เจอจนได้!! ผู้รับผิดชอบทุจริตCCTVรัฐสภา"โภคิน-พิทูร" ทำอะไรอยู่ตอนนั้น? (รายละเอียด)

เจอจนได้!!ผู้รับผิดชอบทุจริตCCTVรัฐสภา"โภคิน-พิทูร" ทำอะไรอยู่ตอนนั้น? (รายละเอียด)

นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันที่ 30 ม.ค. ทางสำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดซื้อกล้องวงจรปิด (CCTV) ภายในรัฐสภา ปี 2547-2548 สมัยที่นายโภคิน พลกุล เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และมีนายพิทูร พุ่มหิรัญ ทำหน้าที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาให้ เพื่อรายงานต่อนายพรเพชร เพื่อสั่งให้ดำเนินการต่อไป

ในท้ายที่สุดแล้วหากพบว่ามีการกระทำผิดจริงจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบเช่นเดียวกับกรณีสินบนโรลส์-รอยซ์ แต่จะแตกต่างตรงที่คดีจัดซื้อกล้องวงจรปิดของสภาฯ จะไม่มีอายุความ เพราะเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณแผ่นดิน และสามารถเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องย้อนหลังได้ แม้ว่าปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว

ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ได้กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริการะบุมีการจ่ายสินบนแก่บุคคลที่อ้างตัวเป็นที่ปรึกษาในโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) ในรัฐสภาไทย ว่า เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในปี 2549 และอยู่ในความรับผิดชอบของสภาผู้แทนราษฎร จึงได้สั่งการให้เรียกประชุมคณะกรรมการด้านอาคารและระบบความปลอดภัย ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงระบบกล้องต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง เพื่อให้มีมติในเรื่องนี้ต่อไปว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร จากนั้นจะรายงานกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.

ทั้งนี้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารชุดปัจจุบัน แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเหตุกาณณ์นี้ส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์ของรัฐสภา ซึ่งทางรัฐสภาต้องทำเรื่องนี้ให้มีความชัดเจน เพราะว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และจะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อที่จะแสวงหาข้อมูลเบื้องต้น

เมื่อถามว่า หากบุคคลที่เกี่ยวข้องออกจากราชการไปแล้วจะดำเนินการอย่างไร นายสุรชัยกล่าวว่า คดีทุจริตไม่มีอายุความ แต่โทษทางวินัยอาจจะมีปัญหา เพราะถ้าผู้เกี่ยวข้องเกษียณอายุราชการไม่สามารถเอาผิดทางวินัยได้ แต่ถ้ารับราชการอยู่สามารถเอาความผิดได้ อย่างไรก็ตาม ขอดูรายละเอียดว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง จะเป็นฝ่ายการเมืองหรือข้าราชการประจำ สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต้องให้ประธาน สนช.ออกคำสั่ง แต่ขณะนี้ขอดูข้อมูลเบื้องต้นก่อน

สำหรับการติดสินบนในประเทศไทยเกิดขึ้นระหว่างปี 2547 ถึงกลางปี 2552 ผ่านตัวแทนจำหน่ายสุราในประเทศไทย โดยมีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองหนึ่ง และเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 24 ล้านบาท โดยเป็นการจ่ายตรง 49 ครั้งให้กับบริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาล เป็นผู้อำนวยการ เพื่อแลกกับการล็อบบี้เจ้าหน้าที่ในคดีความด้านภาษี และศุลกากรมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยคนนี้ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในสมัยนั้น

นอกจากนี้ ยังสั่งลงโทษ บริษัท ไทโค อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ขายระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมูลค่ากว่า 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,072 ล้านบาท จากข้อหาละเมิดกฎหมายเอฟซีพีเอ โดยพบว่ามีการติดสินบนในประเทศไทยด้วย โดยเกิดขึ้นระหว่างปี 2547-2548 โดยเป็นการติดสินบนผ่านบริษัทลูกในประเทศไทยซึ่ง "ไทโค " ถือหุ้นอยู่ 49% ซึ่งจ่ายเงินให้กับที่ปรึกษารายหนึ่ง มูลค่า 292,286 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทยเกือบ 12 ล้านบาท ในโครงการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นค่าที่ปรึกษา ทำให้บริษัทลูกในประเทศไทยได้กำไรจากโครงการนี้ เป็นเงิน 879,258 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 35 ล้านบาท และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น บริษัทลูกของไทโคในไทย ยังจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับ "ที่ปรึกษาคนหนึ่ง" เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาการติดตั้งกล้องวิดิโอวงจรปิด (ซีซีทีวี) ในรัฐสภาไทยด้วย จากการจ่ายสินบนเหล่านี้ ทำให้ "เอดีที ประเทศไทย" ได้รับกำไรจากโครงการต่าง ๆ เป็นมูลค่าราว 473,262 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 19 ล้านบาท

เจอจนได้!! ผู้รับผิดชอบทุจริตCCTVรัฐสภา"โภคิน-พิทูร" ทำอะไรอยู่ตอนนั้น? (รายละเอียด)

สำหรับนายโภคิน พลกุล นั้นหลังจากจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้เข้ารับราชการเป็นนายเวร สังกัดกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ถัดมาในปี พ.ศ. 2518 ได้โอนมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2525 และเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2529 ในด้านการบริหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2534 และในปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนลาออกมารับตำแหน่งทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 และเข้าทำงานด้านตุลาการในปี พ.ศ. 2543 - 2545 เป็นรองประธานศาลปกครองสูงสุด จากนั้นได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทยตามลำดับ

ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งมีการยุบสภาในปี พ.ศ. 2549 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งอื่นๆอีกคือ เลขาธิการสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย นายกสมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย และประธานสมาพันธ์สัตว์ปีกสวยงามแห่งประเทศไทย

 

เรียบเรียงโดย สินีนุช ทีนิวส์