ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี

ธนาคารออมสิน พร้อมเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ 3 เม.ย. 60

หลังจากเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2559 รัฐบาลได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนรับสวัสดิการของรัฐไว้แล้ว โดยมอบเงินช่วยเหลือให้ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี เป็นเงิน 3,000 บาท ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีคนละ 1,500 บาท

ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี

ล่าสุดวันที่ 19 ม.ค. 60  นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คลังจะให้ธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ในวันที่ 3-28 เม.ย. 2560 นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ คาดจะให้มีการลงทะเบียนเร็วกว่านี้ (มี.ค.) แต่เนื่องจากต้องรอให้ ธ.ก.ส.ปิดบัญชี ของธนาคารในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงต้องเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่เป็นเดือน เมษายน นั่นเอง โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนคนละ 1,500-3,000 บาท

ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี

ซึ่งที่ผ่านมา โดยการลงทะเบียนรอบแรกมีผู้มาลงทะเบียน 8.3 ล้านคน ซึ่งผู้มีรายได้น้อยของไทยมีอยู่ประมาณ 14-15 ล้านคน แต่เพราะบางส่วนไม่รู้เรื่องการลงทะเบียนนี้ ทำให้ยังมีผู้ที่ต้องการลงทะเบียนมีอีกจำนวนมาก

ทั้งนี้การโอนเงิน 1,500-3,000 บาทให้กับผู้ลงทะเบียนรอบแรก ธนาคารออมสินได้เปิดเผยว่า ผู้มาลงทะเบียนรอบแรก 2.5 ล้านคน และผ่านคุณสมบัติ 2.1 ล้านคน การจ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนรอบแรกนั้น ออมสินทยอยจ่ายเงินไปแล้วกว่า 2 ล้านราย ยังเหลือที่ไม่จ่ายเงินระดับหมื่นรายเป็นกลุ่มที่ยังไม่ยอมมาเปิดบัญชี ส่วนอีก 4 แสนรายนั้นเป็นกลุ่มที่ลงทะเบียนซ้ำ รายได้เกิน และอยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกับกระทรวงการคลัง

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารของรัฐทั้ง 3 แห่งเริ่มทยอยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือรอบแรกจากรัฐบาลแล้ว เริ่มจากธนาคารกรุงไทยได้โอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านระบบพร้อมเพย์แล้วประมาณ 3 แสนราย

ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี

ส่วนนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า หลังจากกระทรวงการคลังทำการตรวจสอบคุณสมบัติและจัดส่งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือมาให้ธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ธนาคารออมสินได้โอนเงินเข้าบัญชีผู้ลงทะเบียนกลุ่มที่ไม่ใช่เกษตรกรแล้ว 1,013,023 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 2,298.3 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 30,000 บาท มีจำนวน 519,189 ราย ได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อราย คิดเป็นวงเงินรวม 1,557.6 ล้านบาท และกลุ่มที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาท จำนวน 493,834 ราย ได้รับเงินช่วยเหลือ 1,500 บาทต่อราย คิดเป็นวงเงิน 740.7 ล้านบาท

 

ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี
ด้านนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า หลังจาก ธ.ก.ส. ได้รับข้อมูลผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจากกระทรวงการคลังทั้งหมด 3,837,669 ราย ในระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2559 ธนาคารได้โอนเงินเข้าบัญชีผู้มีรายได้น้อยที่เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับ ธ.ก.ส. ไปแล้ว 2,829,287 ราย คิดเป็นวงเงินกว่า 6,532 ล้านบาท ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ยังไม่มีสมุดบัญชีเงินฝากอีก 8 แสนราย ทางธนาคารขอแจ้งให้ลูกค้ากลุ่มนี้มาเปิดบัญชีเงินฝากกับสาขาของ ธ.ก.ส. ที่เคยลงทะเบียนก่อนหน้านี้ เพื่อธนาคารจะได้โอนเงินช่วยเหลือตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนรอบแรกไปแล้ว สามารถตรวจสอบผลการรับโอนเงินได้ที่ www.epayment.go.th และ www.gsb.or.th

 

ด่วน รู้แล้วบอกต่อ!!! ...เปิดอีกรอบ"ลงทะเบียนคนจนรอบ 2" รัฐบาลเตรียมโอนเงินเข้าบัญชี

(ภาพประกอบข่าว)


คุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย

          1. มีสัญชาติไทย
          2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องเกิดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2541
          3. เป็นผู้ว่างงาน หรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทในปี 2558

          หมายเหตุ : รายได้ หมายถึงรายได้ของบุคคลที่ลงทะเบียนเท่านั้น ในกรณีประกอบอาชีพร่วมกันทั้งครัวเรือน (เช่น ทำการเกษตรร่วมกัน) และไม่สามารถแยกรายได้ออกมาเป็นรายบุคคลได้ ให้ถือว่า รายได้ของครัวเรือนเป็นรายได้ของหัวหน้าครอบครัวแต่เพียงคนเดียว

 

ข้อมูลส่วนตัวที่ต้องเปิดเผย

          ผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ เช่น

          - รายได้ (เงินเดือน/เงินฝากธนาคาร/สลากออมทรัพย์/พันธบัตร/หุ้น ฯลฯ)
          - การถือครองทรัพย์สิน (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง/รถยนต์/จักรยานยนต์ ฯลฯ)
          - หนี้สินคงค้างทั้งหมด (เงินกู้ในระบบ/เงินกู้นอกระบบ/หนี้บัตรเครดิต/หนี้เพื่อการศึกษา/หนี้เพื่อการเกษตรหรือประกอบธุรกิจ/หนี้เพื่อการอุปโภค-บริโภค/หนี้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ฯลฯ)

          ทั้งนี้การเปิดเผยทรัพย์สิน-หนี้สินดังกล่าว เพื่อให้รัฐบาลมีข้อมูลไว้ใช้ทำสวัสดิการที่เหมาะสมต่อไป

------------------------------------------------

 

 

ภัทราพร สำนักข่าวทีนิวส์