"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

“พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้” สมดังคำโบราณว่า “เลือดศิลปิน” หล่นไม่ไกลต้น

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

จากหนังสือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร วันที่ 28 ธ.ค.2515 มีบทความของผู้ถวายงานใกล้ชิดและที่ปรึกษามูลนิธิมหาวชิราลงกรณ  นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ เผยความประทับใจที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๑๐  ส่วนหนึ่งเอาไว้ให้สื่อมวลชนได้รับรู้ในอีกหนึ่งมิติความเป็นองค์รัชทายาท(ยศในขณะนั้นคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร)พระองค์นี้ว่า พระองค์ทรงมีความเป็น “ศิลปิน” อยู่ในสายพระโลหิตในระดับที่พสกนิกรหลายต่อหลายคนอาจคาดไม่ถึง

        “พระองค์ทรงขับร้องเพลงได้ดีมาก เพราะผมเคยได้ยินด้วยตัวเอง ตอนสมัยจัดงานส่วนพระองค์ภายในวัง พระองค์ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี สมกับเป็นพระหน่อเนื้อเชื้อไข ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้”     

       แต่ด้วยพระองค์ไม่ทรงนิยมแสดงออกต่อหน้าสาธารณะ ถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีให้ประชาชนชาวไทยได้เห็นบ่อยครั้งมากนัก ส่วนใหญ่จะทรงขับร้องหรือแสดงดนตรีเพียงในงานส่วนพระองค์ หรือภายในพระบรมมหาราชวังเป็นหลักเท่านั้น จึงส่งให้ภาพของพระองค์เมื่อทรงดนตรี ยังคงเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากยิ่งมาจนถึงวันนี้   หรือถ้าจะมีให้ได้เห็นก็เพียงเล็กน้อย จากพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งฉายร่วมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และจากถ้อยคำบอกเล่าเรื่องราวประทับใจผ่านม่านตาคนในรั้วในวัง

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

       เช่นเดียวกับอีกหนึ่งเรื่องเล่าเคล้ารอยยิ้มที่ ศ.เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล เคยช่วยเขียนหนังสือย้อนรอยฝากเอาไว้ให้อ่าน  “มีครั้งหนึ่ง ในหลวงรัชกาลที่๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จเลี้ยงต้อนรับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๑๐ เมื่อครั้ง เสด็จกลับจากการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย วันนั้น ตรงกับวันดนตรีไทยอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงซออู้, ครูยรรยง สีซอด้วง เป็นวงมโหรีที่ไม่เรียบร้อยนัก เรียกว่าใช้แก้ขัด เสวยเสร็จราวสามทุ่ม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็มีพระราชประสงค์ทรงฟังเพลง “ลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นเพลงที่ทรงโปรดมาก

        รับสั่งกับพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่๑๐ ว่า “...ชายร้องเพลงดาวดวงเดือนให้แม่ฟังหน่อย ร้องแบบที่แม่ชอบนะ แม่น้อย (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) บรรเลงเพลงเข้า แล้วให้น้องเล็ก (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ฟ้อนด้วยนะ…”

        สิ้นพระสุรเสียงพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ เสียงร้องอันมีเอกลักษณ์ ซึ่งขับกล่อมผ่านท่วงทำนองภายในใจของพระเจ้าอยู่หัวรัชก่าลที่๑๐ ก็บรรเลงขึ้นทันใด

   “...โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง โอ้ว่าดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย...”

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๑๐ ทรงขับร้องสนองพระราชประสงค์อย่างเต็มที่ ถึงแม้จะไม่ทรงสันทัดในเพลงนั้นเท่าใดนักพร้อม  “รับสั่งเบาๆ ว่า คอยบอกเนื้อร้องด้วย จำได้ไม่หมด เนื้อยาวตั้งหลายท่อน แล้วทรงร้องสองเที่ยวกลับ ตามแบบของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ขนานแท้”

        ถ้าจะให้พูดถึงเพลงที่ทรงจดจำเนื้อร้องได้อย่างแม่นยำและทรงโปรดมากเป็นพิเศษ ต้องยกให้เพลง “คำหอม” ฉบับสุนทราภรณ์ ซึ่งพระองค์ทรงนิยมขับร้องในยามว่างอยู่บ่อยครั้ง ทั้งยังทรงเคยร้องบทเพลงเดียวกันนี้ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกด้วย

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

        "พระองค์สนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงโปรดปรานการเป่าแซกโซโฟนมากเป็นพิเศษ พร้อมยังเคยทรงดนตรีร่วมกับในหลวงอยู่บ่อยครั้ง”

      นพ.ธำรงรัตน์ ผู้ถวายงานใกล้ชิดพระองค์ท่าน ยังคงมีความสุขในการบอกเล่าช่วงเวลาประวัติศาสตร์ในชีวิตไปเรื่อยๆ หวังให้พสกนิกรบนผืนแผ่นดินนี้ได้ตระหนักถึงเหตุผลเบื้องหลังว่า เหตุใดสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ไว้ในพระราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เมื่อปี 2525 เหตุเพราะพระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยรักในท่วงทำนองอย่างแรงกล้านั่นเอง

       “นอกจากทรงโปรดปราน การเป่าแซกโซโฟนแล้ว พระองค์ยังทรงโปรดขับร้องเพลงด้วย ทรงโปรดเพลงไทย และเพลงป็อปเป็นพิเศษ ถ้าเป็นเพลงสากล ทรงโปรดในสไตล์ป็อปเบาๆ ผสมคลาสสิกนิดหน่อย เช่น เพลงฝรั่งอย่าง Spanish Eyes, เพลงหวานอมตะ อย่าง La Vie En Rose หรือเพลง Moulin Rouge รวมไปถึงเพลงโรแมนติกคลาสสิกอื่นๆ แต่เพลงลูกทุ่ง ผมยังไม่เคยได้ยินทรงสดับ"

 ข้อมูลจาก : หนังสือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร กรมศิลปากรจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร วันที่ 28 ธ.ค.2515 และเครือข่ายกาญจนาภิเษก

"พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ทรงได้สืบทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ตามรอยพระยุคลบาทพระราชบิดาโดยแท้" สมดังคำโบราณว่า "เลือดศิลปิน" หล่นไม่ไกลต้น

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์