เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ “เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙” เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยกองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ลำเดิมมีชื่อว่า “มงคลสุบรรณ” หัวเรือเป็นรูป พระครุฑพ่าห์  ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ได้มีพระราชดำริให้เสริมรูปพระนารายณ์ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ เพื่อความเป็นสง่างามของลำเรือมาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

             ”นารายณ์ทรงสุบรรณ” ชื่อนารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระนารายณ์ทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งขององค์พระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระนารายณ์ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ ๙ เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๓ (พุทธศักราช ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

             ตามความเชื่อที่ว่า เชื่อกันว่าพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ทรงแบ่งภาคลงมากำเนิดเป็นพระราชาได้ในทุกสถานที่และทุกกาลเวลา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ราชสำนักไทยได้รับเอาแนวคิดเช่นนี้มาสร้างให้เกิดความเชื่อในหมู่ประชาชนซึ่งเกื้อหนุนสถานภาพของพระมหากษัตริย์ให้สูงส่งประหนึ่งเทพ อย่างไรก็ดี โขนเรือพระที่นั่งลำนี้มิได้แสดงรูปพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์มีสมมติพระนามโดยเรียกตามนามของพระราม แต่ได้แสดงรูปพระนารายณ์ และลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง ๔ ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระนารายณ์ ครุฑเจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระพระนารายณ์(พระวิษณุ)อยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล  หัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ บ่งบอกอิทธิพลศาสนาฮินดูตามคัมภีร์ปุราณะจากอินเดียที่มีต่อประเพณีนิยมและศิลปกรรมไทย พระวิษณุเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญที่สุด ๓ องค์ อีก ๒ องค์ คือพระพรหมและพระศิวะ พระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์รักษา พระองค์ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ในรูปร่างต่างๆ เรียกว่า อวตาร

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

ลักษณะของโขนประจำหัวเรือ และขนาดตัวเรือ

           โขนเรือทำจากไม้สักทองและตัวเรือทำจากไม้ตะเคียนทอง จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว ๔๔.๓๐ เมตร กว้าง ๓.๒๐ เมตร ลึกถึงท้องเรือ ๑.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๔๐ เซนติเมตร น้ำหนัก ๒๐ ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย ๕๐ คน นายเรือ ๒ คน นายท้าย ๒ คน คนถือธงท้าย ๑ คน พลสัญญาณ ๑ คน คนถือฉัตร ๗ คน และคนเห่เรือ ๑ คน

เรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๙ "เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙" เรือสำคัญในพระราชพิธีที่สร้างในรัชสมัยของในหลวง ร.๙

 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : "ข้อคิดดีดี... ในวันที่พ่ออยู่หัวรัชกาลที่9ไม่อยู่ เราควรทำเช่นไร" จาก พศิน อินทรวงศ์ ข้าบาทแห่งแผ่นดิน http://panyayan.tnews.co.th/contents/td/217426/

ขอบคุณข้อมูลจาก : พิพิธภัฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์