กระชับชัดเจน!!!  "บิ๊กตู่" ใช้ม.44 เติมอำนาจรฟม.สรุปแก้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินครบวงจรภายใน 60 วัน อุดโหว่รอยต่อเตาปูน-บางซื่อ !!?!!

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

    สืบนื่องจากปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับแผนงานการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน  ซึ่งมีส่วนสำคัญให้เกิดรอยโหว่ในจุดเชื่อมต่อของระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง  บางใหญ่- เตาปูน  กับสายสีน้ำเงิน   ซึ่งประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแคและช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

 

กระชับชัดเจน!!!  "บิ๊กตู่" ใช้ม.44 เติมอำนาจรฟม.สรุปแก้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินครบวงจรภายใน 60 วัน อุดโหว่รอยต่อเตาปูน-บางซื่อ !!?!!

 

     ล่าสุดในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา  ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2559 เรื่อง การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้าเงิน ระบุว่า  “  โดยที่การจัดระบบการขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน แต่เนื่องจากการจัดระบบการขนส่งสาธารณะโดยรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแคและช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในปัจจุบันยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้า   การพิจารณาคัดเลือกเอกชน และการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน(Through Operation)

 

     และแม้คณะรัฐมนตรีจะได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เร่งรัดให้มี การดำเนินการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อและร่วมใช้ระบบรถไฟฟ้าเพื่อให้การเดินรถแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถดำเนินการร่วมกันให้เป็นผลสำเร็จได้ ซึ่งจะทำให้การเริ่มเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มีความล่าช้าออกไปมาก ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก รวมทั้งอาจมีผลกระทบ ไปถึงระบบความปลอดภัยในการใช้บริการ นอกเหนือไปจากนั้นรัฐยังต้องสูญเสียรายได้และมีภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกเป็นจำนวนมาก

        

     ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผลและรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการจัดระบบการขนส่งสาธารณะของประเทศอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในคำสั่งนี้

          “คณะกรรมการคัดเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ดำเนินการอยู่ในวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ “คณะกรรมการกำกับดูแล” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ ตามมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ดำเนินการอยู่ในวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ “โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล” หมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ

          “โครงการส่วนต่อขยาย” หมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

          ข้อ ๒ ภายใต้บังคับข้อ ๔ ให้คณะกรรมการคัดเลือกยุติการดำเนินการใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามที่กำหนดในคำสั่งนี้

          ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อหรือร่วมใช้ กิจการรถไฟฟ้าตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการตามข้อ ๔ และข้อ ๗ สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคำนึงถึงความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชน ทั้งนี้ ให้รับฟังความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ประกอบด้วย โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และให้เสนอหลักเกณฑ์พร้อมทั้งความเห็นของหน่วยงานดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับ หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง

          ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) และการกำหนดระยะเวลาการดำเนิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้มีระยะเวลาการดำเนินการโครงการสิ้นสุดลงพร้อมกันหรือสอดคล้องกันให้คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกำกับดูแลประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓

          เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้ว ให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดำเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลกับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) โดยให้ดำเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และรับฟังความเห็นของคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ ด้วย

          ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดำเนินการ รวมทั้งสาเหตุของการดำเนินการไม่แล้วเสร็จไปยังนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควรก็ได้

          ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกำกับดูแลไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ ๔ และนายกรัฐมนตรีไม่อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาออกไป ตามข้อ ๕ หรือในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการกำกับดูแลไม่สามารถหาข้อยุติได้ตามข้อ ๔ให้ยุติการดำเนินการดังกล่าวและให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดำเนินการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

          ข้อ ๗ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานตามข้อ ๖ แล้วมีมติเห็นควรให้ดำเนินโครงการต่อไป ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อัยการสูงสุด และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นกรรมการและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่แทน คณะกรรมการตามข้อ ๔ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติและให้รับฟังความเห็นของคณะกรรมการความร่วมมืป้องกันการทุจริตตามข้อ ๙ ประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ หากยังดำเนินการไม่ได้ข้อยุติภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้เสนอแนวทางอื่นในการดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อ ๘ เมื่อมีการดำเนินการตามข้อ ๔ หรือข้อ ๗ แล้วแต่กรณี จนได้ผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชน ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ในส่วนของการคัดเลือกเอกชนแล้ว และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตั้งแต่มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ แล้วแต่กรณี โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุน  ที่ผ่านการเจรจากับเอกชนหรือผู้รับสัมปทานให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาดังกล่าว

          ข้อ ๙ ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ มาใช้กับการดำเนินการตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๗ตามคำสั่งนี้

          ข้อ ๑๐ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ที่ได้กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริต และไม่เกินสมควรแก่เหตุ ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

          ข้อ ๑๑ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕