รัสเซีย สนับสนุน "อัสซาด"  ส่วน "สหรัฐ" มีเป้าหมายไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย แต่ต้องการยึดครองซีเรีย

รัสเซียและสหรัฐฯ ได้ร่วมกันสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลซีเรียกับฝ่ายกบฏ ทว่าการสู้รบที่ไม่หยุดหย่อนส่งผลให้การเจรจาต้องหยุดชะงักไป

       จุดยืนของรัสเซียอาจเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลซีเรียกับฝ่ายกบฏที่ยังชะงักงันอยู่ รวมถึงบั่นทอนความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ซึ่งต้องการเห็นประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด พ้นอำนาจโดยเร็ว.

       “รัสเซียจะไม่ยอมตีจากประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด โดยเด็ดขาด เว้นแต่จะมีปัจจัยส่งเสริม 2 ประการ” เซอร์ โทนี เบรนตัน อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำรัสเซีย เคยบอกไว้กับรอยเตอร์

       “ประการแรก รัสเซียต้องการความมั่นใจว่าประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาดจะไม่ถูกแทนที่ด้วยผู้นำสายอิสลามิสต์ และประการที่ 2 รัสเซียต้องการการรับรองว่าสถานะของพวกเขาในซีเรีย ความเป็นพันธมิตร รวมถึงฐานทัพรัสเซียซึ่งตั้งอยู่ที่นั่นจะยังคงเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน”

          รัสเซียและสหรัฐฯ ได้ร่วมกันสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลซีเรียกับฝ่ายกบฏ ทว่าการสู้รบที่ไม่หยุดหย่อนส่งผลให้การเจรจาต้องหยุดชะงักไป ทั้งยังไม่มีการพูดคุยอย่างจริงจังว่า การสละอำนาจของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด จะเป็นหนึ่งใน “เงื่อนไขบังคับ” ด้วยหรือไม่

       

           รัสเซีย สนับสนุน "อัสซาด"  ส่วน "สหรัฐ" มีเป้าหมายไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย แต่ต้องการยึดครองซีเรีย

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก็เคยเสนอให้แกนนำฝ่ายกบฏได้รับโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในโครงสร้างบริหารของรัฐบาลซีเรียท่าทีผ่อนปรนเช่นนี้ทำให้ชาติตะวันตกมีหวังว่ารัสเซียอาจยื่นมือเข้ามาช่วยกล่อม ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ให้ยอมสละอำนาจ       

       อย่างไรก็ตาม จุดยืนของรัสเซียในขณะนี้ คือ “รอดูสถานการณ์” ไปเรื่อยๆ รวมถึงจับตาว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ส่วนบุคคลที่เหมาะจะขึ้นมาแทนที่ ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ในซีเรียนั้นก็คงต้องใช้เวลาเฟ้นหาอีกนานพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กำลังคอยจังหวะและโอกาส ที่จะเดินเกมต่อไปในซีเรีย ถึงเวลานั้นต้องดูกันว่า เกมของรัสเซีย จะออกมาอย่างไร

รัสเซีย สนับสนุน "อัสซาด"  ส่วน "สหรัฐ" มีเป้าหมายไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย แต่ต้องการยึดครองซีเรีย

การแบ่งแยกที่เกิดขึ้นในบรรดากลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลในประเทศซีเรีย นั้นได้รับการสนับสนุนทั้งจากชาติตะวันตกและชาติอาหรับ เป็นอุปสรรคหนึ่งในการยุติปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีทางการทูต   สงครามกลางเมืองซีเรียระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน ปะทุขึ้นเมื่อปี 2554 จากการประท้วงต่อต้านการกุมอำนาจปกครองประเทศของตระกูลอัสซาด ที่สืบต่อเนื่องมาร่วม 4 ทศวรรษ

จะเห็นได้ว่าถึงวันนี้ การที่สหรัฐนั้นเข้าไปในซีเรีย จุดมุ่งหมายหลังไม่ใช่การเข้าไปเพื่อขจัดกลุ่มก่อการร้าย แต่เป็นการเข้าไปเพื่อขจัดอำนาจของ ประธานาธิบดีบาซาร์ อัล-อัสซาด  ที่ไม่ยอมอ่อนข้อลงให้กับสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้ไม่ต่างอะไรกับกรณีที่สหรัฐอเมริกานั้นเข้าไปจัดการกับประธานาธิบดี ซัดดัม อุสเซน ของอิรัก เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว จนกระทั่งถึงวันนี้ สหรัฐยังไม่สามารถให้คำตอบสังคมโลกได้ว่า สิ่งที่ได้กระทำลงไปนั้นมันถูกต้องหรือไม่ แต่วันนี้สหรัฐ ก็ยังใช้เหตุผลแบบเดิม ในการปฎิบัติการกับซีเรีย  และ หากดำเนินการได้  ซีเรียจะไม่ใช่ประเทศสุดท้ายที่สหรัฐจะดำเนินการ

รัสเซีย สนับสนุน "อัสซาด"  ส่วน "สหรัฐ" มีเป้าหมายไม่ใช่กลุ่มก่อการร้าย แต่ต้องการยึดครองซีเรีย

 

 

บทความโดย สถาพร เกื้อสกุล
ขอบคุณภาพจาก : BBC.COM , foxtrotalpha.jalopnik.com , globalresearch.ca , young-diplomats.com