เอเชียจะดีขึ้น!! "ญี่ปุ่น - จีน - เกาหลีใต้" เล็งจัดประชุมสุดยอด 3 ฝ่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในภูมิภาค

เกาหลีใต้แสดงความกระตือรือร้น ที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่ญี่ปุ่นเสนอ ขณะที่จีนยังไม่แสดงจุดยืนชัดเจน และเป็นไปได้ว่าจะไม่ประกาศการตัดสินใจ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน รายงานข่าว เรื่องราวของประเด็นความเห็นต่างในปัญหาเกาหลีเหนือ และประเด็นประวัติศาสตร์ ส่งผลกระทบมายาวนาน ต่อความสัมพันธ์ ระหว่าง 3 ชาติมหาอำนาจเอเชีย แม้ว่าจะมีการประชุม 3 ฝ่ายหลายครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยครั้งล่าสุดที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ในปี 2558


 เกาหลีใต้แสดงความกระตือรือร้น ที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่ญี่ปุ่นเสนอ ขณะที่จีนยังไม่แสดงจุดยืนชัดเจน และเป็นไปได้ว่าจะไม่ประกาศการตัดสินใจ ก่อนที่นโยบายเอเชียของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จะมีความชัดเจนมากกว่านี้    หากการประชุมสุดยอดไตรภาคีตามข้อเสนอเดินหน้า คาดว่านายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีน และนายกรัฐมนตรีฮวาง เคียว-อาห์น ของเกาหลีใต้ ในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีปาร์ค กึน-เฮ ที่เพิ่งถูกรัฐสภาลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อเร็วๆ นี้ จะพบปะกันประมาณวันที่ 10 ก.พ.


    ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า ทั้ง 2 ประเทศจะกำหนดมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวครั้งใหม่ต่อเกาหลีเหนือ เพื่อเป็นการลงโทษต่อโครงการนิวเคลียร์และโครงการขีปนาวุธ แต่จีนแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการดังกล่าว นอกจากนั้น จีนยังคัดค้านการตัดสินใจของเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ในการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธทาด ในเกาหลีใต้ เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ


    จีนและเกาหลีใต้ต่างก็โกรธเคือง ต่อการตัดสินใจเมื่อวันพฤหัสบดี ของ รมว.กลาโหมของญี่ปุ่น ในการเดินทางไปสักการะศาลเจ้ายาสุคูนิในกรุงโตเกียว ที่ทั้ง 2 ประเทศมองว่าเป็นสัญลักษณ์ทางทหารของญี่ปุ่น และเป็นสิ่งเตือนใจถึงความโหดร้ายของทหารกองทัพญี่ปุ่น ในช่วงสงครามในอดีต
    เดิมทีญี่ปุ่นตั้งใจจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดไตรภาคีในปีนี้ แต่ตัดสินใจเลื่อนแผนการ เนื่องจากเกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองในเกาหลีใต้ โดยญี่ปุ่นเสนอให้จัดประชุมที่กรุงโซล ในกลางเดือน ธ.ค. หลังจากผู้นำเกาหลีใต้ ถูกรัฐสภาลงมติถอดถอน

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเกาหลีใต้และจีนต่างมีปฏิกริยาต่อการเดินทางเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมองว่า ญี่ปุ่นควรที่จะประนีประนอมกับประเทศในแถบเอเชียมากกว่านี้ โดยเฉพาะประเทศที่ตกเป็นเหยื่อจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเอเชีย

เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า ญี่ปุ่นควรจะใช้ความพยายามมากกว่านี้ในการประนีประนอมและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตกเป็นเหยื่อของลัทธิทางทหารในอดีต โดยดำเนินการบนพื้นฐานของการรับรู้ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

 

 

 

เจ้าหน้าที่รายนี้เลี่ยงที่จะการแสดงความเห็นได้เกี่ยวกับการกล่าวสุนทรพจน์ของนายอาเบะ และบอกแต่เพียงว่า ผู้นำของญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะไม่ก่อสงครามขึ้นอีก และพูดถึงญี่ปุ่นว่าเป็นประเทศที่รักสันติภาพ

ในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ได้เจรจากับประธานาธิบดีบารัก โอบามา นายอาเบะได้แสดงความเสียใจกับเหล่าผู้เสียชีวิตจากเหตุโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ และยังกล่าวด้วยว่า สหรัฐฯ เรียกร้องให้ทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของการอดกลั้นและอำนาจแห่งการปรองดอง

นายชินโซ อาเบะ ได้นำนำพวงหรีดไปวางที่อนุสรณ์สถานเรือ ยูเอสเอส แอริโซนา และยืนสงบนิ่งเพื่อรำลึกถึงชาวอเมริกัน 2,400 คนที่เสียชีวิตจากการโจมตีแบบสายฟ้าแลบของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ปี 1941
       
       การเยือนอ่าวเพิร์ลของ ผู้นำญี่ปุ่น ครั้งนี้ถือเป็นการแสดงความสำนึกผิดจากผู้นำสูงสุดของญี่ปุ่น ซึ่งยังถือว่าประวัติศาสตร์ยุคสงครามเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

 

75 ปีจากวันที่ฝูงเครื่องบินขับไล่ กามิกาเซ่  ของญี่ปุ่นได้ เข้าถล่มอ่าวเพิร์ล และดึงสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่นได้กล่าวแสดงความเสียใจอย่างจริงใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

การพบกันระหว่างผู้นำทั้งสองมีขึ้นในขณะที่ บารัค โอบามา จะพ้นจากตำแหน่งในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า ส่วน ทางด้านนายชินโซ อาเบะ เองก็ต้องเตรียมตัวเผชิญกับอนาคตที่คลุมเครือ หลังจาก นายโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ  เพราะทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ เคยเรียกร้องให้ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อรับมือภัยคุกคามในภูมิภาค แทนที่จะหวังพึ่งการคุ้มกันจากสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว
       
      การเยือนอ่าวเพิร์ลของ ผู้นำญี่ปุ่น ครั้งนี้ถือเป็นการแสดงความสำนึกผิดจากผู้นำสูงสุดของญี่ปุ่น ซึ่งยังถือว่าประวัติศาสตร์ยุคสงครามเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
       

       “เราต้องไม่ปล่อยให้ความโหดร้ายป่าเถื่อนของสงครามเกิดขึ้นซ้ำอีก สิ่งที่ผูกพันเราไว้ด้วยกันในวันนี้ก็คือพลังแห่งการปรองดอง ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความอดทนอดกลั้น” 
       
       ส่วนทางด้านประธานาธิบดี โอบามา ซึ่งเป็นผู้นำสหรัฐฯ ในตำแหน่งคนแรกที่ไปเยือนเมืองฮิโรชิมาเมื่อเดือน พ.ค. ก็ได้เอ่ยถึงประวัติศาสตร์และสถานการณ์การเมืองของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
       

       “ผมขอต้อนรับท่านด้วยไมตรีจิต และหวังว่าเราทั้งสองจะสามารถส่งสาส์นไปยังทั่วโลกว่า ในสันติภาพนั้นมีชัยชนะมากกว่าสงคราม การปรองดองย่อมมีรางวัลมากกว่าการแก้แค้น แม้ในเวลาที่เราเคียดแค้นชิงชังที่สุด แม้ในเวลาที่ลัทธิป่าเถื่อนกำลังมีอิทธิพลที่สุด แต่เราก็ต้องหักห้ามใจตนเอง ต้องหลีกเลี่ยงการตราหน้าผู้ที่คิดต่างจากเราว่าเป็นฝ่ายชั่วร้าย”

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์