สิ่งที่ "น้ำตาล ชลิตา" ยังไม่ได้พูด "ในหลวงร.9" คือตัวอย่างผู้นำที่ดีที่สุดของโลกใบนี้

เวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สประจำปี 2016 ที่จัดขึ้นในฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 30 ม.ค. เพิ่งจะประกาศผลสาวงามคนใหม่ที่คว้ามงกุฏไปครอง นั่นคือ Iris Mittenaere สาวงาม วัย 28 ปี จากฝรั่งเศส

เวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สประจำปี 2016 ที่จัดขึ้นในฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 30 ม.ค. เพิ่งจะประกาศผลสาวงามคนใหม่ที่คว้ามงกุฏไปครอง นั่นคือ Iris Mittenaere สาวงาม วัย 28 ปี จากฝรั่งเศส ซึ่งสำหรับสาวงามตัวแทนของประเทศไทยอย่างน้องน้ำตาล-น.ส.ชลิตา ส่วนเสน่ห์ ตัวแทนสาวไทยที่เข้าประกวดเวทีมิสยูนิเวิร์ส หรือนางงามจักรวาล ประจำปี 2016 ก็ได้โชว์ความสามารถเข้าถึงรอบตอบคำถาม 6 คนสุดท้าย โดยในวันนั้นน้องน้ำตาลได้คำถามที่ว่า...

ถาม : ผู้นำระดับโลก ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน หรืออดีต ที่คุณชื่นชมคือใคร และเหตุผลว่าทำไม?

ตอบ : "Mabuhay, ฟิลิปปินส์! (การทักทายแบบชาวฟิลลิปปินส์) สำหรับคนนั้นก็คือ ในหลวง ตั้งแต่ดิฉันเกิดมา ท่านทรงงานหนักมาตลอด ไม่เคยบ่นแม้แต่น้อย และท่านก็เปรียบเสมือนพ่อของทุกคนในประเทศไทย ขอบคุณค่ะ"

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : ทำดีที่สุดแล้ว!!! วินาที "น้ำตาล" น้ำตาคลอตอบคำถามรอบ 6 คนสุดท้าย ทำเอาคนดูหัวใจแทบหยุดเต้น

สิ่งที่ \"น้ำตาล ชลิตา\" ยังไม่ได้พูด \"ในหลวงร.9\" คือตัวอย่างผู้นำที่ดีที่สุดของโลกใบนี้

คำตอบที่น้องน้ำตาลตอบไปถือเป็นคำตอบที่ดีแต่อาจจะไม่ได้ตอบทั้งหมด เพราะจำกัดทั้งในเรื่องเวลาที่กระชับ ความตื่นเต้นที่ต้องตอบคำถามต่อหน้าคนทั้งโลก จึงอาจทำให้น้องน้ำตาลพลาดที่จะขยายความให้กว้างขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระพระอัจฉริยะภาพมากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ทั่วโลกอยู่แล้ว ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กีฬา วรรณกรรม ดนตรี ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น

 

รางวัลระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถได้เด่นชัดที่สุด คือ รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นในการจัดงาน บรัสเซลส์ ยูเรกา “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ที่จัดโดย The Belgian Chamber of Inventors ซึ่งเป็นสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองนักประดิษฐ์ของราชอาณาจักรเบลเยียม ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในยุโรป โดยทางคณะผู้จัดงานได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแด่พระองค์ถึง 2 ปีติดต่อกัน คือ ในปี พ.ศ.2543 และปี พ.ศ.2544
      
       รางวัลบรัสเซลส์ ยูเรก้า ที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายทั้ง 2 ปีนี้ ได้แก่ ในปี พ.ศ.2543 สภาวิจัยแห่งชาติ ได้นำผลงาน “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ในพระองค์เข้าประกวดในสิ่งประดิษฐ์ประเภทที่ 1 เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อม (Pollution Control - Environment) ปรากฏว่า ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการจัดงานว่าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำบัดน้ำเสีย
      
       ในครั้งนั้นทรงได้รับทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลรวมทั้งสิ้น 5 รางวัล คือ 1. เหรียญรางวัล Prix OMPI (Organisation Mondiale De La Propriete Intelietuelle) หรือรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก พร้อมประกาศนียบัตร และเงินรางวัลจำนวน 2,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ 2. เหรียญรางวัล Gold Medal with Mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และประกาศนียบัตรเกียรตินิยมจากบรัสเซลส์ ยูเรก้า ประจำปี พ.ศ.2543

ในปี พ.ศ.2544 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คณะกรรมการจัดงานบรัสเซลส์ ยูเรก้า ได้เชิญประเทศไทยให้ร่วมจัดนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์อีกครั้งในงาน บรัสเซลส์ ยูเรก้า 2001 ระหว่างวันที่ 13-18 พ.ย.2544 โดยสภาวิจัยแห่งชาติได้จัดแสดงผลงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำนวน 3 ชิ้น คือ ผลงานเรื่องทฤษฎีใหม่ (The New Theory) ผลงานเรื่องน้ำมันไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม (Palm Oil Formula) และผลงานเรื่องฝนหลวง (Royal Rain Making)


       ในงานบรัสเซลส์ ยูเรกา 2001 นี้ก็อีกเช่นกัน ที่พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในล้นเกล้าฯ ได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาประเทศอีกครั้ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลถึง 5 รางวัล คือ
      
       1.รางวัล D’Un Concept Nouveau de Development de la Thailande พร้อมถ้วยรางวัลทำด้วยเงิน โดยคณะกรรมการตัดสินได้ลงมติเห็นชอบทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเทิดพระเกียรติคุณเป็นกรณีพิเศษแด่ผลงานประดิษฐ์คิดค้นทั้ง 3 ผลงาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย

      2.รางวัล Gold medal with mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติให้แก่ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการน้ำมันไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม
      
       3.รางวัล Gold medal with mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติให้กับผลงานประดิษฐ์คิดค้นโครงการทฤษฎีใหม่
      
       4. รางวัล Gold medal with mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติให้กับผลงานประดิษฐ์คิดค้นโครงการฝนหลวง
      
       และ 5. ถ้วยรางวัล SPECIAL PRIX for His Majesty The King of Thailand พร้อมประกาศนียบัตร มอบให้ผลงานประดิษฐ์คิดค้นทฤษฎีใหม่ ปาล์มน้ำมัน ฝนหลวง และประกาศนียบัตร Honored Member of BACCI โดยเป็นรางวัลจาก Bulgarina American Chamber of Commercial and Industry (BACCI)

 'ยูเอ็น' โดย นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ทูลเกล้าถวายรางวัล "ความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ The Human Development Lifetime Achievement Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถ และพระราชกรณียกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรไทยตลอดรัชสมัย เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2549 ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของรางวัลดังกล่าวนี้
      
       และด้วยพระปรีชาญาณอันเป็นที่ประจักสายตาชาวโลก ยังส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทูลเกล้าถวายรางวัลอย่างต่อเนื่อง เฉพาะ
      
       ไม่เพียงเท่านั้น หน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติยังตระหนักถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไทย ถึงขนาดทูลเกล้าฯถวายรางวัลเพิ่มเติมอีกมากถึง 9 รางวัล อันได้แก่
      
       1. เหรียญฟิแล Philae Medal
      
       2.เหรียญทองเทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงอุทิศตนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติ
      
       3.เหรียญทองสุขภาพดีถ้วนหน้า
      
       4. รางวัลเทิดเกียรติในฐานะที่ทรงมีบทบาทโดดเด่นในความพยายามทีจะควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในไทย
      
       5.เหรียญอากรีโคลา 6 ธันวาคม 2538ในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและความสุขของประชาชนในประเทศองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ
      
       6.รางวัลเทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงสนับสนุนงานอุตุนิยมวิทยาและการนำทรัพยากรน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
      
       7.เหรียญเทเลฟู้ด
      
       8.แผ่นจารึกเทิดเกียรติขององค์การอนามัยโลก
      
       9.รางวัลเทิดพระเกียรติของยูเอ็น-ฮาบิแทต  เป็นต้น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : พระอัจริยภาพตลอดกาล!! นานาชาติทูลเกล้าฯถวายรางวัล"องค์พ่อหลวง" ตลอด70ปีแห่งการครองราชย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ มีดังต่อไปนี้
1. โครงการแกล้งดิน   แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้

2. โครงการปลูกหญ้าแฝก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน  จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ

3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน  เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน

4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม

5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป

6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10  เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%

          จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

7. บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ซึ่งมีการดัดแปลงเล็กน้อยจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และพระองค์ทรงแปลเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 ซึ่งมีเนื้อหาอันทรงคุณค่าและมีการพิมพ์เป็นฉบับการ์ตูนอีกด้วย

8. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น

9. โครงการฝนหลวง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า  จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน

10. กังหันน้ำชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร เป็นต้น

 

เรียบเรียง : Suya ทีนิวส์