นาทีนี้ถึงอ้วนก็ยอม!! "ทุเรียนชะนีเกาะช้าง" รสชาติเริ่ดเว่อร์ แถมมีวิตามินอี-ไอโอดีนสูง!! (ชมภาพ)

ติดตามข่าวเพิ่มเติม http://deep.tnews.co.th/

นาทีนี้ถึงอ้วนก็ยอม!! "ทุเรียนชะนีเกาะช้าง" รสชาติเริ่ดเว่อร์ แถมมีวิตามินอี-ไอโอดีนสูง!! (ชมภาพ)

เมื่อวันที่ 15 ก.ย.59 นายกำธร เวหน นายอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด ได้กล่าวว่า เมื่อขึ้นจากเรือเฟอร์รี่แล้วขับรถเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายอ่าวสับปะรด-บ้านสลักเพชร จะเห็นได้ว่าสองข้างทาง จะมีสวนผลไม้หลากหลายชนิดโดยเฉพาะในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านคลองนนทรี หมู่ 2 บ้านด่านใหม่ ต.เกาะช้าง จะยังคงมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนทุเรียนพันธุ์ชะนี-พันธุ์หมอนทอง ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจะขายผลผลิตได้ราคาดีเป็นพิเศษ โดยทุเรียนพันธุ์ชะนี ที่นำมาวางขายหน้าบ้านจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 90-100 บาท ทุเรียนพันธุ์หมอนทองขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 110-120 บาท

 
ขณะที่ชาวสวนบางส่วนที่ขายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่มาติดต่อรับซื้อถึงในสวน พร้อมจ้างคนงานมาตัดขนขึ้นยานพาหนะเอง จะอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 55-65 บาท สูงกว่าปีที่ผ่านๆ มาถึง 15-20 บาทต่อกิโลกรัม สาเหตุหนึ่งที่ชาวสวนสามารถขายทุเรียนได้ราคาสูง เพราะมีทุเรียนให้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดน้อย และอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็คือในเรื่องของรสชาติ และมีการรับรองคุณภาพทุกสวนที่นำมาวางขาย


ด้าน นางประทุม เสนกุล เกษตรอำเภอเกาะช้าง กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาบนพื้นที่ อ.เกาะช้างได้กำหนดให้สวนของนายสมโภชน์ ทัศมากรประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน-ผลไม้เกาะช้าง เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การผลิตทุเรียนคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาล-หัวหน้าคสช. ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรทั้งระดับจังหวัด อำเภอได้มีการนัดประชุมหารือกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเกาะช้างที่รวมตัวกันตั้งกลุ่มอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผลผลิตทุเรียนที่จะออกมาในปีหน้า มีคุณภาพ

  นาทีนี้ถึงอ้วนก็ยอม!! "ทุเรียนชะนีเกาะช้าง" รสชาติเริ่ดเว่อร์ แถมมีวิตามินอี-ไอโอดีนสูง!! (ชมภาพ)
 

ขณะเดียวกันจากการออกสำรวจข้อมูลของเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอ.เกาะช้างพบว่า ในปี 2559 จะมีทุเรียนพันธุ์ชะนี ที่ให้ผลผลิตทั้งหมด 245 ไร่ ได้ผลผลิตทุเรียนทั้งหมดประมาณ 294 ตัน ในส่วนของทุเรียนพันธุ์หมอนทองให้ผลผลิตคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 420 ไร่ จะได้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 504 ตัน โดยคาดว่าในปีหน้าจะมีผลผลิตทุเรียนในพื้นที่เกาะช้างที่จะออกและเก็บเกี่ยวได้ แยกไว้เป็น 3 รุ่นด้วยกัน คือ รุ่นที่ 1 ในช่วงเดือน เมษายน-รุ่นที่ 2 ในช่วงเดือน พฤษภาคม-รุ่นที่ 3 เดือนมิถุนายน

สาเหตุที่สำคัญที่ผลผลิตทุเรียนออกสู่ท้องตลาดน้อยเมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็มาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ทำให้ทุเรียนและผลไม้ชนิดอื่นๆ เกิดการแตกใบอ่อน ดอกหลุดร่วงไม่ยอมติดลูก ซึ่งวิกฤติของทุเรียนที่ติดผลน้อยดังกล่าว จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนเกาะช้าง สามารถขายทุเรียนได้ในราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ

นาทีนี้ถึงอ้วนก็ยอม!! "ทุเรียนชะนีเกาะช้าง" รสชาติเริ่ดเว่อร์ แถมมีวิตามินอี-ไอโอดีนสูง!! (ชมภาพ)

นอกจากนี้ ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับเกษตรอำเภอเกาะช้างได้มีการเข้าร่วมประชุมกับทางกลุ่มฯ อย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดทำ สติกเกอร์คิวอาร์โค้ด สามารถสแกนแล้วติดต่อเจ้าของสวนทางไลน์ได้ทันที ระบุแหล่งที่ผลิต-วันที่บริโภค และช่องทางการติดต่อกับเจ้าของสวนได้ เพื่อรับรองคุณภาพกับสวนที่เข้าร่วมโครงการ จะมีการขอความร่วมมือขออย่าให้มีการตัดทุเรียนอ่อนขาย นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ยังทำให้เสียชื่อโดยภาพรวม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี คาดการว่าในปีหน้านี้ทุเรียนของเกษตรกรชาวสวนเกาะช้าง ก็ยังคงจะได้ราคาสูงเหมือนเดิม

นายสมโภชน์ ทัศมากร ประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน-ผลไม้เกาะช้าง จ.ตราด ได้กล่าวว่าในช่วงทุเรียนให้ผลผลิตปีที่ผ่านมา ชาวสวนต่างขายได้ราคาดีเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งปกติแล้วทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้าง จะมีชื่อเสียงในเรื่องของรสชาติที่อร่อย หอมหวาน มีจุดเด่นที่เนื้อสีเหลืองอ่อนละเอียดเนียน และเต็มไปด้วย วิตามินอีและไอโอดีน เนื่องจากสภาพพื้นดินของเกาะช้างจะมีส่วนประกอบของดินภูเขาไฟ และปลูกอยู่กลางทะเลมีน้ำเค็มล้อมรอบ โดยได้มีการส่งเนื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีเกาะช้างไปตรวจวิเคราะห์สารอาหารที่บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด พบว่าเนื้อทุเรียนชะนีนั้นมีวิตามินอี และไอโอดีนสูง ซึ่งผู้ที่รับประทานเข้าไปจะได้รับประโยชน์ด้านการต่อต้านอนุมูลอิสระและชะลอความแก่ทุกครั้งก่อนที่จะตัดขายออกสู่ท้องตลาด จะมีการประชุมพูดคุยตกลงกันภายในกลุ่มว่า ทุเรียนที่มาวางขายจะต้องมีคุณภาพจริงๆ ซึ่งชาวสวนที่รวมกลุ่มกันส่วนใหญ่จะทราบกันดี เพราะทำสวนมานานตั้งแต่รุ่นพ่อ-รุ่นแม่

 
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำสติกเกอร์รับรองคุณภาพให้ด้วย ซึ่งจะมีคิวอาร์โค้ดด้วย ลูกค้าที่ซื้อทุเรียนไป เมื่อเกิดปัญหาสามารถสแกนแล้วติดต่อเจ้าของสวนทางไลน์ได้ทันที และยังมีการระบุชื่อของเจ้าของสวน-กลุ่มที่ผลิต-วันที่บริโภคได้ รวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ ติดที่ก้านของทุเรียนทุกลูก สร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าผู้ที่ซื้อไปบริโภค ขณะที่แต่ละสวนก็ได้มีการติดตั้งป้าย ระบุชื่อ-รูปภาพ เจ้าของสวนพร้อมมีข้อความรณรงค์ไม่ขายทุเรียนอ่อน เพื่อสร้างความสบายใจแก่นักท่องเที่ยวผู้ที่แวะซื้อทุเรียนและผลไม้อื่นๆ ไปบริโภค ถ้าหากลูกค้าซื้อไปแล้วเจอปัญหาทุเรียนอ่อน ก็ขอให้ติดต่อกลับตามเบอร์โทรที่ติดไว้ที่สติกเกอร์หรือทางไลน์ ถ้าหากไม่ได้คุณภาพจริงๆ ทางเจ้าของสวนพร้อมรับเปลี่ยนคืนให้ทันทีโดยเฉพาะถ้าหากเนื้อของทุเรียนอ่อนหรือเน่าเสีย

 

ขอบคุณภาพ/ข่าว : ไทยรัฐ

นาทีนี้ถึงอ้วนก็ยอม!! "ทุเรียนชะนีเกาะช้าง" รสชาติเริ่ดเว่อร์ แถมมีวิตามินอี-ไอโอดีนสูง!! (ชมภาพ)