ลากไส้ประเด็นร้อน!!  "ยิ่งลักษณ์"  จัดฉาก "สุภา" เป็นคู่ขัดแย้ง  จริงๆแล้วใครกันแน่ผูกใจเจ็บ เพราะโดนแฉทำจำนำข้าวเสียหายหนัก??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

    กลายเป็นกรรมการปปช.ที่ฮอตที่สุดชั่วโมงนี้  แม้ว่าชื่อของ “สุภา ปิยะจิตติ”  จะเป็นที่รู้จักมักคุ้นมาโดยตลอดในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งออกมาพูดถึงความเสียหายจากนโยบายรับจำนำข้าวหลายแสนล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตัวเองยังคงอยู่ในฐานะรองปลัดกระทรวงการคลัง  ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยไม่หวั่นเกรงอิทธิพลทางการเมือง   

 

     (  วันที่ 2 กรกฎาคม 2556   น.ส.สุภา   ชี้แจงและตอบคำถามคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา โดยให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการว่า  โครงการรับจำนำข้าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตทุกขั้นตอน โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีผลขาดทุน 2.2 แสนล้านบาท) 

 

     ทั้งนี้ตามประวัติส่วนตัว  “ สุภา ปิยะจิตติ”    เกิดวันที่ 12 มกราคม 2497   เริ่มต้นเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสังข์กระจาย  เรียนมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดอัปสรสวรรค์  และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์   และยังเคยเข้าอบรมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 45  รวมถึงสถาบันวิทยาการตลาดทุนรุ่นที่ 8    ซึ่งมีนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และนักธุรกิจชั้นนำเป็นเพื่อนร่วมรุ่น 

 

    ด้านหน้าที่การงานเริ่มต้นชีวิตข้าราชการธรรมดาเหมือนบุคคลทั่วไปก่อนจะเลื่อนระดับเป็น  ผู้อำนวยการส่วนบริหารหลักทรัพย์    ในปี 2538      และมีเส้นทางชีวิตข้าราชการก้าวหน้าตามลำดับ   อาทิ    รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง  ในปี 2544     แต่ก็เกิดมรสุมในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร   ถูกโยกไปนั่งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังในปี  2547  และขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง   ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร  19  ส.ค. 2549   

 

     ต่อมาคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงมติเลือกนางสาวสุภา  ปิยะจิตติ  รองปลัดกระทรวงการคลัง  เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.    แทนนายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. ที่ต้องพ้นวาระตามรัฐธรรมนูญมาตรา 247   เนื่องจากมีอายุครบ 70  ปีบริบูรณ์  โดยคณะกรรมการสรรหาได้เสนอชื่อนางสาวสุภา  ปิยะจิตติ  ต่อประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่  10  เม.ย.  2557  และถูกมอบหมายให้รับผิดชอบสำนักไต่สวนคดีทุจริตภาคการเมือง 1   (รับผิดชอบคดีทุจริตนักการเมืองระดับชาติ-ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน)

 

     จนล่าสุด น.ส.สุภา  ถูกน.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร     ยื่นคำร้องต่อปปช.ให้พิจารณาทบทวนการแต่งตั้ง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ  ปปช.เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง คดีกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใน 6 คดี จาก  15  คดีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกร้องเรียน

 

     ที่น่าสนใจกับการทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตในยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์  เคยเกิดกรณีที่ทำให้น่าเชื่อได้ว่ามีความพยายามจะสกัดกั้นน.ส.สุภามาก่อนหน้านี้  ตามข้อมูลปรากฏว่า  มีคำสั่งจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง    ตั้งคณะกรรมการสอบ   น.ส.สุภา ปิยะจิตติ   รองปลัดกระทรวงการคลัง       ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรของกระทรวงการคลัง        กรณีไปให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา   เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556    ว่า     โครงการรับจำนำข้าวมี “ความเสี่ยงและโอกาสเกิดการทุจริตทุกขั้นตอน     โดยต่อมาพบว่าผู้รับผิดชอบการสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวก็คือ   นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง   ซึ่งถูกนายอารีพงษ์   ลงนามแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกทอดหนึ่ง”

 

     (  “ ขณะนี้ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบนางสาวสุภา   แต่ที่ผ่านมานางสาวสุภาได้เดินทางไปให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของวุฒิสภา และถูกนักข่าวสัมภาษณ์ออกไปปรากฏเป็นข่าวจำนวนมาก   ซึ่งนางสาวสุภาก็ได้ชี้แจงกับปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมเพื่อนร่วมงานว่าไม่ได้พูดอย่างที่เป็นข่าว ดังนั้น ทางกระทรวงการคลังจำเป็นต้องช่วยตรวจสอบเปรียบเทียบคำกล่าวของนางสาวสุภาและสิ่งที่ปรากฎออกเป็นข่าว ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ เพื่อจะสามารถยืนยันไปว่านางสาวสุภาไม่ได้ไปกล่าวให้ใครกระทบกระเทือน



      ด้วยเหตุนี้ ตอนนี้นางสาวสุภาจึงไม่ใช่ผู้ที่ถูกสอบ   ถ้ามองอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นผู้เสียหายด้วยซ้ำ ตนยืนยันได้ว่าจะไม่มีใครถูกย้ายออกด้วยการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการอย่างถูกต้อง หากมีกรรมการสอบจะช่วยทำให้เห็นได้ว่าที่นางสาวสุภาปฏิบัติไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใด ๆ ก็จะต้องมีเหตุผลที่ดี และอธิบายได้”    :   กิตติรัตน์ ณ  ระนอง   อดีตรมว.คลัง   10 กรกฎาคม 2556 )

 

     ขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบย้อนกลับไปพบว่าบทบาทของน.ส.สุภา  ในแง่ของการทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริต  ไม่ได้มีพฤติกรรมเป็นคู่ขัดแย้งกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ  ตามข้อกล่าวหาของน.ส.ยิ่งลักษณ์   เพราะ ในช่วงปลายปี 2555   มีข้อมูลว่า   น.ส. สุภา  ปิยะจิตติในฐานะรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง    ซึ่งดูแลระเบียบการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชัน)  มีความเห็นว่าการประมูลใบอนุญาต 3G  ไม่ทำตามระเบียบอี-ออคชัน  แล้วยังเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าอีกด้วย    จึงทำหนังสือทักท้วงไปถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)   ขณะเดียวกัน  น.ส.สุภา    ยังนำเอกสารไปร้องสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้เข้ามาตรวจสอบ และยังมีการนำประเด็นนี้ไปร้องต่อศาลปกครองอีกด้วย    

 

     ประเด็นสำคัญคือการประมูล 3G   ที่น.ส.สุภาร้องเรียนตรวจสอบ   ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ  เพื่อร่วมรุ่นวตท.8 ทั้ง  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์  เลขาธิการกสทช., , นายวิเชียร เมฆตระการ จากค่ายเอสไอเอส และ  นาย  ขจร เจียรวนนท์  ผู้บริหารทรู คอร์ปอเรชั่น     เป็นต้น

 

ลากไส้ประเด็นร้อน!!  "ยิ่งลักษณ์"  จัดฉาก "สุภา" เป็นคู่ขัดแย้ง  จริงๆแล้วใครกันแน่ผูกใจเจ็บ เพราะโดนแฉทำจำนำข้าวเสียหายหนัก??

      อย่างไรก็ตามในช่วงสุดท้าย  น.ส.สุภา ก็ไม่สามารถรอดพ้นผลกระทบจากการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เพราะในช่วงเดือนมิ.ย. 2556   มีรายงานข่าวว่า  น.ส.สุภา  ในฐานะรองปลัดกระทรวงการคลัง   ซึ่งถูกกำหนดจากฝ่ายการเมืองให้ลงนามสัญญาเงินกู้ 40,000  ล้านบาท  ตามโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท แล้วไม่ปฏิบัติตามเนื่องจากเห็นว่า   ไม่มีรายละเอียดโครงการและผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี   รวมถึงมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนอีกหลายจุด เช่น โครงการลงทุนตาม พ.ร.ก. ฉบับนี้ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของราคากลางก่อนที่จะเปิดประมูลโครงการตามกฏหมาย ป.ป.ช. นอกจากนี้ ทุกโครงการยังไม่ได้จัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

     ส่งผลทำให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของ  น.ส.สุภา    ในฐานะรองปลัดกระทรวงการคลัง ไปดูแลงานประชาสัมพันธ์ และย้ายนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ มาทำหน้าที่รองปลัดฯ คุมงานด้านรายจ่ายและหนี้สินแทน  โดยต่อมานายพงษ์ภาณุก็คือผู้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับ 4 แบงก์ใหญ่  เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 เพื่อทำให้ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท มีผลผูกพันก่อน พ.ร.ก. เงินกู้ฯ จะหมดอายุ ???