อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!  (พระราชอารมณ์ขัน)  เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรถิ่นทุรกันดาร

ติดตามเรื่องดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.

ในการเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองไกลๆ นั้นต้องตรากตรำพระวรกายเป็นอย่างมาก ทรงหนีบแผนที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับหมู่บ้านและเส้นทางของแม่น้ำลำธารซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการวางแผนพัฒนานอกจากนั้นแล้วยังทรงมีปัญหาเรื่องอื่นๆอีกร้อยแปด  จะต้องเสด็จฯ ไปงานพระราชพิธีต่างๆ  จะต้องเสด็จฯ ออกรับแขกเมืองชาวต่างประเทศที่ขอเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของบ้าง ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลบ้างฯลฯเยอะแยะไปหมด
การที่ทรงสามารถรับพระราชภาระอันหนักเช่นนี้อยู่ได้นานนับสิบๆปี ก็เพราะทรงมีพระราชอารมณ์ขันนั่นเองเป็นทางระบายความเครียดข้าราชบริพารและตำรวจทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดีและมักเล่าสู่กันฟังด้วยความชื่นชมในพระราชอารมณ์ขันของพระองค์อยู่เสมอ
อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!  (พระราชอารมณ์ขัน)  เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรถิ่นทุรกันดาร

นายตำรวจคนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า ในการเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรอำเภอไกลๆที่กันดารนั้นบางครั้งกำนันก็อยากจะกราบบังคมทูลด้วยราชาศัพท์แต่อันที่จริงนั้นไม่ต้องก็ได้มิได้ทรงเห็นเป็นเรื่องสำคัญเพราะทรงถือว่าความจงรักภักดีและความเคารพในหัวใจนั้นสำคัญยิ่งกว่าราชาศัพท์
แต่ถึงกระนั้น กำนันบางคนก็ยังอยากจะกราบบังคมทูลให้ถูกต้องตามแบบแผน อุตส่าห์ไปซ้อมมาเสียหลายวัน ท่องมาจนจำขึ้นใจ แต่พอเสด็จฯ มาถึงเข้าจริงๆ ท่านกำนันก็สั่นเทิ้มด้วยฤทธิ์ประหม่า รายงานตัวออกไปว่า
“ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า...”
“เราพวกเดียวกันนะ...”
รับสั่งด้วยความเมตตาอย่างพ่อพูดกับลูก
ท่านกำนันเห็นว่าทรงพระกรุณาเช่นนั้นก็เลยเปลี่ยนใจมากราบบังคมทูลด้วยภาษาธรรมดา

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!  (พระราชอารมณ์ขัน)  เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรถิ่นทุรกันดาร
 

คุณพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เคยเล่าให้ฟังว่า  การที่ได้รับสั่งสนทนาปราศรัยกับราษฎรอย่างใกล้ชิดนั้นเป็นสิ่งที่โปรดปรานและต้องพระราชประสงค์อย่างยิ่งไม่เคยทรงถือเลยว่าราษฎรจะกราบบังคมทูลด้วยถ้อยคำธรรมดาอย่างไรบางครั้งราษฎรพยายามจะใช้คำราชาศัพท์ขลุกๆขลักๆก็ทรงพระกรุณาแก้ไขให้หรือรับสั่งอนุญาตว่าพูดธรรมดากันก็ได้
ครั้งหนึ่งได้รับสั่งถามราษฎรว่า ทำไมมากันมาก รู้ได้อย่างไร ใครจะมามาไกลไหม  เคยมีราษฎรกราบบังคมทูลว่าอำเภอเขาให้มาแต่ก็มีมากรายที่ตอบตรงตามหัวใจว่า

 

“โอย... ใครไม่บอกก็มา... อยากมาเห็น... ก่อนตายขอให้ได้เห็นในหลวงเป็นบุญตาสักครั้งก็ยังดี”
บางแห่งรับสั่งถามว่า

“พากันเดินทางมาเหนื่อยไหม...ไกลมากไหม?”
 

คุณยายคนหนึ่งทูลตอบไปว่า

“ไม่ไกลเท่าไรดอกเจ้าค่ะ ... เดินทางมาสองคืนเท่านั้นเอง”

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!  (พระราชอารมณ์ขัน)  เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรถิ่นทุรกันดาร


อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!  (พระราชอารมณ์ขัน)  เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรถิ่นทุรกันดาร

จากหนังสือ พระราชอารมณ์ขัน โดยวิลาศ มณีวัต