ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครศรีธรรมราช ได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า ผ้าพระบฏ” (หรือ พระบด) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ได้กล่าวไว้ว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีฯสืบมา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ความศรัทธาของราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“แห่พระบฎขึ้นธาตุ”

แต่เดิมมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้  ซึ่งการนำผ้าขึ้นห่มพระธาตุ หลังจากทุกคนกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ๓ รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์) ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียง ๓ ถึง ๔ คน สมทบกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ที่ไม่สามารถขึ้นไปบนกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวนเพราะทางวัดได้กำหนดให้ลานภายในกำแพงแก้วเป็นเขตหวงห้าม ยกเว้นการนำผ้าพระบฏขึ้นบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ทั้งนี้เพราะเชื่อว่า ใต้ลานกำแพงแก้วในฐานพระบรมธาตุเจดีย์มีพระบรมสาริกธาตุประดิษฐานอยู่หากขึ้นไปเดินบนลานจะไม่เป็นการสมควร

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ในปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ได้มีขบวนแห่ผ้าพระบฏพระราชทาน จำนวน 5 ผืน ประกอบด้วย ผ้าพระบฏพระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีมาร่วมในประเพณีแห่แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ในครั้งที่ผ่านมาด้วย

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

การแห่ผ้าขึ้นธาตุหรือการห่มพระธาตุ เป็นกระทำกันโดยพร้อมเพรียง ด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธศาสนิกชนมีจิตใจแน่วแน่ที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ให้ขาด ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จึงให้มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นลักษณะของชาวนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นอยู่ในพุทธศาสนา การทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชาเพราะมีความประสงค์จะอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า และแสดงให้เห็นว่าองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศ จึงประสงค์มาห่มผ้าพระธาตุอย่างพร้อมเพรียงกัน และพร้อมใจกันสบสานประเพณีต่อไปสู่ลูกหลาน

ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ”  ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!!  สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

ที่มา : http://www.gotonakhon.com/?p=3829

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์