ฤา คสช. จะ “สืบทอดอำนาจ” ...ด้วย เส้นทาง "นายกฯ คนนอก " หรือไม่??

การปรับแก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามตินั้น หนึ่งในประเด็นที่ถูกยกมาถกเถียง

สำหรับความคืบหน้าในการปรับแก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามตินั้น หนึ่งในประเด็นที่ถูกยกมาถกเถียง ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญฯ ยังอยู่ระหว่างการจัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็คือเรื่องการ “สืบทอดอำนาจ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการเขียนบทเฉพาะกาล มาตรา 272 ให้ “ยกเว้น”เกณฑ์การแจ้งชื่อแคนดิเดตนายกฯ ล่วงหน้าดังกล่าวได้อีกด้วย โดยมีขั้นตอนคือ
-ส.ส.ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จากผู้มีรายชื่อ ในพรรคการเมืองเสนอ
-ให้ ส.ส. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรืออย่างน้อย 251 คน จากทั้งหมด 500 คน เข้าชื่อเสนอประธานรัฐสภา ยกเว้นเกณฑ์การเลือกชื่อในบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ
-จากนั้นประธานรัฐสภาจัดประชุมรัฐสภาโดยพลัน
-ให้ ส.ส. และ ส.ว. ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนทั้งหมด หรืออย่างน้อย 251 คน จากทั้งหมด 750 คน อนุมัติการยกเว้นเกณฑ์ดังกล่าว (โดยต้องไม่ลืมว่า ส.ว.ชุดแรกทั้งหมด 250 คนมาจากสรรหาโดย คสช.)
-ให้ ส.ส. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เห็นชอบรายชื่อนายกฯ ได้
-ขณะเดียวกันจะเพิ่มให้ส.ว.เสนอชื่อนายกฯได้ด้วย
ทั้งหมดจึงเป็นการมองว่า เปิดทางให้คนนอก ซึ่งไม่ได้เป็น ส.ส. ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง มาเป็นนายกฯ ได้ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ออกมาผลักดัน ชื่อของนายกรัฐมนตรีคนนอกมาโดยตลอด เห็นจะเป็น ไพบูลย์ นิติตะวัน ที่ย้ำหนักแน่น ว่าให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามมาตรา 272  เพียงคนเดียวไพบูลย์ นิติตะวัน เปิดเผยแนวทางผลักดันให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งว่า พรรคประชาชนปฏิรูป จะไม่มีการเสนอบัญชีรายเพื่อชูบุคคลใด ๆ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามมาตรา 272  เพียงคนเดียว และเชื่อว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี 100 % หลังจากรัฐสภาที่ประกอบไปด้วย ส.ส.และ ส.ว.ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีตามบัญชีของพรรคการเมืองในระบบปกติได้ ทั้งนี้ตนขอประเมินว่าภายหลังการเลือกตั้งปลายปี 2560 พรรคประชาชนปฏิรูปจะได้ ส.ส.เข้ามามากพอสมควร เนื่องจากประชาชนเบื่อหน่ายระบบการเมืองแบบเก่า ขณะที่พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ ส.ส.ลดลง ร้อยละ 20 จากผลการเลือกตั้งปี 2554 จากเดิมที่พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ประมาณ 270 เสียง และพรรคประชาธิปัตย์ได้ประมาณ 160 เสียง

ดังนั้นในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อ จะมีเพียงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อบุคคลตามบัญชีของพรรคการเมือง เสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น  และเชื่อว่าสุดท้ายทั้ง 2 พรรคจะไม่มีใครได้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เนื่องจากคะแนนเสียงสนับสนุนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือเกินจำนวน 375 เสียง เนื่องจากวุฒิสภา จำนวน 250 เสียง  พรรคประชาชนปฏิรูป และพรรคการเมืองอื่น ๆ จะงดออกเสียง หรืออีกกรณีพรรคเพื่อไทย  พรรคประชาธิปัตย์  จับมือร่วมกัน โดยมีพรรคขนาดกลางเป็นรัฐบาลเป็นส่วนประกอบ  แม้เสียงของพรรคทั้งหมดก่อนโหวตนายกรัฐมนตรีจะเกิน 375 คนก็ตาม แต่สุดท้ายเชื่อว่าจะทำไม่สำเร็จ เพราะจะมี ส.ส. ที่โหวตสวนมติพรรคอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นการทำร้ายจิตใจประชาชนอย่างร้ายแรง หรืออาจประเมินว่าการทำงานในอนาคตก็ไม่สามารถไปกันรอด เพราะคนละอุดมการณ์ เมื่อเข้าเงื่อนไขตามที่ตนคาดการณ์เอาไว้ สุดท้ายจะมีการเจรจากันเองของส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร และรวบรวมเสียงของส.ส. จำนวนกึ่งหนึ่ง หรือไม่น้อยกว่า 250 คน ยื่นเรื่องให้ประธานรัฐสภาเพื่อเปิดประชุมรัฐสภา ของดเว้นรายชื่อจากบัญชีพรรคการเมือง เนื่องจาก ส.ส.ส่วนใหญ่ ต้องการให้มีรัฐบาลโดยเร็ว และไม่ต้องการให้สภาพการเมืองเป็นสุญญากาศ ที่คสช. ยังอยู่ในอำนาจต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดหากยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ จากนั้นเมื่อเปิดประชุมรัฐสภาได้แล้ว  ส.ส. และส.ว.ก็จะใช้เสียง 2ใน 3 ของรัฐสภา เพื่อลงมติงดเว้นเลือกนายกรัฐมนตรีตามบัญชีพรรคการเมือง ตามข้อยกเว้นมาตรา 272  จากนั้นพรรคประชาชนปฏิรูป ก็จะกลับไปรวมลงชื่อกับ ส.ส.พรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ และเชื่อว่ารัฐสภาก็จะให้ความเห็นชอบลงมติเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกในที่สุด และคงต้องไปสอบถาม ผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้าไปเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก นั่นคือ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งวันนี้ตอบด้วยน้ำเสียงแข็งกร้าวว่า อย่าเพิ่งดึงตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง

สำหรับความคืบหน้าในการปรับแก้ไขบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามตินั้น ติดตาม การประชุม กรธ.วันที่ 19 สิงหาคมเพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะส่งตัวแทนมาเข้าร่วมประชุมกับ กรธ.อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามพ่วง ทั้งในประเด็นเจตนารมณ์และเนื้อหาว่า จะต้องปรับแก้ไขในจุดใดบ้าง และเชื่อมโยงไปที่มาตราใดบ้าง ก่อนที่ทาง กรธ.จะทำการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในมาตรา 272 ในช่วง 5 ปีแรก
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวถึงในฐานะที่ตนเองเป็นผู้เสนอคำถามพ่วงใน สปท.และที่ประชุมก็เห็นด้วยเสียงส่วนใหญ่มีเจตจำนงตรงกัน คือ 5 ปีแรกของ ส.ว.มีสิทธิร่วมกับ ส.ส.ในการโหวตเลือกนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นคนในหรือคนนอก ดังนั้นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ สนช.ต้องร่วมกันเอาเจตนารมณ์ของประชาชน มาเป็นข้อกำหนดในการปรับแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อย่าบิดเบี้ยวหรือหาทางตีเจตนารมณ์ของประชาชนเป็นอย่างอื่น มิเช่นนั้นท่านจะกลายเป็นผู้ทรยศต่อประชาชนเสียเอง

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฎิรูปประเทศ ระบุว่า ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการปรับแก้ตามคำถามพ่วงที่ผ่านประชามติมาด้วยกัน โอกาสจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองที่เสนอไว้ในวันสมัครเลือกตั้งแม้จะมี แต่ก็น้อยมาก และยากมาก แถมยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวคือในการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเท่านั้น ถ้าพรรคการเมืองทำได้เพียง 3 ประการ ก็ปิดประตูสำหรับนายกรัฐมนตรีคนนอกเกือบสนิท
1. ไม่เสนอชื่อบุคคลภายนอกพรรคตนเองเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีในวันสมัครรับเลือกตั้ง
2.ผนึกกำลังกันให้ได้ 376 เสียงขึ้นไปเลือกคนในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้คนใดคนหนึ่งในการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ทำตามข้อ 1 และข้อ 2 ได้ก็เป็นอันจบข่าว จะไม่มีทางเกิดกรณียกเว้นแน่นอน แต่ถ้าทำตามข้อ 2 ไม่ได้เพราะ 2 พรรคใหญ่ไม่ยอมกัน หรือไม่ว่าด้วยเหตุใด ก็ยังมีก๊อก 3 อีก
3.ผนึกกำลังกันได้มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 1 เสียง คือ 251 เสียง จาก 500 เสียง ก๊อก 3 นี้เป็นกรณีที่จะนำไปสู่เหตุยกเว้นให้มีการเสนอชื่อนอกบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้ได้

การเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี คนนอก เริ่มมีการแสดงความคิดเห็น ของนักการเมือง ที่ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
พระพุทธะอิสระ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊กแสดงความเห็นทางการเมือง กรณี ไพบูลย์ นิติตะวัน จะตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคประชาชนเพื่อการปฏิรูปและประกาศจะเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์  โดยระบุว่า การที่คุณไพบูลย์และพวกเขาจับมือรวมกลุ่มกันเพื่อจะทำงานให้แก่บ้านเมืองมันจะผิดอะไร
ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่มันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและช่วงเวลา รวมทั้งกลยุทธ์เทคนิคในขบวนการประชาสัมพันธ์ ที่ใครจะคิดได้ คิดเร็ว ทำเร็ว และได้เปรียบกว่ากัน ซึ่งการที่คุณไพบูลย์และพวกเขารีบประกาศตัว มั่นหมายคุณประยุทธ์ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคุณไพบูลย์ เมื่อเห็นคนดีมีฝีมือ แถมยังจิตใจหล่ออีกตะหาก ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้หาไม่ได้ในพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีอยู่เดิมหรอก
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กล่าวในรายการมองไกล ผ่านยูทูป ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ถูกคนรอบข้างเชียร์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกอีกครั้งภายหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นช่วงปลายปี 2560 พล.อ.ประยุทธ์ สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญได้วางกติกาสืบทอดอำนาจไว้อย่างครบถ้วน ตนไม่ได้สนับสนุนให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องการเห็นพฤติกรรมช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่าจะทนฟังคำพูด ส.ส. และออกอารมณ์กลางที่ประชุมหรือไม่
นายจตุพร กล่าวอีกว่า ถ้าหลังเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภาแต่งตั้ง 250 คน ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกนั้น อำนาจของนายกรัฐมนตรีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยไม่สามารถใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ได้อีก แล้วจะมีเครื่องมืออะไรมาจัดการปัญหาของบ้านเมืองให้ได้ตามความต้องการเหมือนที่มีอำนาจเต็มในปัจจุบัน การสืบทอดอำนาจมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกจึงไม่ง่ายเลย เพราะหลังการยึดอำนาจเมื่อ 22 พ.ค. 2557 นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเต็ม ทำอะไรได้หมดโดยใช้ มาตรา 44 ซึ่งเป็นอำนาจของหัวหน้า คสช. เมื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกภายหลังการเลือกตั้ง ไม่มีอำนาจ มาตรา 44 อีกแล้ว ต้องถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถูกตั้งกระทู้ถาม ต้องชี้แจง พ.ร.บ. งบประมาณ แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จะฟังได้หรือไม่เมื่ออยู่ในสภาฯ ขนาดจอมพลถนอม กิตติขจร ก็ยึดอำนาจแล้ว ให้มีเลือกตั้งและได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีก แต่สุดท้ายต้องประกาศยึดอำนาจตัวเองอีกครั้ง เพราะทนปาก ส.ส. ไม่ได้
ด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอให้ในการประชุมรัฐสภานัดแรกเพื่อร่วมกันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น มีการดำเนินการเพื่อขอเสียงสนับสนุนเพื่อยกเว้นเงื่อนไขการเลือกนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมือง แล้วจึงดำเนินการเลือกนายกฯ ไปในคราวเดียวกันเลย ว่า ส่วนตัวมองว่า ข้อเสนอของนายทวีศักดิ์  สูทกวาทิน คงเป็นแค่วิธีการประชุมมากกว่าการพยายามรวบรัดผลักดัน เพื่อเลือกนายกฯ ในวาระแรก ตามที่สังคมวิจารณ์กัน เพราะโดยข้อเท็จจริง ในการประชุมสภานัดแรกภายหลังจากการเลือกตั้ง จะมีการเสนอให้เลือกนายกฯ ตามบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ คงจะหารือไม่จบในการประชุมนัดแรก เพราะต้องมีการพูดคุยกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ก่อน