานสอบสวน   ทั้งที่ยังสอบพยานแวดล้อมไม่แล้วเสร็จ

 


ดูว่าหัวหน้าจะเน้นฮาลูกเดียวเลย ไม่เน้นถูกผิดตามที่กฎหมายกำหนด   หรือเพราะหัวหน้าไม่รู้กฎหมาย จึงปล่อยไก่ออกมาเป็นเข่งอย่างนี้   ส่วนที่หัวหน้าไปยื่นหนังสือ ขอคัดค้านการถอนประกันของตนเอง   ก็เป็นสิทธิของผู้ต้องหา ที่จะกระทำได้  แต่ศาลจะเห็นดีเห็นชอบด้วยหรือไม่นั้น


มันขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน และดุลพินิจของศาล  ฉันก็หวังว่าศาลท่านคงจะเมตตาหัวหน้า น.ป.ช.นะ  เพราะท่านเคยเมตตามาครั้งหนึ่งแล้ว  แต่ถ้าท่านไม่เมตตา ก็อย่าไปโทษท่านอีกหละว่าสองมาตรฐาน  ส่วนข้อความที่ให้ร้ายฉันว่า มีคดีตั้ง ๙ คดีนั้น เอาไว้ไปพิสูจน์กันในศาล จะได้รู้ว่าใครโกหก ดีไหมท่านหัวหน้า น.ป.ช.  รวมทั้งกรณีดูหมิ่นสมเด็จพระสังฆราช ก็เช่นกัน   อย่ามาแก้ตัวออกสื่อ เพื่อรักษาภาพ

 


ขอให้เตรียมเอกสารพยานไปแก้ต่างในศาลจะดีกว่า   หรือกำลังเล่นมุขเดิม คือ ผมถูกใส่ร้าย