ชัดเสียยิ่งกว่าชัด!! "ทนายดัง" ชี้ คดีวิศวกรรุ่นลุงยิงเด็ก ม.4 ดับ ทำแบบนี้สมควรแก่เหตุหรือไม่??

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

จากกรณีที่ นายสุเทพ โภชน์สมบูรณ์ อายุ 50 ปี อาชีพวิศวกร ใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มวัยรุ่นจนเป็นเหตุให้นายนวพล ผึ่งผาย หรือ ปอนด์ อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ เข้าที่บริเวณใต้ราวนมซ้าย และทนพิศบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา  โดยสาเหตุเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่เช่ารถตู้มาเที่ยวแล้วจอดซื้อของจอดขวางรถชายนานสุเทพ จนเกิดปากเสียงกัน ก่อนจะมีการขับรถตามกันมาโดยระหว่างที่ขับตามกันมานั้นก็มีการขับปาดหน้ากันอีก จนจบลงด้วยเหตุสลดตามที่เป็นข่าว 
         

ล่าสุดวันนี้ ( 7 ก.พ.)   ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊คส่วนตัว "เกิดผล แก้วเกิด" เกี่ยวกับกรณีนี้ระว่า "จากกรณีวิศวกร ยิงนักเรียน ม.4 ด้วยกระสุน .380 จำนวน 1 นัด กรณีนี้ จะถือว่า เป็นการป้องกันตัว พอสมควรแก่เหตุ หรือ เกินสมควรแก่เหตุ   ส่วนประเด็นว่า "พกปืนไปในที่สาธารณะ" คงไม่วิเคราะห์ เพราะถ้าพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต (ป.12) ก็เป็นความผิดอยู่แล้ว
          

ประเด็นต่อมา การขึ้นลำกล้องปืน ในลักษณะพร้อมยิง เป็นข้อสันนิษฐานว่า มีเจตนาฆ่า หรือไม่  ประเด็นนี้คงเป็นคำพูดและความเข้าใจผิดๆ มากกว่าครับ การขึ้นลำกล้องพร้อมยิง ก็เพื่อความเตรียมพร้อม แต่จะยิงหรือไม่ หรือมีเจตนาฆ่าใคร เป็นคนละส่วนกับการขึ้นลำไว้ เพราะถ้าตีความว่า ปืนพร้อมใช้งาน แล้วสันนิษฐานว่า พร้อมยิงคน บรรดาผู้ใช้อาวุธปืนลูกโม่ หรือ รีวอลเวอร์ ทั้งหลาย ต้องสะดุ้งแน่ๆ เพราะ ปืนลูกโม่ หรือ รีวอลเวอร์ ทุกชนิด พร้อมยิงโดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
          

#หลักการณ์พิจารณา ว่า เป็นการป้องกัน #พอสมควรแก่เหตุ พิจารณาหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ   1.# การเทียบสัดส่วนแห่งภัย หากมีภัยที่มีมาอาจทำให้ถึงตาย ก็สามารถตอบโต้ให้ถึงตายได้เช่นกัน เช่น กำลังลากหญิงเข้าป่าข้างทาง เพื่อข่มขืน หญิงใช้มีดแทงไปหลายทีจนตาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ (ฎีกาที่ 1826/2530) แต่ถ้าหากทรัพย์ที่ลักมีราคาเพียงเล็กน้อย เช่นลักปลากัด ก็เป็นการป้องกันเกินสัดส่วนแห่งภัย ( ฎีกาที่ 6490/2548) หรือ   2.# ต้องเป็นวิถีทางน้อยที่สุด ที่จะทำได้ มิฉะนั้นจะไม่พ้นภัย (ไม่ต้องเทียบสัดส่วนแห่งภัย) คือ #ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วนั้นเอง (ฎีกาที่ 6077/2546) เช่นมีคนจะเอาไม้มาตีจำเลยไม่มีสิ่งใดที่นำมาป้องกันตนได้นอกจากมีด จึงแทงสวนไป เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ (ฎีกาที่ 1430/2500) ผู้ตายเข้าไปฉุดลูกสาวของจำเลยในบ้าน จำเลยเป็นหญิง #ไม่มีทางเลือกที่จะป้องงกันด้วยวิธีอื่น จึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ (ฎีกาที่ 555/2530) ตามตัวอย่าง 2 ฎีกาดังกล่าว พอจะเปรียบเทียบกับ เคสวิศวกร ยิงนักเรียน ม.4 หรือไม่ คือ
         

มีโอกาสหรือทางเลือกอื่นให้พ้นภยันตรายหรือไม่   มีโอกาสเลือกจะยิงหรือไม่ยิงได้หรือไม่ ถ้าไม่ยิง จะเป็นภัยต่อตนเองและครอบครัวหรือไม่  มีโอกาสที่จะเลือกยิงได้หลายครั้งหรือครั้งเดียว ในกรณีนี้ ใช้อาวุธปืนยิงเพียงครั้งเดียว และภยันตรายได้ผ่านไปแล้ว ได้มีการยิงซ้ำหรือไม่  มีโอกาสที่ระรู้ล่วงหน้าหรือไม่ว่า กลุ่มนักเรียนที่เข้ามาล้อมจะมีอาวุธร้ายแรงติดตัวมาด้วยหรือไม่
         
สิ่งเหล่านั้ เป็นข้อสงสัยเล็กน้อย ท่านลองเอาไปเปรียบเทียบกับ หลักกฎหมายที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้นครับ"
          


ขอบคุณข้อมูลจากเฟชบุ๊คเกิดผล แก้วเกิด
วิทย์ณเมธา  สำนักข่าวทีนิวส์