ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ "ธงมหาราช" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ "ธงมหาราช" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล (ชมคลิป)

วันที่ 2 ธันวาคม เหตุการณ์สำคัญที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ในการเชิญธงมหาราชขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เวลา 08.00 น. หลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ขึ้นทรงราชย์

โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธงเยาวราช ซึ่งเป็นเครื่องหมายในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พร้อมทั้งเชิญ ธงมหาราช ซึ่งเป็นธงพระอิสริยยศประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ขึ้นสู่ยอดเสาแทน ในเวลา 08.00 น. หลัง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงตอบรับการขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบราชสันตติวงศ์

เชิญธงเยาวราช ลงจากยอดเสา

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

 

เชิญธงมหาราช ขึ้นสู่ยอดเสา

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล

 

 

ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์!!! เชิญ \"ธงมหาราช\" ขึ้นสู่ยอดเสา พระที่นั่งอัมพรสถาน เหตุการณ์สำคัญหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรัชกาล
 

ธงมหาราชเป็นธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ชักขึ้น ณ ที่ใด เป็นเครื่องหมายแสดงว่าองค์พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น แต่ว่าธงมหาราชนี้ในชั้นเดิมหาได้มีรูปแบบอย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ และก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ จะใช้ธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์หรือไม่ หรือใช้จะมีรูปเป็นอย่างไร ก็ไม่ปรากฏ เพิ่งปรากฏแน่ชัดเพียงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เท่านั้น ว่า “ให้ทำธงสำหรับพระองค์ขึ้น พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางเป็นรูปมหาพิชัยมงกุฎและเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้าง สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่ง เป็นที่หมายว่าได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าให้ชักขึ้นบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย แต่ถ้าไม่ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ก็ลดธงนี้ลงเสีย เมื่อลดธงนี้ลงแล้ว เสาธงในพระบรมมหาราชวังก็ว่างเปล่าดูไม่สวยงาม จึงดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงไอยราพตขึ้นอีกธงหนึ่ง ใช้ชักแทนธงสำหรับพระองค์ เมื่อไม่ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศแก้ไขธงประจำพระองค์ใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระปิยมหาราชเมื่อ ร.ศ.๑๑๐ เรียกว่า “ธงบรมราชธวัชมหาสยามินทร์ เป็นพื้นนอกสีแดง ธงบรมราชธวัชมหาสยามินทร์พื้นในสีขาบเป็นรูปโล่ตราแผ่นดินมีจักรีไขว้กันอยู่บนโล่ห์มหาพิชัยมงกุฎสวมบนจักรี มีเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้าง ในโล่ห์ตราแผ่นดินนั้น ช่องบนเป็นรูปช้างไอราพตสามเศียร พื้นเหลือง บอกนามสยามเหนือ สยามใต้ สยามกลาง ช่องล่างข้างขวานั้น เป็นรูปช้างเผือกพื้นชมพู เป็นนามสัญญาแห่งมลาวประเทศ ช่องล่างข้างซ้ายนั้น เป็นรูปกริชคดและตรงสองอันไขว้กันพื้นแดง บอกสัญญานามลายูประเทศแลมีแท่นรองโล่แลเครื่องสูง ๔ ชั้นพื้นเหลือง รวมสัญญานามเครื่องหมายเหล่านี้ทั้งสิ้น จึงเป็นบรมราชธวัชมหาสยามินทร์ สำหรับพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสยามินทร์แต่พระองค์เดียว”

ต่อมาใน ร.ศ. ๑๑๘ ในรัชสมัยพระปิยะมหาราชนั่นเอง ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติธง อีกฉบับหนึ่ง เรียกธงประจำพระองค์ “ธงมหาราช” กำหนดลักษณะและขนาดดังนี้

“พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน พื้นในสีขาบ ขนาดกว้าง ๓ ส่วน ยาว ๔ ส่วน ที่ในพื้นที่ขาบนั้น กลางเป็นรูปโล่ ในโล่แบ่งเป็น ๓ ช่อง ช่องบนเป็นรูปช้างไอราพตอยู่บนพื้นเหลือง บอกนามสยามเหนือ สยามใต้ สยามกลาง ช่องล่างข้างขวาแห่งโล่ เป็นรูปช้างเผือกอยู่บนพื้นสีชมพู หันหน้าออกไปข้างเสา เป็นนามสัญญาแห่งลาวประเทศ ช่องล่างข้างซ้ายของโล่เป็นรูปกริชคดแลตรงสองอันไขว้กันบนพื้นสีแดง บอกนามสัญญามลายูประเทศ เบื้องบนแห่งโล่นั้น มีจักรีไขว้กัน แลมีมหาพิชัยมงกุฎสวมอยู่บนจักรี แลมีเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้างโล่ มีแท่นรองโล่แลเครื่องสูงด้วย รวมครบเครื่องหมายเหล่านี้ทั้งสิ้น จึงเป็นธงมหาราช สำหรับพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นอกจากนี้ก็บอกวิธีการใช้ไว้เหมือนฉบับ ร.ศ.๑๑๐


ธงมหาราชน้อย ตอนต้นมีลักษณะและสัณฐานเหมือนธงมหาราชใหญ่กว้างไม่เกิน ๖๐ ซ.ม. และมีชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งชายธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้สำหรับชักขึ้นบนที่เสาใหญ่ในเรือพระที่นั่ง เช่น ธงมหาราชใหญ่ ผิดกันแต่เพียงว่า ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้ชักธงมหาราชน้อย ห้ามยิงสลุตถวายคำนับ

นอกจากนี้ ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้ยังได้กำหนดธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีอีก ๒ ธง คือ

ธงราชินีใหญ่ พื้นสีเหลืองขนาดกว้าง ๑๐ ส่วน ยาว ๑๕ ส่วน ชายตัดเป็นแฉกอย่างรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๔ แห่งด้านยาว ศูนย์กลางมีรูปครุฑพ่าห์สีแดงเหมือนกันกับธงมหาราช เป็นธงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินี

ธงราชินีน้อย มีลักษณะและสัณฐานเหมือนธงมหาราชน้อย ต่างกันแต่สีชายธงเป็นสีแดง ใช้แทนธงราชินีใหญ่ แต่เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ชักธงนี้ขึ้นในเรือพระที่นั่ง มิให้มีการยิงสลุตคำนับ

นี่เป็นเรื่องราววิวัฒนาการของธงมหาราช นำมาเผยแพร่เพื่อประดับความไม่รู้ให้รู้ขึ้นเท่านั้น

 

ประวัติธง : วิชาภรณ์  แสงมณี

ภาพประกอบจาก เช้าข่าวชัด โซเชียล

เรียบเรียง ภัทราพร สำนักข่าวทีนิวส์