"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

“หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา” คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นในด้านต่างๆ และหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่ทรงสนพระราชหฤทัย คือ การประดิษฐ์ “เรือใบ” โดยเฉพาะ “เรือใบมด” “เรือใบซูเปอร์มด” และ “เรือใบไมโครมด” นั้นนับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เพราะเป็นเรือที่ทรงออกแบบเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ดังความในบทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เรื่อง "เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์" ทรงเล่าไว้ว่า

             "พระอนุชาได้เริ่มทำแบบเรือต่างๆ ด้วยไม้ เช่น แบบเรือรบที่ไม่มีขาย ในระยะนั้นกำลังทำเรือ ใบที่ใหญ่พอสมควร ใบก็เย็บเองด้วยจักรเสร็จแล้ว เหลือแต่การทาสี เมื่อเริ่มไปแล้ว ก็พอดีเป็นเวลาที่กำลังจะตัดสินว่าจะอพยพออกไปสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเล่าว่า ทุกคนก็ถามอย่างล้อๆ ว่า เรือจะ แห้งทันไหม"

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

             เมื่อในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้ทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เช่น เครื่องร่อน และเรือรบจำลอง เป็นต้น แต่หลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็มีพระราชภารกิจต่าง ๆ มากมาย เพราะทรงตระหนักว่าประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยามย่อมต้องมีความสำคัญก่อนเสมอ จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่างเพียงเล็กน้อย

             แม้จะมีพระราชภารกิจต่าง ๆ มากมาย แต่ก็โปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองจำนวนหลายลำ และทรงทดลองแล่นเรือในสระภายในสวนจิตรลดา เนื่องจากพระองค์โปรดกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่ง โดยเรือใบฝีพระหัตถ์ ที่สำคัญมี 3 ประเภท ได้แก่ เรือใบประเภทเอนเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class), เรือใบประเภทโอเค (International OK Class) และเรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class) โดยเรือใบลำแรกที่ทรงต่อเองเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นเรือใบประเภท เอนเตอร์ไพรส์ ชื่อ "เรือราชปะแตน" และลำต่อมาชื่อ "เรือเอจี" โดยทรงต่อตามแบบสากล

             ใน พ.ศ.๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบประเภทโอเคตามแบบสากล โดยลำแรกที่ทรงต่อชื่อ "เรือนวฤกษ์" หลังจากนั้นพระองค์ทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธจำนวนหลายลำ ซึ่งเรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไ ม่เกิน ๑๑ ฟุต เนื้อที่ใบไม่เกิน ๗๕ ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรืออาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ และเรือม็อธที่ทรงออกแบบ และทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๑๐ นี้เอง ที่เป็นจุดกำเนิดของการต่อเรือที่ใช้ชื่อพระราชทานว่า “เรือมด, เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด”

             เรือมด หรือ เรือใบมด เป็นเรือใบที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงออกแบบและทรงต่อขึ้นมาด้วยพระองค์เอง และได้จดลิขสิทธิ์เป็นสากล ประเภท International Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ และพระราชทานชื่อ เรือใบมด แปลงมาจากเรือใบ "ม็อธ" ซึ่งที่มาของชื่อทรงมีรับสั่งว่า "ที่ชื่อมดนั้น เพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี" ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบต่อๆมาอีกโดยได้พระราชทาน ชื่อว่าเรือใบซูเปอร์มด และเรือใบไมโครมด

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบต่อๆมาอีกโดยได้พระราชทาน ชื่อว่าเรือใบซูเปอร์มด และเรือใบไมโครมด

             เรือใบซุปเปอร์มด เป็นเรือใบขนาดเล็กที่ทรงออกแบบมาให้เหมาะกับคนไทย ตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต กว้าง ๔ ฟุต ๑๑ นิ้ว เสาเดี่ยว เนื้อที่ใบ ๗๒ ตารางฟุต ท้องแบนน้ำหนักเบาประมาณ ๓๔ กิโลกรัม ซุปเปอร์มดเคยเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ ๑๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑

             เรือใบไมโคมด ในหลวงรัชกาลที่ ๙  พระองค์ทรงเรือใบ "ไมโครมด" ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ มีความยาว ๗ ฟุต ๙ นิ้ว กว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว และได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐

เรือใบไมโครมดและพระสมเด็จจิตรลดา ได้ตีพิมพ์บนเสตมป์ฉลองครบ 70 พรรษา

ส่วนมวลสาวัตถุ เช่น สี ชัน จากเรือใบไมโครมดใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

\"หนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จจิตรลดา\" คือ มวลสารพระราชทานจากวัสดุของเรือใบไมโครมด เรือทรงในกีฬาแหลมทองครั้งที่๔ และ ได้รับเหรียญทอง

ข้อมูลและรูปจาก : วิกิพีเดีย , http://www.jadjaan.com/ และ ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์