เผยความหมายแห่ง ตราสัญลักษณ์ ในสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่20 แห่งรัตนโกสินทร์ สุปฏิปัณโณผู้มีจริยวัตรงดงาม

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

 

ตราสัญลักษณ์ ออป สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐แห่งรัตนโกสินทร์ (คลิกอ่าน : กราบสาธุ...เปิดประวัติ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" สังฆราชองค์ใหม่)

อ. (อัมพร) พระนามของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีแดง
วันประสูติ วันอาทิตย์
อ. (อมฺพโร) ฉายาของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีเหลือง หมายถึง สีอาสนะประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
และสีของกาสาวพัสตร์ เป็นสมณคุณ
ป. (ประสัตถพงศ์) นามสกุลของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีฟ้าเทา เป็นสีประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชาติภูมิ

เผยความหมายแห่ง ตราสัญลักษณ์ ในสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่20 แห่งรัตนโกสินทร์ สุปฏิปัณโณผู้มีจริยวัตรงดงาม

เผยความหมายแห่ง ตราสัญลักษณ์ ในสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่20 แห่งรัตนโกสินทร์ สุปฏิปัณโณผู้มีจริยวัตรงดงาม

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชว่า ได้นำรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งพระสังฆราช 5 องค์ ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพิจารณาและเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์

ตนได้รับแจ้งว่าทรงโปรดเกล้าฯ สมเด็จพระมหามุณีวงศ์ วัดราชบพิธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่

ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ จะจัดงานพิธีสถาปนาในวันที่ 12 ก.พ. เวลา 17.00 น. ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีตามพระราชประเพณี (คลิกอ่าน : เปิดพระจริยวัตรพระสังฆราชองค์ที่20 สงฆ์ผู้สมถะ)

“จากนี้ขอให้อย่าขัดแย้งกันอีกเลย ที่เลือกมาก็ดูเรื่องการปฏิบัติงานและคุณสมบัติอื่น ที่สำคัญเป็นพระราชอัธยาศัยของพระองค์ที่ทรงพิจารณาเอง”

 

ทั้งนี้ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะ เมื่อปี 2552 นามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ เป็นสมเด็จพระราชา คณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

เผยความหมายแห่ง ตราสัญลักษณ์ ในสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่20 แห่งรัตนโกสินทร์ สุปฏิปัณโณผู้มีจริยวัตรงดงาม

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้กล่าวไว้ว่า เราไม่มีแม้สักแดงเดียวนะ เราไม่สะสม แม้แต่เหรียญอาจารย์ฝั้นสักเหรียญเรายังไม่มี รถเราก็ไม่มี

 

นับเป็นสุปฏิปัณโณผู้มีจริยวัตรงดงาม ดำเนินรอยตามครูบาอาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น และพระอาจารย์มั่น ครูอาจารย์สายพระป่าที่เราชาวพุทธกราบได้อย่างสนิทใจ

 

ข่าว: ไญยิกา เมืองจำนงค์  (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)