บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต (รายละเอียด)

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต

จากกรณีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ หมวดพระมหากษัตริย์  ที่ได้มีการแต่งตั้ง 10 อรหันต์ ที่ล้วนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแถวหน้าของเมืองไทย และทั้งหมดเป็นกรรมการกฤษฎีกาโดยมีหน้าที่ยกร่างเฉพาะมาตรา-ตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทาน ย้ำไม่แตะสิทธิเสรีภาพ โครงสร้างการเมือง ทุกขั้นตอนเป็นไปตามโรดแมปต้องแก้ในส่วนประธานองคมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อัตโนมัติ เนื่องจากจะทรงแต่งตั้งหรือไม่ก็ได้

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

แต่ล่าสุดเมื่อวานที่ผ่านมา (16/11/2560) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการตั้งกรรมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติเพิ่มเข้าไปอีก 1คน คือ นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) รวมทั้งสิ้น 11 คน นอกจากนี้ ยังแต่งตั้งให้นายปกรณ์ นิลประพันธ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขานุการ กรธ. ให้เป็นเลขานุการคณะกรรมการชุดดังกล่าว การแต่งตั้งกรรมการเพิ่มอีก 1 คนครั้งนี้เพื่อรองรับกรณีองค์ประชุมไม่ครบ เพราะได้รับแจ้งจากกรรมการหลายคนว่าจะเดินทางไปต่างประเทศ แต่จะมีการประชุมถี่มาก จะประชุมกันครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม เพื่อเตรียมการในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ ซึ่งพอรู้อยู่แล้วบ้างว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร

โดยคณะกรรมการจะใช้เวลาแก้ไขให้เร็วกว่า 15 วัน เผื่อเหลือเวลาให้กองอาลักษณ์ได้มีเวลาเขียนลงในสมุดไทย รวมกระบวนการทั้งหมดนายกฯจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ขอพระราชทานกลับคืนมา

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

ถ้าหากเราย้อนไปถึงคำสัมภาษณ์ ของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.เมื่อวันที่ (10/01/2560) ถึงการแก้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ หมวดพระมหากษัตริย์ โดยประกรธ.ได้กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติร่วมเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาแก้ไข ในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านประชามติ ตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมีข้อสังเกตว่า สมควรแก้ไขข้อความใด ว่า กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านประชามตินั้น เป็นเรื่องของนายกฯ ที่จะดำเนินการ เพราะในมาตรา 4 ที่ขอแก้ไขมาตรา 39/1วรรคสิบเอ็ดให้เป็น ข้อความใหม่นั้น ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใด ภายใน 90 วัน ให้นายกรัฐมนตรีต้องขอรับพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้น ซึ่งในกระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อจากนั้น คือ นายกรัฐมนตรีต้องดำเนินการ ไม่เป็นหน้าที่ของกรธ. ที่ต้องดำเนินการ เพราะหน้าที่ของกรธ. นั้นเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ที่ส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ตอนนี้ ถือว่า กรธ.มีเวลาทำกฎหมายลูกมากขึ้น ถือเป็นผลดี ส่วนจะเริ่มนับหนึ่งแล้วส่งสนช.เมื่อไหร่ ต้องขึ้นอยู่กับที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

โดยในวันเดียวกันนี้นั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงมติที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 เพื่อเปิดทางแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ทูลเกล้าไปแล้วว่า เป็นการดำเนินการให้สามารถขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญที่ทูลเกล้าไปแล้ว กลับมาปรับปรุงบางมาตราตามที่มีการแจ้งมา ซึ่งมีไม่กี่มาตราโดยทั้งหมดต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หลังได้รับพระราชทานกลับคืนมา

เมื่อถามว่า ใครจะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไข นายวิษณุ กล่าวว่า ตามหลักการจะให้นายกฯ เป็นผู้แก้ตามที่ได้รับการแจ้งมา ซึ่งนายกฯมีดำริจะตั้งคณะกรรมการพิเศษซึ่งเป็นบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขึ้นมา ประมาณ 8-10 คน เพื่อดำเนินการ และสิ่งที่จะดำเนินการไม่เกี่ยวพันกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ โครงสร้างทางการเมือง การเลือกตั้ง หรือกระบวนการใดๆ ทางการเมืองทั้งสิ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับหมวดพระมหากษัตริย์ ในมาตรา และเข้าใจว่า เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจะเข้าเงื่อนไขเดิม ตามกรอบระยะเวลา 90 วัน
นับจากที่นายกฯ ได้นำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขครั้งใหม่แล้วขึ้นทูลเกล้าฯ

เมื่อถามว่า มาตราที่จะแก้ไข คือ มาตรา 5, 17 และ 182 ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ในหลักการเป็นเช่นนั้น แต่ก็ต้องดูว่าทั้งสามมาตราที่พูดถึงจะเกี่ยวพันกับมาตราใดอีกบ้าง หากมีก็ต้องตามไปแก้ด้วย ยืนยันจะไม่มีส่วนใดไปกระทบกับสิทธิเสรีภาพ โครงสร้างทางการเมือง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และ ณ วันนี้ รัฐบาล ยังคงยืนยันในโรดแมปเดิมอยู่ เพราะในที่ประชุมร่วมได้พูดเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว

โดยล่าสุดเมื่อวานที่ผ่านมานั้น(16/01/2560) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2560 ระบุว่า  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2560"

มาตรา 2 รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
"ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับ อยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือไม่ก็ได้ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และเมื่อกรณีเป็นไปตามมาตรานี้แล้ว มิให้นำความในมาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาใช้บังคับ"

มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสิบเอ็ดของมาตรา 39/1 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตามวรรคเก้าประกอบกับวรรคสิบแล้ว หากมีกรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดภายในเก้าสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้นและประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง และแก้ไขเพิ่มเติมคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชทานคืนมาตามที่ขอ

เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและ ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วแต่กรณีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป"
 
 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ คือ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทรงพิจารณานั้น ต่อมาคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญนี้

 

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)

บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ไทย "พล.อ.ประยุทธ์" รับ "พระราชทาน" รธน. 11 อรหันต์ปรับเนื้อหา หมวดพระมหากษัตริย์สู่อนาคต  (รายละเอียด)