คณิตศาสตร์กับผลประชามติ7ส.ค.

อย่างไรก็ดีสำหรับการประเมินสถานการณ์ในช่วงที่แล้วไปนั้น ท้ายที่สุดการชี้ขาดผลแพ้ชนะการออกเสียงประชามติ ก็ขึ้นอยู่กับคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ซึ่งในวันนี้รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก จะในนำเ

อย่างไรก็ดีสำหรับการประเมินสถานการณ์ในช่วงที่แล้วไปนั้น ท้ายที่สุดการชี้ขาดผลแพ้ชนะการออกเสียงประชามติ ก็ขึ้นอยู่กับคนไทยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ

ซึ่งในวันนี้รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก จะในนำเสนอข้อมูลเชิงสถิติในอดีตเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบันให้คุณผู้ชมได้รับทราบดังนี้

การออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 มีสถิติของผู้มีสิทธิและออกมาใช้สิทธิดังนี้

ผู้มีสิทธิออกเสียง45,092,955 คน

มาใช้สิทธิ 25,978,954 คน คิดเป็นร้อยละ 57.61

ส่วนในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

ผู้มีสิทธิออกเสียง 50,485,451คน

หรือเพิ่มขึ้น5,392,496 คน

ทั้งนี้หากมีผู้ออกมาใช้สิทธิตามสัดส่วนเดิมคือคือ ร้อยละ 57.61 ก็จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 28,776,707 คน

แต่ถ้าหากเอาตัวเลขประเมินของ กกต.ที่ระบุว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิ์มากถึงร้อยละ 80 ตัวเลขก็จะทะลุไปถึง 40,388,360 คนเลยทีเดียว

การออกเสียงประชามติในครั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจากปัจจัยเกื้อหนุนที่ประชาชนตื่นตัวต่อสถานการณ์มากขึ้นนั้นเชื่อว่า น่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิตั้งแต่ 28 ล้านไปจนถึงกว่า 40 ล้านเลยทีเดียว

ซึ่งในที่นี้ก็สามารถลงรายภาคได้อีกดังนี้

 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายภาคแล้วจะพบว่าทุกภาคมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น โดยสามารถจำแนกออกมาดังต่อไปนี้

 

กรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้น      324,035 คน

ภาคกลาง เพิ่มขึ้น  1,976,419 คน

ภาคใต้ เพิ่มขึ้น       560,258 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น       1,657,457 คน

ภาคเหนือ เพิ่มขึ้น  874,327 คน

พิจารณาจากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจะเห็นว่า ภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นมากที่สุดนั่นเอง

อย่างไรก็ดีหากยึดโยงตามผลแพ้ชนะของทั้งสองภาคจากการออกเสียงประชามติเมื่อปี 2550 ก็มีโอกาสที่คะแนนของทั้งสองภาคจะเสมอกันอีกครั้งหนึ่ง

เพราะฉะนั้นเมื่อลองมาคาดการณ์ด้วยการยกตัวอย่างผู้มาใช้สิทธิตามเปอร์เซ็นต่างๆ  และผลประชามติยังยืนบนหลักการเดิมของปี 2550 ตัวเลขที่ได้อาจจะออกมาดังนี้

เดิมนั้นคะแนะเห็นชอบ 14,727,306 บัตร ไม่เห็นชอบ 10,747,441 บัตร

ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.69 กับร้อยละ 41.37  ของผู้มาใช้สิทธิ25,978,954 คน

 

และถ้าหากว่าการออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ มีผู้มาใช้สิทธิในอัตราส่วนเท่าเดิมหรือ คิดเป็นร้อยละ 57.61ก็จะได้ตัวเลขดังนี้

 

1.ผู้มาใช้สิทธิ์28,776,707 คน

จะมีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 16,114,955 คน

เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 13,525,052 คน

คุณผู้ชมค่ะสำหรับตัวเลขที่ปรากฏเหล่านี้ ล้วนเป็นการคาดการณ์จากสถิติเดิม โดยอ้างอิงจากฐานของคะแนนประชามติเมื่อปี 2550 เท่านั้น

แต่เนื่องจาก 9 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ของประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย โดยเฉพาะการมองเห็นความจริงทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ผลของการทำประชามตินั้นเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ว่าได้