ถึงเวลาพิสูจน์ความจริง!!!  "ยิ่งลักษณ์" ยืนกรานค้านอำนาจปปช.ฟ้อง-คุมนโยบายไม่เกี่ยวผิดบุคคล-ไม่ละเลยผิดตั้งคกก.สอบท้วงโกง!!?!!

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

     สืบเนื่องจากการที่ในวันที่ 5  ส.ค. จะเป็นครั้งแรกที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี   จะต้องทำหน้าที่แถลงเปิดคดีในฐานะจำเลย   ตามความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่ง หรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่ง หรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท

 

      นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์  ระบุว่า   น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะขึ้นแถลงเปิดคดีด้วยตนเอง โดยใช้เวลาสำหรับการแถลงคดีไว้ราว 1 ชั่วโมง จากนั้นจะเป็นการตอบคำถามอัยการโจทก์   โดยอาจจะต้องไต่สวนพยานทั้งช่วงเช้าและบ่าย  ซึ่งไม่แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นทันเวลาในวันเดียวหรือไม่

         

          ขณะที่ประเด็นหลัก ๆ ที่คาดหมายว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์จะยืนเป็นหลักการสำหรับการต่อสู้ข้อกล่าวหา ประกอบด้วย

 

          1.การคัดค้านอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการไต่สวนคดีนี้ เช่น กระบวนการรับคำร้องและเริ่มคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้กล่าวหาเสียเองเพิ่มเติม   จากคำร้องที่มีผู้ยื่นถอดถอนนายกฯ ออกจากตำแหน่งว่านายกฯ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือทุจริตต่อหน้าที่

 

         2.ยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดในโครงการรับจำนำข้าว โดยมีเหตุผลดังนี้

 

          2.1 นโยบายรับจำนำข้าวเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งตรงกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่รัฐบาลต้องปฏิบัติและคณะรัฐมนตรีต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อรัฐสภา หากนายกฯ สั่งระงับยับยั้งการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวก็จะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 ที่กำหนดว่าคณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และมีผลผูกพันตามนโยบายที่ได้แถลงไว้

          2.2 การดำเนินการของนายกฯ ตามโครงการรับจำนำข้าวเป็นการใช้อำนาจของนายกฯ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยทั่วๆไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในเรื่องนั้นๆ จึงไม่เข้าข่ายกระทำความผิดในทางอาญาฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพราะว่าการละเลยหรือเพิกเฉยในลักษณะมีเจตนางดเว้นการที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น บุคคลนั้นต้องมีหน้าที่โดยตรงด้วย

 

          2.3 คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติที่มีนายกฯ เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในเชิงการกำหนดกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี นายกฯ ในฐานะประธานและคณะกรรมการไม่มีอำนาจหน้าที่ในการมีมติสั่งยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว ส่วนการติดตาม กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย ก็เป็นเพียงการกำกับโดยทั่วไปของคณะกรรมการ ส่วนหากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ปฏิบัติตามกรอบนโยบายที่ฝ่ายบริหารได้วางไว้ ก็เป็นความรับผิดส่วนบุคคล ที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

 

          2.4 เมื่อ ป.ป.ช.มีหนังสือแจ้งมายังนายกฯ ว่า มีการดำเนินการตามโครงการก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ในการรับจำนำข้าว โดยเฉพาะปัญหาทุจริตเชิงนโยบายและในส่วนของขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินโครงการ นายกฯ ก็ได้มีคำสั่งตั้ง "คณะกรรมการอำนวยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต" ขึ้นมาดำเนินการ

 

       ขณะที่ก่อนหน้านั้น  นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์  ได้แสดงความเห็นถึงการแถลงเปิดคดีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะเป็นความยากลำบากที่สุด  เพราะการตอบคำถามอัยการฝ่ายโจทย์ในศาลฎีกา ไม่เหมือนตอบกระทู้ในสภา เพราะตอบกระทู้ในสภาจะตอบอย่างไร ก็มีคนช่วยประท้วง แต่การตอบในศาล นอกจากต้องตอบเอง ไม่มีคนช่วย ต้องเป็นของจริง มีเอกสารอ้างอิง ที่สำคัญถ้าเตรียมตัวมาไม่ดี ผมเชื่อเลยว่าต้องได้เห็นอะไรดีๆในศาลแน่

       

     “ผมขอให้กำลังใจท่านอัยการ ที่รับผิดชอบคดีทุกๆท่านครับ ผมสัมผัสได้ว่าทุกๆท่าน ทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ เอาจริงเอาจัง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ที่สำคัญขอให้ท่านอัยการที่ทำหน้าที่ซักถาม ต้องหนักแน่นเพื่อชาติครับ เพราะนักการเมืองบางคน แม้จะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรสักเท่าไร แต่ก็มีลูกเล่นทีเด็ดเฉพาะตัว ให้กำลังใจท่านอัยการทุกท่านครับ”