"บิ๊กตู่" ดันปัญหาภัยแล้งเป็น "วาระของชาติ" - ฟันผู้บุกรุก "ผืนป่า" กว่า 10,000 คดี !! (คลิป)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

"พล.อ.ประยุทธ์" กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ประจำวันที่ 11 มี.ค. 2559 - ดำเนินการแก้ไข "ทวงคืนผืนป่า" คืนมากว่า 3 แสนไร่ พร้อมฟันผู้บุกรุกจำนวน 13,000 คดี เร่งบูรณาการทุกหน่วยงานสร้างความยั่งยืน พร้อมใช้แนวทางประชารัฐมาขับเคลื่อน ...

 

วันนี้ (11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนี้

 

 

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน

 

 

วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันช้างไทย” โดยช้างนั้นเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยเรา และช้างเผือกเป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย สำหรับช้างนั้น มีคุณูปการกับชาติไทยมาแต่อดีตนะครับ เช่นในการสู้รบนั้นที่ลูกหลานไทยควรรู้ ได้แก่ “เจ้าพระยาไชยานุภาพ” ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในการทำยุทธหัตถี เพื่อกอบกู้เอกราชของชาติได้สำเร็จในที่สุด เป็นที่มาของ “พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์” จังหวัดสุพรรณบุรี  นอกจากนี้ คนไทยก็มีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับช้างมายาวนาน ปัจจุบันทีมฟุตบอลชาติไทย ก็เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม “ทีมช้างศึกไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่สื่อถึงความรัก ความหวงแหนช้างของคนไทยครับ

 

 

โดยที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (หรือ CITES) แต่เมื่อ คสช. และรัฐบาลนี้ เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และกำหนดมาตรการควบคุมการค้างาช้างบ้าน, ปราบปรามการลักลอบการค้างาช้างแอฟริกา รวมถึงควบคุมการลักลอบนำเข้าและส่งออกงาช้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการ CITES เป็นผลให้เรารอดพ้นจากการคว่ำบาตรทางการค้าได้สำเร็จในที่สุด ไม่สูญเสียตลาดส่งออกพืชและสัตว์ที่มีมูลค่านับพันล้านบาทต่อปีนะครับ

 

 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ มีพระราชเสาวนีย์ โปรดให้มีการดูแลและอนุรักษ์ช้างไทยซึ่งรัฐบาล โดยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้ตั้ง “คชอาณาจักร” เข้ามาดูแลปัญหา เพื่อให้ควาญช้างนำช้างเร่ร่อนกลับมาอยู่บ้านเกิด จัดสรรที่ดินป่าสงวนแห่งชาติดงภูดิน จังหวัดสุรินทร์ ให้ช้างและควาญช้างอยู่อย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับความพยายามพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านช้าง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างงาน กระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ด้วยใช้ตำนานช้างไทยและวิถีชีวิตคนกับช้าง เช่น การอาบน้ำช้าง พิธีกรรมหมอช้างแต่โบราณ ซึ่งเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นจุดขาย หรือการทำกระดาษมูลช้าง วัตถุดิบมีอยู่แล้ว มีคนสอนให้ทำ ก็เข้าไปทำเอง ทำไม่ยากนะครับ / ในอนาคตอาจใช้กลไก “ประชารัฐ” สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ทำเป็นโลกของช้าง คล้ายๆ Jurassic World  ดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ จากยุโรปและญี่ปุ่น ที่นิยมเรื่องช้างไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ได้ครับ

 

 

มาตรการดังกล่าวผมเห็นว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนได้อย่างยั่งยืน ดีกว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมช้างมาเร่ร่อน ที่มีอยู่มากมาย หลายฉบับ ซึ่ง คสช. ก็ได้ดูแลและคลี่คลายปัญหาในเบื้องต้น แต่รัฐบาลก็ต้องดูแลต่อ ตั้งแต่ต้นทาง - กลางทาง - ปลายทางนะครับ / สงสารเขาเถอะครับ ช้างมีบุญคุณกับประเทศไทยมายาวนาน วันนี้ทำให้เขามีความสุขเถอะครับ อย่าทรมานเขาเลย

 

 

วันนี้ผมมีเรื่องที่อยากจะพูดคุย  และเน้นย้ำกับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน ดังต่อไปนี้นะครับ ผลสัมฤทธิ์/ความก้าวหน้าการทำงานของ คสช.และรัฐบาล ตามห้วงระยะเวลา อาทิเช่น ในการ “พลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า ช้างไทย ระบบนิเวศน์ แหล่งต้นน้ำลำธาร และที่ทำกินของพี่น้องประชาชน จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่สมดุล ข้อมูลล่าสุดเรามีผืนป่า เหลือเพียง 102 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31 ของประเทศ ลดลงอย่างรวดเร็ว 5 ล้านไร่ จากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การทำลายป่าไม้เพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรม ตามที่รัฐบาลบางรัฐบาลในอดีตส่งเสริม แต่ไร้การควบคุมนะครับ เป็นการดีแต่ต้องควบคุมให้ได้ จะทำยังไงไม่บุกรุกป่านะครับเรากำลังแก้อยู่ทั้งหมด เพราะงั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ของการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า การขายพื้นที่ ที่บุกรุกไปแล้วนี่ให้กับนายทุนอะไรต่างๆเหล่านี้ เป็นความเชื่อมโยงกันทั้งหมดนะครับ เราต้องแก้ไขให้ได้โดยเร็ว

 

 

นโยบายแก้ไขเร่งด่วนของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ของ คสช. และรัฐบาลก็คือ มาตรการ “ทวงคืนผืนป่า” เราจะมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ใช้ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กันไป มุ่งเน้นดำเนินการโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน/ผู้มีอิทธิพล โดยในปี 2558 สามารถทวงคืนผืนป่า กลับมาเป็นของเราทุกคน ได้กว่า 3 แสนไร่ และดำเนินคดีผู้บุกรุก 13,000 คดี ส่วนมาตรการสร้างความยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการหลายหน่วยงานนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคนเดือดร้อน เราจะทำอย่างไร จะแก้ปัญหาคนจนอย่างไร เพราะงั้นเราก็จะมีการพิจารณาในเรื่องสิทธิทำกิน ในเรื่องของการจัดการพื้นที่ป่า และการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสม โดยใช้แนวทาง “ประชารัฐ” นะครับมาขับ เคลื่อนด้วย อาทิเช่น

 

 

(1) ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาแนวเขตพื้นที่ทับซ้อน โดยให้ทุกภาคส่วน ผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีส่วนร่วม ในการหารือ ในการจะจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ ที่เราเริ่มต้นจาก One map นะครับ เพราะว่าทุกหน่วยงานแผนที่คนละฉบับ ถ้าทาบทับกันได้ ก็ตรงกัน ถ้าไม่ได้ก็ต้องพิจารณากันอีกทีนะครับ เพราะงั้นมาลงในพื้นที่ One Map ให้ได้ก่อนนะครับ

 

 

เรื่องที่ (2) คือการกำหนดมาตรการให้ชุมชนและประชาชนผู้ยากไร้ ด้วยการจัดสรรที่ดินทำกิน ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ป่า ที่บุกรุกไปแล้วนั้นนะครับ รวม 340,413 ไร่ แบ่งเป็น 82 พื้นที่ ใน 47 จังหวัด ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จะบุกรุกไม่ได้อีกแล้วนะครับ เพื่อทวงคืนผืนป่าจากผู้มีอิทธิพล หรือนายทุน หรือนอมินีด้วย  และที่สำคัญ คือ

 

 

(3) การเพิ่มพื้นที่ป่า - พื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ เพื่อลูกหลานในอนาคต และเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำให้กับประเทศ เป็นเส้นเลือดให้กับเกษตรกรรมของไทย โดยใช้กลไกสถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า ประกอบด้วยฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และประชาชน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมมือกันฝึกสอน ถ่ายทอดประสบการณ์ การดับไฟป่า การทำแนวกันไฟ เพื่อปกป้องและอนุรักษ์ป่าในรูปแบบต่างๆ ด้วยนะครับ / และนำพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรื่อง “คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน” และ “การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสู่การปฏิบัติ สร้างป่าเศรษฐกิจ - ป่าชุมชน - ป่ากินได้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน - เราต้องอย่าลืมว่าป่าต้นน้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยทั้งประเทศ

 

 


ในเรื่องของการการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม มีหลายอย่างด้วยกันนะครับ เราจะต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องของที่ดินทำกิน เป็นขั้นเป็นตอนนะครับ เราะได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เพื่อจะมาดูแลพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อนนะครับ จากนโยบายของเราดังกล่าวเมื่อสักครู่นี้นะครับ เราได้มีการเห็นชอบร่วมกันในการจัดสรรที่ดินทำกินให้ชุมชน ในพื้นที่เป้าหมาย ปีงบประมาณ 2559 กว่า 3 แสนไร่ กระจายทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ให้ทำในลักษณะ “แปลงรวม” โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินของรัฐได้ พื้นดินที่บุกรุกหรือพื้นที่ราชพัสดุ อะไรก็แล้วแต่ ที่เหมาะสมนะครับ รัฐบาลได้จัดทำคู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ให้เป็นไปตามหลักการ ตามกฎหมายนะครับ เริ่มต้นก่อน แต่ต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้นะครับ เป็นธรรมแก่ทุกคน สงสารคนจน สงสารผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรนะครับ นึกถึงเขาบ้าง เราต้อดูแลตั้งแต่ “ต้นทาง” ให้ได้นะครับ สำหรับ “กลางทาง” นั้น ก็คือในเรื่องของการแปรรูป การผลิตอะไรก็แล้วตี่อาชีพต่างๆ  รัฐบาลก็จัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพอย่างเป็นระบบ เพราะทั้ง 76 จังหวัดของเรานั้น มีลักษณะพื้นที่แตกต่างกัน ต้องส่งเสริมให้สอดคล้องกับสภาพแต่ละพื้นที่ ทั้งปลูกพืช - เลี้ยงสัตว์  โดยออกแบบโมเดลต่างๆ ให้เหมาะสมนะครับ เพื่อเป็นตัวอย่าง - ทางเลือก ตั้งแต่ระดับภูมิภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด  รวมทั้งสร้างกลไกการสนับสนุนเงินทุนให้กับชุมชน และติดตาม ดูแล “ปลายทาง” หาตลาดให้ ในระยะต่อไป อย่างครบวรจร เราสร้างทั้งในส่วนของภาคเอกชน ธุรกิจ กับภาคประชาชนให้แข็งแรงไปด้วยกันนะครับ แล้วที่ขาดไม่ได้คือการประเมินผลจากมาตรการดังกล่าวนั้น เราอาจจะต้องกำหนดเพิ่มเติมนะครับ ว่าไม่เพียงแต่กำหนดตัวชี้วัด ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ต้องดูตัวชี้วัดด้านความสุขและความพอเพียงของชุมชนด้วยนะครับ

 

 

ในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในสังคม ในด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ที่ทุกคนคนไทยทุกคนนะครับสามารถต่อสู้เพื่อเรียกร้องหรือปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้อย่างเป็นธรรม รัฐบาลต้องการลบวาทกรรมที่ว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” - และคำว่า 2 มาตรฐานนะครับ เราจะต้องเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนจากการเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรมนะครับ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เช่น ทำยังไงคนจะไม่ไปทำผิดกฎหมาย เราก็ต้องให้ความรู้ทางกฎหมายเขาด้งย และมีการจัดตั้งกองทุนยุติธรรม สำหรับช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีนะครับ หรือการขอประกันตัวเพื่อสู้คดี ตลอดจนเยียวยาผู้ถูกละเมิดหรือได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากเขาไม่ผิดนะครับเป็นต้น / ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน นะครับไม่ว่ายาก ดี มี จน จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ผมขอย้ำนครับ

 

 

ที่ผ่านมา มีผู้ขอความช่วยเหลือจากกองทุน เกือบ 6 พันราย  รัฐได้ใช้เงินช่วยเหลือไปแล้ว 2,552 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการ (1) เร่งพัฒนากลไกกองทุนทั้ง 76 จังหวัด โดยกระจายอำนาจของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกันทุกจังหวัด มีความเท่าเทียมกัน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ (2) ทบทวนปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น ผู้ขอรับเงินต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีฐานะยากจน มีความประพฤติดี ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี และการให้ความช่วยเหลือจากกองทุนฯ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการช่วยเหลือตามกฎหมายอื่น เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ประหยัดงบประมาณ และสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบมากขึ้น

 

 

เรื่องต่อไปก็คือ