น้อยหรือมากไป !!! 3.5 หมื่นล้านบาท "ยิ่งลักษณ์"  ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าว ...เจ้าตัวน้ำตาคลอ ต้องกอบกู้ความเป็นธรรมครั้งนี้

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสาระสำคัญของคำสั่งดังกล่าว เป็นการชี้แจงข้อกล่าวหาและความเสียหายที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวที่คณะกรรมการพิจารณาความผิดทางละเมิดมีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องชดใช้ความเสียหายที่

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสาระสำคัญของคำสั่งดังกล่าว เป็นการชี้แจงข้อกล่าวหาและความเสียหายที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวที่คณะกรรมการพิจารณาความผิดทางละเมิดมีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์  ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่กระทรวงการคลังเป็นเงิน 35,717,273,028 ล้านบาท ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าว กระทรวงการคลังจะดำเนินมาตรการทางปกครองตามมาตรา 57 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองพ.ศ.2539 ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากอดีตนายกฯไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง ดังกล่าวสามารถร้องต่อศาลปกครอง ได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันรับคำสั่ง ดังกล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ มาศาลเพื่อร่วมฟังการไต่สวนพยานจำเลยนัดที่ 5 คดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกฯ เป็นจำเลย ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ กรณีไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว โดยตอบคำถามกรณีกระทรวงการคลังออกคำสั่งทางปกครองเรียกเก็บค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวจาก เป็นเงินกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท     น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่าก็ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมต่อดิฉันเป็นอย่างมาก เพราะก็ทราบกันว่าเป็นเรื่องของนโยบาย และก็ไม่เคยมีใครถูกกระทำอย่างนี้มาก่อนในเวลาอันเร่งรีบเช่นนี้     “ ดิฉันเองขอยืนยันว่า จะใช้สิทธิ์ ทุกช่องทางของกฎหมายที่มี ในการที่จะกอบกู้ความเป็นธรรมครั้งนี้ โดยดิฉันขอปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ และกระบวนการที่ใช้คำสั่งเพราะถือว่าไม่ถูกต้องเป็นธรรม ซึ่งดิฉันจะเปิดแถลงการณ์ในเวลาอันควร เพราะเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศโศกเศร้า จึงไม่ขอพูดอะไรมากกว่านี้ ”    

 

เมื่อถามว่าในการออกคำสั่งดังกล่าวมีกรอบเวลาตามกฏหมายที่จะคัดค้านได้ว่าต้องยื่นภายในกี่วันน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่าก็ต้องทำตามข้อกฏหมายซึ่งดิฉันเองจะทำตามข้อกฏหมายทุกช่องทางเมื่อถามว่ามองอย่างไร ที่มีการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 มาดำเนินการเรื่องนี้

 

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยืนยันกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นก็ไม่เป็นธรรมอยู่แล้ว ซึ่งดิฉันก็ได้ร้องขอความเป็นธรรมอยู่แล้ว แต่วันนี้ยังไม่ขอพูดในรายละเอียด     “ ก็เรียนว่า ใครเป็นอย่างดิฉัน ก็คงรู้ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมแค่ไหน ” นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวและว่า ประเด็นที่ยังเป็นห่วง คืออะไรที่เป็นเรื่องของนโยบายแล้วมาถูกทำแบบนี้ อนาคตก็อาจทำให้รัฐบาลดูแลนโยบายที่จะทำเพื่อประชาชนและชาวนายากขึ้น เพราะมาตรการต่างๆไม่สามารถทำได้ 

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาบนพื้นฐานของข้อมูล และกฎระเบียบก็จะพบว่า ขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปโดยชอบธรรมแล้วหรือไม่

ตัวเลขที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องชดใช้ค่าเสียหาย 3.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 จาก วงเงินรวม 1.78 แสนล้าน โดยระบุว่าเป็นความผิดเฉพาะ 2 ฤดูกาล หลังสุดคือฤดูกาล 2555/2556 และ 2256/2557 เท่านั้น

 

แม้ว่าหากนับรวมทั้ง 4 ฤดูกาลผลิตจริงๆแล้ว ความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ก็ตามเนื่องจากคณะกรรมการมองว่าช่วง 2 ปีแรกนั้นอาจจะไม่เข้าข่ายการปล่อยปะละเลย

 

เพราะฉะนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนเราก็จะได้ไป ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหาย ว่าแท้ที่จริงไม่ได้มีคำว่ามากหรือน้อยไป เพราะทุกขั้นตอนล้วนเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ถูกบังคับใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐมาแล้วหลายคดี

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

พ.ศ. 2539 มาตรา 8  ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้

ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย

ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

ความหมายก็คือ ถ้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สมมุติมีผู้รับผิด 10 คน 9 คนไม่มีจ่าย คนที่ 1 ที่มีจ่ายต้องจ่ายทั้งหมดแล้วค่อยไปเก็บจากคนที่เหลือเอาเอง หมายถึงการรับผิดแทนได้ทั้งหมด แต่ถ้ากฎหมายบัญญัติว่า ไม่รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็คือ ส่วนของใครก็ของมันจะให้คนอื่นมารับหนี้แทนไม่ได้ กรณีนี้ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) คือน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ต้องรับผิดเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงที่รับผิดชอบต้องไปหาบุคคลที่จะมารับผิดร่วมเอง