เมื่อเสียงแตกฝ่ายต้าน “ระบอบทักษิณ” กลายเป็นตัวแปรสำคัญชี้วัดผลประชามติ

เข้มข้นและร้อนแรงขึ้นมาทุกขณะสำหรับสถานการณ์ในช่วงโค้งสุดท้ายของการออกเสียงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งในวันนี้รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก จะได้นำเสนอให้คุณผู้ชมได้รับทราบสถานการณ์ล่

เข้มข้นและร้อนแรงขึ้นมาทุกขณะสำหรับสถานการณ์ในช่วงโค้งสุดท้ายของการออกเสียงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งในวันนี้รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก จะได้นำเสนอให้คุณผู้ชมได้รับทราบสถานการณ์ล่าสุดว่าอะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบหรือไม่

แม้ว่าที่ผ่านมาสังคมทั่วไปจะเข้าใจว่าการชี้ขาดผลแพ้ชนะ เป็นการเดิมพันของ2ขั้วอำนาจระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน คสช. แต่ทว่า ณ สถานการณ์ในตอนนี้ ตัวแปรสำคัญกลับพลิกกลับมาอยู่ที่ฝ่ายสนับสนุนเนื่องจากอยู่ในสภาการณ์ที่เรียกว่าเสียงแตกนั่นเอง

แน่นอนว่าสำหรับฝ่ายต่อต้าน และประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็คือฝ่ายของเครือข่ายพรรคเพื่อไทยและกลุ่มนปช.

โดยล่าสุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการแล้ว

น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์เนื้อหาผ่านทางเฟซบุ๊คตอนหนึ่งว่า จากการติดตามการยกร่างและสาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาโดยตลอด ดิฉันเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมิได้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว ดิฉันจึงไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และไม่เห็นชอบคำถามพ่วง

หรือนายจตุพร ถึงขั้นประกาศว่า "ไม่ได้กลัวถูกคุมขังแต่อย่างใด และจะเชิญชวนประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ในวันออกเสียงประชามติ พร้อมทั้งน้อมรับข้อกล่าวหาทุกประการ แต่ถ้าหากใช้วิธีการนอกกฎหมาย ผมและพวกก็จะเริ่มอดอาหารทันที"

 

 

อย่างที่นำเรียนให้กับคุณผู้ชมได้รับทราบว่า จุดชี้ขาดของคำว่าแพ้ชนะในครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายต่อต้าน คสช. ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า คะแนนเสียงของฝ่ายต้านคสช.นั้นถือว่าเป็นตัวเลขที่นิงอยู่แล้ว และมีการประเมินตัวเลขว่ามีอยู่แค่ไหน โดยเป็นการอ้างอิงจาก ผลการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 วิงหาคม 2550 เป็นตัวตั้ง

สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ2550

ผู้มีสิทธิออกเสียง45,092,955 คน

มาใช้สิทธิ 25,978,954 คน คิดเป็นร้อยละ 57.61

เห็นชอบ 14,727,306 บัตร คิดเป็นร้อยละ 56.69

ส่วนไม่เห็นชอบ 10,747,441 บัตร คิดเป็นร้อยละ 41.37 

เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวตั้งเท่ากับว่าฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญน่าจะมีคะแนนยืนพื้นอยู่ที่ 10.7 ล้านเสียง เนื่องจากเป็นฐานของพรรคการเมืองและกลุ่มมวลชนผู้สนับสนุน

หากแต่ว่าฝ่ายรับร่างรัฐธรรมนูญที่แต่เดิมมีคะแนน 14.7 ล้านเสียงนั้น มีแนวโน้มว่าเสียงจะแตกหรือไม่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศว่าจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จนทำให้เสียงของฝ่ายสนับสนุนเดิมเกิดความสับสน

ในวันนี้ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบ 52 ปี ของนายอภิสิทธิ์ ระบุว่า วันเกิดปีนี้ ผมมาทำบุญที่วัดวรจรรยาวาส เวทีปราศรัยแรกเมื่อผมลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2535 ผมได้ผ่านสถานการณ์บ้านเมืองมามาก ภูมิใจที่ได้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องบนอุดมการณ์ของพรรคการเมืองพรรคเดียวของผมมาตลอด ทั้งยังได้ผลักดันงานหลายอย่างตามความตั้งใจที่มีตั้งแต่ต้น

วันเกิดปีนี้ ผมตั้งมั่นปณิธานว่า เมื่อเกิดมาเป็นคนไทยต้องทดแทนคุณแผ่นดิน และเมื่อยังมีกำลัง มีไฟที่จะสานฝันต่อก็จะร่วมกับประชาชนคนไทย ทุกจังหวัด ทุกภาค ทุกสี ก้าวต่อไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า เป็นก้าวใหม่ที่เราจับมือ ผนึกกำลังกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม

ขอขอบคุณทุกคนที่ทำให้ผมมีวันนี้ ซึ่งถือเป็นของขวัญอันล้ำค่ามากกว่าทุกสิ่ง ผมจะตอบแทนบุญคุณนี้อย่างถึงที่สุด ประเทศไทยต้องดีกว่านี้

 

ผมได้ผ่านสถานการณ์บ้านเมืองมามาก ภูมิใจที่ได้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องบนอุดมการณ์ของพรรคการเมืองพรรคเดียวของผมมาตลอด ทั้งยังได้ผลักดันงานหลายอย่างตามความตั้งใจที่มีตั้งแต่ต้น

เมื่อเกิดมาเป็นคนไทยต้องทดแทนคุณแผ่นดิน และเมื่อยังมีกำลัง มีไฟที่จะสานฝันต่อก็จะร่วมกับประชาชนคนไทย ทุกจังหวัด ทุกภาค ทุกสี ก้าวต่อไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า เป็นก้าวใหม่ที่เราจับมือ ผนึกกำลังกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม ขอขอบคุณทุกคนที่ทำให้ผมมีวันนี้ ซึ่งถือเป็นของขวัญอันล้ำค่ามากกว่าทุกสิ่ง ผมจะตอบแทนบุญคุณนี้อย่างถึงที่สุด ประเทศไทยต้องดีกว่านี้

ประกอบกับมีการพูดถึงเงื่อนไขว่าการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ อาจเป็นผลบวกกับคสช.มากกว่าในการอยู่ต่อและออกแบบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีเนื้อหาที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ซึ่งคนที่ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ก็คือนายไพศาล พืชมงคล  ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ประกอบกับการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ประกาศรับร่างรัฐธรรมนูญ ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงทางเลือกของฝ่ายสนับสนุนคสช.อย่างชัดเจน

ล่าสุดนายสุเทพได้สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ด้วยการใช้นกหวีดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับระบอบทักษิณ พร้อมระบุว่า วันนี้ตนมาชวนมวลมหาประชาชนช่วยกันเป่านกหวีด ส่งสัญญาณถึงพี่น้องร่วมอุดมการณ์ รักชาติ รักแผ่นดิน ทั่วทุกภาค ให้พร้อมเพรียงกันไปลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม เพราะถือเป็นวันสำคัญสำหรับประเทศไทย เป็นวันที่ คนไทยจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศว่า จะไปทางไหน

 

 

วันนี้ตนมาชวนมวลมหาประชาชนช่วยกันเป่านกหวีด ส่งสัญญาณถึงพี่น้องร่วมอุดมการณ์ รักชาติ รักแผ่นดิน ทั่วทุกภาค ให้พร้อมเพรียงกันไปลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม เพราะถือเป็นวันสำคัญสำหรับประเทศไทย เป็นวันที่ คนไทยจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศว่า จะไปทางไหน

 

ความหมายที่บอกว่าได้เกิดเสียงแตก จากฝ่ายที่ต่อต้านระบอบทักษิณเดิม ปรากฏหลักฐานในโลกโซเซียลมีเดีย ดังตัวอย่างดังนี้

ภาพวาดการ์ตูนที่คุณผู้ชมเห็นอยู่นี้โดยบัญชา/คามิน โดยมีตัวละคร ที่มีสัญลักษณ์ธงชาติ นกหวีด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม กปปส. ในขณะเดียวกันตัวละคร ตัวนี้ก็ใส่เสื้อสีฟ้า ซึ่งเป็นสีของพรรคประชาธิปัตย์ กำลัง อยู่ในอาการสับสนว่าจาก เลือกโหวด โน หรือ เยส โดยมีอีก 2ตัวละครซ้าย-ขวาที่มีลักษณะคล้ายนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ

หรือตัวอย่างเสียงสะท้อนที่ออกมาจากฝ่ายมวลชน เช่นผู้ใช้เฟซบุ๊คที่ชื่อวัลลภ สุทธิ ได้เขียนยกตัวอย่างเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

6 ส.ค.2556 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดเวทีปราศรัยเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง ขึ้นที่บริเวณใต้ทางด่วนสี่แยกอุรุพงษ์ เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในวาระแรก โดยปราศรัยข้ามวันข้ามคืน

7 ส.ค.2556 แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ฯลฯ พร้อมด้วยผู้ชุมนุม ก็เดินจากเวทีปราศรัยที่สี่แยกอุรุพงษ์ไปที่รัฐสภา

31 ต.ค.2556 พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดเวทีปราศรัยใหญ่ที่สถานีรถไฟสามเสน เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง-สุดซอย ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในวาระสองและวาระสาม ซึ่งภายหลังที่ประชุมสภาฯ ผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในช่วงเวลาตี่สี่ของวันที่ 1 พ.ย.2556 มีผู้มาเข้าร่วมชุมนุมคัดค้านเป็นจำนวนมาก

3 ปีต่อมา......7 สิงหาคม 2559 วันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ เขาและพรรคประชาธิปัตย์ จึงกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาคนไทยที่ประกาศ จะรับร่างรัฐธรรมนูญ ในบัดดล

เสียงต่อว่าด่าทอ ดังกระหึ่มไปในหมู่ผู้รับร่างฯ บ้างประกาศตัดขาดจากพรรคประชาธิปัตย์ บ้างเหยียบย่ำ ดูหมิ่นดูแคลนว่าเห็นแก่ตัว เห็นแก่พรรค ไม่รักชาติ บ้างขับไล่ไสส่งให้พ้นไปจากวงจรการเมือง

ตำแหน่ง อำนาจและความนิยมชมชอบ ไม่อยู่กับใครอย่างจีรังยั่งยืน ทุกคนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เมื่อหมดวาระ แต่ชาติบ้านเมืองนั้นยังคงอยู่

รักใคร ชอบใคร นิยมชมชื่นใคร ก็อย่าถึงกับทำให้ชาติบ้านเมืองต้องพังลงไปด้วยความรักความชอบที่เกินขอบเขตความพอดีของเราคนไทยกันเองและความรักใคร่สามัคคีในหมู่ชนนั้นต่างหาก ที่จะนำพาให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัย

หรืออีกหนึ่งตัวอย่างของผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ ปฏิยุทธ ทองประจง ได้ย้อนทวนสถานการณ์ทางการเมืองให้เห็นภาพดังนี้

เรื่องเล่า อีกเรื่อง ของประเทศ “สารขัณฑ์ “ ย้อนไปปี 2553 ที่ประเทศแบ่งแยกผู้คนด้วยสีแห่งเสื้อตอนนั้น สารขัณฑ์ มีนายกรัฐมนตรีที่เพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ และคุณสมบัติ ถูกต้องตรงใจตรงตามเสป็คผู้นำมาตรฐานสากลผู้นำคนนี้มีความฝันตั้งแต่วัยเด็กที่จะขึ้นเป็นผู้นำประทศ และเขาก็เดินไปถึงจุดที่ใฝ่ฝัน

เขาท่องคาถาประชาธิปไตยตามตำราฝรั่งมั่งค่า ชนิดไม่เสียแรงที่อุตส่าห์เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปศึกษาเล่าเรียนจากประเทศต้นแบบ

แต่ผู้นำพิสูจน์กันในยามวิกฤติ  ปี 2553 การเมืองขั้วตรงข้ามอำนาจรัฐ ถูกปลุกระดม จัดตั้ง ครบองค์ประกอบ แก้ว 3 ประการ “พรรคนำ -มวลชน –กองกำลังติดอาวุธ”

การเมืองขั้วตรงข้ามหวังจุดไฟสงครามกลางเมือง ด้วยการเข่นฆ่าทหารและประชาชน เพื่อสร้างเงื่อนไขให้สุกงอม ในคืนแห่งการปะทะและเกิดความสูญเสีย ใน “วอร์รูม” ของผู้รับผิดชอบต่อสถานการณ์

ผู้นำคนนี้ก็ยังท่องคาถา ”ประชาธิปไตย” โดยเตรียมประกาศยุบสภา เพื่อยุติสถานการณ์นองเลือดที่กำลังลุกลามถ้าข้อมูลจบเพียงแค่นี้ ผู้นำคนนี้ก็จะถูกประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เขาเป็นนักประชาธิปไตยที่ยอมสละอำนาจเพื่อยุติการนองเลือด

แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น !! เพราะข้อมูลเป็นที่ชัดแจ้งว่า การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อชิงอำนาจรัฐ สนองตัณหาอดีตผู้นำเจ้าลัทธิทุนนิยมสามานย์ที่ฝันไกลไปถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองเวลานั้น “ผู้นำการเมือง” อีกคนหนึ่ง ที่เคยถูกให้ราคา มีบทบาทแค่ “ห้างร้าน” ค้ำเสถียรภาพของผู้นำนักประชาธิปไตย รวมถึงเหล่าบรรดาขุนศึกที่นั่งใน “วอร์รูม” ซึ่งรู้ซึ้งถึง “วาระซ่อนเร้น” และ “เป้าหมาย” ของกลุ่มต่อต้าน ไม่อาจยอมปล่อยให้ชะตากรรมของบ้านเมืองเป็นไปตามแผนชั่ว

“ถ้ายุบก็ยึดอำนาจ” คือ คำขาดของขุนทหารที่แจ้งต่อผู้นำคนนั้น

ผู้นำนักประชาธิปไตยรู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรจุกที่ลำคอ เขาอึกอัก เพราะเหตุผลลึกๆ คือ ไม่อยากได้ชื่อเป็นนายกที่ถูกปฏวัติ หรือเป็นคนสั่งใช้มาตรการเด็ดขาดในการยุติสถานการณ์นองเลือดในที่สุด มีข้อเสนอ ให้ ผู้นำนักประชาธิปไตย ลาออกแล้วเดินทางไปสอนหนังสือต่างประเทศพร้อมเงินก้อนใหญ่ คอยรักษาเนื้อรักษาตัวเพื่อรอวันกลับมาเป็นผู้นำมือสะอาด อีกครั้งหลังประเทศเข้าสู่สถานการณ์ความสงบแผนถูกกำหนดไว้ว่า เช้าของอีกวันรุ่งขึ้น ประเทศ “สารขัณฑ์” จะบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้า ที่ผู้นำประชาธิปไตยยอมลาออกและเดินทางออกนอกประเทศ

แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองก็ทำให้สถานการณ์พลิกผัน เมื่อปรากฏ “คลิปของกำลังชุดดำ” พร้อมอาวุธหนักทันสมัยครบมือกองกำลังชุดดำ ที่มีข่าวในวงลึกว่า มีไม่ต่ำกว่า 500 คน

คือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้สถานการณ์พลิก ผู้นำนักประชาธิปไตย ได้หลักฐานเพื่ออ้างความชอบธรรม ในการใช้อำนาจรัฐดำเนินการขั้นเด็ดขาด โดยไม่เสียต้นทุนเรื่องภาพลักษณ์ของตัวเองผู้นำนักประชาธิปไตย ไม่รีรอ ฉกฉวยสถานการณ์ เปลี่ยนท่าที ขออยู่ในอำนาจต่อ และก็มีโอกาสแสดงความเท่ห์อีกครั้ง

ด้วยเหตุและผลของฝ่ายที่ต้องการเห็นการปฏิรูปเกิดขึ้นในประเทศไทยเหมือนกัน แต่ทว่าคำตอบในการออกเสียงประชามติกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีทั้งรับ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

แต่ทว่าสิ่งที่หลายคนอาจลืมไปก็คือ ผลของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการทำประชามติจะเป็นเช่นไร ซึ่งคุณผู้ชมต้องติดตามอีก 2 ช่วงรายการในวันนี้ รับรองว่าเข้มข้นและชัดเจนอย่างแน่นอน