ทีนิวส์ เปิดประเด็นร้อน ใครทะเลาะใคร!?!...ทำไมต้อง"ปรองดอง" (ชมคลิป)

ทีนิวส์ เปิดประเด็นร้อน ใครทะเลาะใคร!?!...ทำไมต้อง"ปรองดอง" (ชมคลิป)


จากกรณีที่มีการคณะป.ย.ป. ขึ้นมานั้นก็กระแสที่เรียกว่าไปสนใจอยุ่ข้อเดียวนั้นก็คือการปรองดอง ซึ่งทำให้เราต้องกับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่าประชาชนควรปรองดอง หรือ นักการเมืองควรปรองดองกันแน่ โดยจากคำสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อวันที่(17/01/2560) ได้ย้ำถึงเรื่องการปรองดองไว้อย่างน่าสนใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอนหนึ่งในงานวันครูแห่งชาติ ครั้งที่ 61 พ.ศ.2560 ว่า ครูต้องสอนให้เด็กอ่านหนังสือเยอะๆ หนังสืออะไรก็ได้ จะได้รู้ทุกเรื่องคุยกับคนอื่นได้ และจะได้ตอบโต้กับคนอื่นได้ วันนี้ทำไมสังคมถึงชอบโซเชียลมีเดีย เพราะโซเชียลมีเดียมันตอบโต้ได้ ไม่ชอบเขียนหนังสือ เพราะหนังสือพอเขียนอะไรมา ก็ด่าคนเขียนไม่ได้ มันผิดกฎหมาย แต่โซเชียลมีเดียจับยาก ซึ่งทุกวันนี้ผมก็เปิดโอกาสให้อยู่แล้ว ไม่เคยไปปิดกั้นถ้าท่านไม่ไปละเมิดอะไร หรือไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ผมก็ไม่เคยไปทำอะไร จะด่าผมก็ด่าไป หยาบคายเยอะแยะ บางคนก็ว่าลุงตู่เผด็จการ ผมไม่สนใจอยู่แล้ว เพราะผมเอาประเทศชาติมาก่อน ผมไม่ได้มองที่ตัวเอง ผมไม่คิดถึงได้ประโยชน์ตัวเอง ถ้ามายืนตรงนี้ก็ต้องคิดแบบนี้ ถ้าคิดดีทำอะไรก็สำเร็จทุกอย่างต้องช่วยกันคิด

ทีนิวส์ เปิดประเด็นร้อน ใครทะเลาะใคร!?!...ทำไมต้อง"ปรองดอง" (ชมคลิป)

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ไม่ใช่ 3 ปอ 3 แปะ อะไร ซึ่งเราต้องทำทั้ง 3 อย่าง และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ดี โดยที่ประชาชนต้องรับรู้รับทราบ เพราะประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ขอความร่วมมือทุกคนอย่าใช้อารมณ์ ตนเข้ามาไม่ได้คิดทำลายพวกท่าน แต่ต้องการให้ทุกอย่างเข้าสู่ระเบียบ

ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหมมีแนวคิดให้พรรคการเมืองมาลงสัตยาบันร่วมกันเพื่อความปรองดอง ว่าเรื่องปรองดองยังไม่ได้ทำ อยู่ระหว่างเริ่มตั้งคณะกรรมการ เรื่องนี้ได้ฟังมาจาก พล.อ.ประวิตร มีความคิดแบบนั้น ซึ่งก็โอเคหลังได้ฟังในขั้นต้น โดย พล.อ.ประวิตรมีแนวคิดเรียกพรรคการเมืองแต่ละพรรคมาคุยกัน ว่าอะไรที่จะร่วมมือกันได้บ้าง และอะไรที่จะไม่ทำอีก เช่น การทำให้เกิดปัญหาต่อประชาชนจะไม่ทำอีกได้หรือไม่

“เขาเรียกว่าเป็นสัจจะสัญญา แต่ไม่ใช่สัตยาบัน เป็นสัจจะวาจาทำนองนั้น คือพูดแล้วต้องไม่ลืม ต้องทำตามนั้น ก็ขึ้นอยู่กับทุกคนว่าต้องการให้ประเทศเดินหน้าหรือเปล่า แต่อย่าเอามาพันกัน ซึ่งมีหลายเรื่องหลายประเด็น ผมได้ให้แนวนโยบายไปว่าการปรองดองมีหลายมิติ และมีคดีความมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง คดีการเมือง แต่ละอย่างจะทำกันอย่างไร ระหว่างนี้ก็สร้างการรับรู้แก่สังคม ประชาชน ให้รู้ว่าเขาคิดกันมาแบบนี้ ไม่ใช่งุบงิบทำ มันทำไม่ได้” นายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่า วิสัยฝ่ายการเมืองมักจะมีเงื่อนไขต่อรอง นายกฯ กล่าวว่า ต้องไม่มีเงื่อนไข ขั้นแรกเท่าที่คุยกับ พล.อ.ประวิตรจะเรียกทุกพรรคมาคุย เสนอความคิดเห็นมาและบันทึกไว้ ซึ่งจะฟังทุกพรรคทุกคนที่พูด จากนั้นนำมารวบรวมดูว่าอันไหนควรนำมาปฏิบัติหรือนำมาทำ

ทั้งนี้ต้องดูฝ่ายกฎหมายด้วย ทั้งหมด ไม่ว่าจะทำด้วยกฎหมายหรืออะไรก็ตาม สังคมต้องยอมรับ บังคับกันไม่ได้อยู่แล้ว เข้าใจกันหรือไม่ เดี๋ยวบานปลายกันไปอีก

ผมไม่ได้ต้องการจะปรองดองกับคนโน้นคนนี้ ผมไม่ได้มองว่าเป็นใครคนไหน แต่มองประเทศชาติ ปัญหาทุกปัญหาของประเทศชาติจะต้องได้รับการแก้ไข นี่คือการปรองดอง อย่าไปมองเรื่องนิรโทษกรรม ลดโทษ ยังไม่ถึงตรงนั้น ฟังดูก่อนว่าเขาเดินหน้าไปอย่างไร เวลานี้มีคณะกรรมการหลายคณะ” นายกฯ กล่าว