สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอนหนึ่งในงานวันครูแห่งชาติ ครั้งที่ 61 พ.ศ.2560 ว่า ครูต้องสอนให้เด็กอ่านหนังสือเยอะๆ หนังสืออะไรก็ได้ จะได้รู้ทุกเรื่องคุยกับคนอื่นได้ และจะได้ตอบโต้กับคนอื่นได้ วันนี้ทำไมสังคมถึงชอบโซเชียลมีเดีย เพราะโซเชียลมีเดียมันตอบโต้ได้ ไม่ชอบเขียนหนังสือ เพราะหนังสือพอเขียนอะไรมา ก็ด่าคนเขียนไม่ได้ มันผิดกฎหมาย แต่โซเชียลมีเดียจับยาก ซึ่งทุกวันนี้ผมก็เปิดโอกาสให้อยู่แล้ว ไม่เคยไปปิดกั้นถ้าท่านไม่ไปละเมิดอะไร หรือไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ผมก็ไม่เคยไปทำอะไร จะด่าผมก็ด่าไป หยาบคายเยอะแยะ บางคนก็ว่าลุงตู่เผด็จการ ผมไม่สนใจอยู่แล้ว เพราะผมเอาประเทศชาติมาก่อน ผมไม่ได้มองที่ตัวเอง ผมไม่คิดถึงได้ประโยชน์ตัวเอง ถ้ามายืนตรงนี้ก็ต้องคิดแบบนี้ ถ้าคิดดีทำอะไรก็สำเร็จทุกอย่างต้องช่วยกันคิด

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ไม่ใช่ 3 ปอ 3 แปะ อะไร ซึ่งเราต้องทำทั้ง 3 อย่าง และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ดี โดยที่ประชาชนต้องรับรู้รับทราบ เพราะประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ขอความร่วมมือทุกคนอย่าใช้อารมณ์ ตนเข้ามาไม่ได้คิดทำลายพวกท่าน แต่ต้องการให้ทุกอย่างเข้าสู่ระเบียบ

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

ต่อมาในช่วงเย็น พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหมมีแนวคิดให้พรรคการเมืองมาลงสัตยาบันร่วมกันเพื่อความปรองดอง ว่าเรื่องปรองดองยังไม่ได้ทำ อยู่ระหว่างเริ่มตั้งคณะกรรมการ เรื่องนี้ได้ฟังมาจาก พล.อ.ประวิตร มีความคิดแบบนั้น ซึ่งก็โอเคหลังได้ฟังในขั้นต้น โดย พล.อ.ประวิตรมีแนวคิดเรียกพรรคการเมืองแต่ละพรรคมาคุยกัน ว่าอะไรที่จะร่วมมือกันได้บ้าง และอะไรที่จะไม่ทำอีก เช่น การทำให้เกิดปัญหาต่อประชาชนจะไม่ทำอีกได้หรือไม่

“เขาเรียกว่าเป็นสัจจะสัญญา แต่ไม่ใช่สัตยาบัน เป็นสัจจะวาจาทำนองนั้น คือพูดแล้วต้องไม่ลืม ต้องทำตามนั้น ก็ขึ้นอยู่กับทุกคนว่าต้องการให้ประเทศเดินหน้าหรือเปล่า แต่อย่าเอามาพันกัน ซึ่งมีหลายเรื่องหลายประเด็น ผมได้ให้แนวนโยบายไปว่าการปรองดองมีหลายมิติ และมีคดีความมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง คดีการเมือง แต่ละอย่างจะทำกันอย่างไร ระหว่างนี้ก็สร้างการรับรู้แก่สังคม ประชาชน ให้รู้ว่าเขาคิดกันมาแบบนี้ ไม่ใช่งุบงิบทำ มันทำไม่ได้” นายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่า วิสัยฝ่ายการเมืองมักจะมีเงื่อนไขต่อรอง นายกฯ กล่าวว่า ต้องไม่มีเงื่อนไข ขั้นแรกเท่าที่คุยกับ พล.อ.ประวิตรจะเรียกทุกพรรคมาคุย เสนอความคิดเห็นมาและบันทึกไว้ ซึ่งจะฟังทุกพรรคทุกคนที่พูด จากนั้นนำมารวบรวมดูว่าอันไหนควรนำมาปฏิบัติหรือนำมาทำ

ทั้งนี้ต้องดูฝ่ายกฎหมายด้วย ทั้งหมด ไม่ว่าจะทำด้วยกฎหมายหรืออะไรก็ตาม สังคมต้องยอมรับ บังคับกันไม่ได้อยู่แล้ว เข้าใจกันหรือไม่ เดี๋ยวบานปลายกันไปอีก

ผมไม่ได้ต้องการจะปรองดองกับคนโน้นคนนี้ ผมไม่ได้มองว่าเป็นใครคนไหน แต่มองประเทศชาติ ปัญหาทุกปัญหาของประเทศชาติจะต้องได้รับการแก้ไข นี่คือการปรองดอง อย่าไปมองเรื่องนิรโทษกรรม ลดโทษ ยังไม่ถึงตรงนั้น ฟังดูก่อนว่าเขาเดินหน้าไปอย่างไร เวลานี้มีคณะกรรมการหลายคณะ” นายกฯ กล่าว

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

ด้านนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการ ป.ย.ป.กล่าวถึงการเดินสายพูดคุยกับองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับการตั้ง ป.ย.ป.ว่า เมื่อช่วงเช้าได้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกฯ และ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ถึงการทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมการปฏิรูป โดยได้เสนอให้เพิ่มบทบาทของวิป 3 ฝ่าย คือ คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปท.จากเดิมที่มีเพียงตัวแทนมาคุยกันให้เพิ่มกรรมาธิการของ สนช.และ สปท.มาร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปและสร้างความปรองดองด้วย

“เป็นการแปลงวิป 3 ฝ่ายเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นคณะที่ 2 ของ ป.ย.ป. ขณะที่รายชื่อรองนายกฯ ที่จะมานั่งใน 4 คณะย่อยของ ป.ย.ป.นั้นยังไม่ชัดเจน คาดว่าในสัปดาห์นี้จะมีรายชื่อปรากฏออกมา โดยนอกจากรองนายกฯ แล้วจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน คนที่เมื่อพูดถึงการปฏิรูปปรองดองแล้วคนส่วนใหญ่จะนึกถึง” นายสุวิทย์กล่าว

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า ช่วงเช้าวันที่ 17 ม.ค.จะหารือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม เพื่อหารือถึงโครงสร้างคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นการหาแนวทางว่าการสร้างความปรองดองจะผนวกรวมการปฏิรูปอย่างไร โดยเฉพาะการขับเคลื่อนคณะกรรมการที่ พล.อ.ประวิตรรับผิดชอบดูแลกับอีก 3 คณะที่เหลือ และจะรายงานผลการหารือทั้งหมดต่อนายกฯ ในวันที่ 17 ม.ค.

นายสุวิทย์กล่าวถึงการจัดตั้งสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พีเอ็มดียู) ว่า คาดว่าต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 โดยวางโครงสร้างองค์กรให้ตั้งขึ้นง่าย ยุบง่าย 2 ปีต้องจบ หากรัฐบาลหน้าจะทำต่อก็ทำได้ โดยดึงคนที่มีความรู้ความสามารถจากภายนอกเข้ามาทำงาน และต้องคล่องตัว มีงบประมาณเป็นของตัวเอง เบื้องต้นจะเสนอให้ใช้ผู้ช่วยรัฐมนตรี ซึ่งยังเหลือโควตาที่ยังไม่แต่งตั้งให้เข้ามาทำงานปฏิรูประดับบัญชาการ 10 เรื่อง แบ่งเป็น 10 ทีม โดยสรรหาคนที่เก่งและดีมาทำงานตรงนี้ ไม่เกิน 10 คน จากนั้นจะตั้งคณะทำงานระดับรองลงมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยคณะทำงาน คณะทำงาน และใช้ระบบจัดจ้างพิเศษ

“บทบาทของพีเอ็มดียูคือ ตรวจสอบติดตามประเมินผลการทำงานของ ป.ย.ป. ที่สำคัญคือสามารถปลดล็อกปัญหาต่างๆ ได้โดยรายงานตรงต่อนายกฯ ซึ่งการทำงานจะไม่ล้ำเส้นบทบาทรองนายกฯ เป็นหน่วยงานที่ปิดทองหลังพระ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดผลแบบบูรณาการ” นายสุวิทย์กล่าว

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

และเมื่อวันที่ 16 มกราคม นายถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำ กปปส.กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า การสร้างความปรองดองนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การสร้างความปรองดองอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าจะทำให้บ้านเมืองสงบ เพราะหากระบบราชการยังคงมีปัญหาบ้านก็จะวุ่นวาย ดังนั้นขอฝากไปยังคณะกรรมการ ป.ย.ป.ว่า เหตุที่บ้านเมืองนั้นวุ่นวายไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่เกิดจากระบบบริหารราชการ ระบบบริหารบ้านเมืองปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต อาทิ การทุจริตในปี 2547-2548 นำไปสู่การชุมนุมทางการเมือง นำไปสู่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และฝ่ายที่ทุจริตก็ตั้งกลุ่มคนเสื้อแดงขึ้นมาเพื่อมาปะทะกับกลุ่มพันธมิตร เป็นเหตุให้ทหารกลัวว่าประชาชนจะบาดเจ็บ ล้มตาย จนกระทั่งนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 ดังนั้นจึงนับว่าความขัดแย้งนี้มีที่มาจากการทุจริต

“เหมือนว่าเราไปจับที่ปลายเหตุว่านี่คือความขัดแย้งทางการเมือง แต่ผมเชื่อว่าถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ก็จะไม่เกิดความแตกแยก เช่นเดียวกับการชุมนุมทางการเมืองของ กปปส.ก็เกิดจากการใช้อำนาจของฝ่ายการเมืองโดยมิชอบ มีการทุจริตอำนาจที่ประชาชนพึงไว้วางใจ เมื่อประชาชนไม่พอใจก็ออกไปเดินขบวนขับไล่ อีกฝ่ายก็ส่งกองกำลังติดอาวุธออกมาทำร้าย เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจอยู่ ณ วันนี้ ก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตอนนั้น ปล่อยให้มีการฆ่ากันจนนำไปสู่การเสียชีวิตเกือบ 30 ศพ พอถึงเวลาก็อ้างว่าจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายกันมากขึ้นก็ออกมาทำรัฐประหาร ดังนั้นนอกเหนือจากการตั้ง ป.ย.ป.ของรัฐบาล ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งแล้ว ก็ยังเห็นว่า ควรจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อแก้ไขสาเหตุของความขัดแย้งด้วย ซึ่งเห็นว่าสาเหตุก็คือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจทางการเมืองและที่เป็นใหญ่อยู่ในระบบราชการ ณ ขณะนี้ ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหานี้ด้วย บ้านเมืองถึงจะสงบได้” นายถาวรกล่าว

เมื่อถามว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีแนวคิดที่จะเชิญทุกฝ่ายเข้ามาพูดคุยเพื่อนำไปสู่การทำข้อตกลงเอ็มโอยู เพื่อยุติความขัดแย้ง นายถาวรกล่าวว่า ทาง กปปส.มีความยินดีและพร้อมที่จะไปพูดคุย

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

ส่วนทางด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาหาทางออกให้ประเทศร่วมกัน เพราะตราบใดที่ยังมีความขัดแย้ง และยังมองไม่เห็นอนาคตของประเทศ การลงทุนใหม่ก็เกิดขึ้นได้ยาก เศรษฐกิจ จะย่ำแย่ต่อไป การจะเริ่มขบวนการปรองดองจึงเป็นเรื่องที่ดี โดยมีปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จ ดังต่อไปนี้

1.ความจริงใจของผู้มีอำนาจ รวมทั้งผู้มีอำนาจต้องทำตัวเป็น กรรมการกลาง มิใช่ทำตัวเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง อย่างที่ทำมาตลอด 2 ปีกว่าของการปฏิบัติ

2.รับฟังทุกฝ่ายอย่างจริงใจ จริงจังด้วยความเสมอภาค มิใช่เป็นการเรียกคู่กรณีมาเพื่อทำให้ครบพิธีกรรมโดยไม่มีการรับฟังอย่างที่ผ่านมา

3.การดำเนินการสู่ความปรองดองต้องทำตามหลักนิติธรรมสากลกับทุกฝ่ายอย่างเที่ยงธรรม มิใช่เลือกปฏิบัติให้ฝ่ายหนึ่งได้แต่อีกฝ่ายไม่ได้

4.ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก โดยต่างคนต่างถอยหรือลดประโยชน์ส่วนตนออก

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ส่วนคำถามที่ว่า เห็นด้วยไหมที่ พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า “การปรองดองต้องไม่เริ่มต้นที่การนิรโทษกรรม” นั้น ตนเห็นด้วย เพราะเราต้องเริ่มขบวนการรับฟัง และร่วมคิดหาทางออกก่อนจึงจะไปถึงวิธีออกจากปัญหา นิรโทษกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการออกจากปัญหา แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด ก็ต้องเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ไม่ใช่ให้ฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่ให้อีกฝ่าย

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯและแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ขอให้กำลังใจ พล.อ.ประวิตรเดินหน้าสร้างความปรองดองให้สำเร็จ แต่จะต้องทำให้ครบทุกมิตินอกเหนือจากการสร้างความปรองดอง คือการสร้างความยุติธรรม การปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้มีมาตรฐานเดียว เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องสะสางและทำให้ภาพปรากฏ เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมารัฐบาลและ คสช.ทำตัวเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายการเมือง เช่น การระบุว่านักการเมืองเป็นพวกโกง เป็นต้น บางครั้งก็แยกไปยืนอยู่อีกฝ่าย ดังนั้น หากรัฐบาลอยากสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลต้องวางตัวอยู่ตรงกลาง และลงมือทำโดยปราศจากอคติ
 
"ขณะนี้คงต้องรอดูความชัดเจนก่อนว่า พล.อ.ประวิตรจะสร้างความปรองดองออกมาในรูปแบบไหน จะเชิญใครมาร่วมอยู่ในคณะกรรมการบ้าง ผมอยากให้เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหรือนักวิชาการที่มีความเป็นกลาง รวมทั้งประชาชนให้ความไว้วางใจเข้ามาร่วม ส่วนที่ พล.อ.ประวิตรระบุว่าจะไม่มีเรื่องของการนิรโทษกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ผมมองว่าเรื่องการนิรโทษกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผมพร้อมให้การสนับสนุน เพราะอยากให้เกิดขึ้นจริง แต่ไม่อยากให้ทำแพื่อให้พ้นภาระว่าได้ทำเรื่องนี้ไปแล้ว" นายสมชายกล่าว
 

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

ส่วนทางด้านของ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงรัฐบาลตั้งคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดองว่า คำนิยามปรองดองอาจจะยังเข้าใจไม่ตรงกัน หลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่าคือการนิรโทษกรรม นอกจากความหมายแล้วยังมีเรื่องผู้เข้าร่วมเรื่องของการปรองดอง จำเป็นจะต้องมีหลายฝ่ายเข้าร่วม ทั้งที่เป็นกรรมการ เป็นที่ปรึกษาพิจารณา ผู้ดำเนินการทำให้เกิดความปรองดอง รวมทั้งผู้ที่จะร่วมแสดงความคิดเห็น ควรให้ผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งได้คุยกัน แต่ว่าเฉพาะผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งคุยกันก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด และจำเป็นต้องให้ผู้ที่ขัดแย้งทั้งหลายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่ยังติดปัญหาอยู่คือ บางส่วนอาจรู้สึกไม่อยากเสียหน้าว่าเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง และบางส่วนโดยเฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบันอาจไม่เข้าใจเลยด้วยซ้ำว่าตนเองคือส่วนหนึ่งของความขัดแย้งโดยตรง

นายจาตุรนต์กล่าวว่า สำหรับการให้นักการเมืองมาลงเอ็มโอยู จริงๆ ความขัดแย้งในสังคมไทยในช่วงประมาณ 10 ปีนี้มาไม่ได้มีอยู่เฉพาะฝ่ายการเมือง แต่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยซับซ้อน และเกี่ยวพันกับหลายฝ่ายหลายองค์กร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เรื่องของความปรองดองสำเร็จได้ ไม่ล้มเหลวเหมือนในอดีต ลำดับแรกต้องให้หลายฝ่าย ทั้งผู้ที่อยู่ในความขัดแย้ง ทั้งผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาได้มีโอกาสพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาและเท่าเทียม ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน ผู้มีอำนาจต้องแสดงความจริงใจ และสนใจแก้ปัญหาความขัดแย้ง

เมื่อถามว่า มองว่าความปรองดองรวมไปถึงการแก้ไขเรื่องของกฎหมาย ความไม่เป็นธรรมในอดีตด้วยหรือไม่ นายจาตุรนต์กล่าวว่า อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ ความขัดแย้งในสังคมที่ผ่านมามีทั้งปัญหาความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม ระบบยุติธรรมที่เลือกปฏิบัติ และกฎกติกาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นที่ยอมรับ ความเห็นลักษณะที่ตนพูดอยู่นี้ หลายฝ่ายอาจจะเห็นแตกต่างกัน ถ้าจะทำให้เกิดความปรองดอง ไม่สามารถทำตามความเห็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ แต่ต้องเปิดโอกาสให้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่าแต่ละฝ่ายแต่ละคนมองปัญหาอย่างไร หลายฝ่ายอาจจะเห็นร่วมกันแล้วไปแก้ไข อีกหลายส่วนอาจไม่เห็นร่วมกัน อาจต้องมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญไม่อยู่ในความขัดแย้งมาช่วยสรุปหาทางแก้ปัญหา และผู้มีอำนาจนำข้อสรุปเหล่านั้นไปดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวถามว่า มองความจริงใจของรัฐบาลและ คสช.มากแค่ไหนในการสร้างความปรองดอง นายจาตุรนต์กล่าวว่า ยังไม่แน่ใจว่า คสช.และรัฐบาลมีความจริงใจแค่ไหน ต้องดูท่าทีในการแสดงความเห็นด้วย ถ้าพูดอะไรต่อไป หรือโยนความผิดไปให้ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ ก็อาจจะพังไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มแล้ว

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. กล่าวว่า การสร้างความปรองดองมีหลายขั้นตอนและต้องใช้เวลา จุดยืนของนปช.คือ พร้อมให้ความร่วมมือ และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการนี้ เพียงแต่มีข้อสังเกตุบางประการที่อยากให้ผู้มีอำนาจและประชาชนพิจารณาเพื่อประกอบความเข้าใจว่า ตัวแบบความปรองดองที่เกิดขึ้นในหลายประเทศและได้รับการยอมรับในระดับสากลเขาเดินกันอย่างไร ที่เอลซัลวาดอร์ อิทธิพลของสงครามเย็นทำให้กิดสงครามกลางเมืองต่อเนื่องกว่า 12 ปี ขณะที่กัวเตมาลามีการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้านราว 30 ปี เมื่อทุกฝ่ายเห็นว่าต้องปรองดองจึงให้สหประชาชาติเข้าดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการซึ่งมีชาวต่างประเทศอยู่ด้วยมาทำหน้าที่ ประเทศที่ไม่ถึงขั้นสงครามกลางเมือง เช่น ชิลี อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ แม้ไม่ใช้สหประชาชาติและไม่มีต่างชาติเข้าร่วมเป็นกรรมการ แต่มีกระบวนการสรรหาที่ส่วนต่างๆ ทั้งสภาผู้แทนฯ วุฒิสภา ภาคประชาสังคม คู่ขัดแย้ง เป็นต้น คัดเลือกและให้การรับรอง

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ไม่มีประเทศไหนสร้างความปรองดองสำเร็จโดยอำนาจของคู่กรณีในความขัดแย้ง ส่วนของไทยกำลังจะตั้งคณะกรรมการโดยอำนาจนายกฯ จึงต้องพิจารณาว่า คณะผู้มีอำนาจชุดนี้มีบทบาทเป็นคู่กรณีหรือเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งหรือไม่ ขณะที่การดำเนินการ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่ยอมรับร่วมกันได้ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าตัวอย่างที่ตนยกมาคือสูตรสำเร็จ หรือผิดจากนี้คือล้มเหลว สิ่งสำคัญคือ ความจริงใจในการทำเรื่องนี้ ถ้าเริ่มด้วยความจริงใจโดยเฉพาะจากฝ่ายผู้มีอำนาจ เชื่อว่าน่าจะให้ผลเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะดีกว่าย่ำอยู่ที่เดิมมาแล้วหลายปี และเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะประคับประคองให้เดินหน้าต่อไป

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

 

ทั้งนี้ยังมีกลุ่มนักการเมืองของพรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดี 112 อย่างเช่น

จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นคดีที่พนักงาน อัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณี จ.ส.ต.ประสิทธิ์ กล่าวปราศรัยบนเวทีกิจกรรม “หยุดล้มล้างประชาธิปไตย” ที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ซึ่งในชั้นตรวจพยานหลักฐาน จ.ส.ต.ประสิทธิ์ได้ให้การปฏิเสธ ก่อนยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลขอกลับคำให้การรับสารภาพผิดเพราะสำนึกในความผิดในเวลาต่อมา

ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ลงโทษจำคุก จ.ส.ต.ประสิทธิ์ 5 ปี แต่ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน และศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า ข้อความที่ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ปราศรัยเป็นเรื่องร้ายแรง จ.ส.ต.ประสิทธิ์เคยเป็น ส.ส.ถึง 2 สมัย ย่อมต้องรู้ผิดชอบ มีวิจารณญาณมากกว่าคนทั่วไป

และยังพบว่า จ.ส.ต.ประสิทธิ์เคยมีประวัติกระทำความผิดมาแล้ว แต่กลับมาทำผิดอีกในเรื่องที่ร้ายแรงขึ้นกว่าเดิม จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

หรือเมื่อวันที่ 15ธ.ค.59 เวลา 09:00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพ. นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก แกนนำกลุ่ม นปช. ได้ขอเลื่อนนัดฟัง ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีที่พนักงานอัยการคดีอาญา10 เป็นโจทก์ฟ้อง ในฐานความผิดปราศรัยบนเวทีหมิ่นประมาทสถาบันเบื้องสูง เมื่อปี53 ที่ ห้อง909  โดยทั้งนี้ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา (จำเลยได้รับการประกันตัว) โดยการขอเลื่อนนัดครั้งนี้ นายยศวริศ ได้อ้างว่าป่วยต้อง เข้า โรงพยาบาล และจะนำใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อศาลครั้งหน้า อย่างไรก็ตามศาลได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาฎีกา "คดีเจ๋ง ดอกจิก" ไปเป็นวันที่ 7 มี.ค. 2560

สัจจะวาจาไม่มีในหมู่โจร!!?? ปรองดองกับใคร พวกล้มสถาบันก็ได้หรือ??(รายละเอียด)

ทั้งนี้จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นว่า จะปรองดองกับบุคคลกลุ่มนี้ได้จริงๆหรือ??

Jirasak Tnews