คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ มีนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับแรม๑๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายนับ ประสัตถพงศ์ โยมมารดาชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ ๔ ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพูจนจบชั้น ป.๔ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

การบรรพชาอุปสมบท

เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งขณะจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ สามารถ

สอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ.๒๔๘๓ สอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยค และ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๘๘

โดยในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังอุปสมบท ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ

และในขณะที่เรียนจบเปรียญ ๕ ประโยค ท่านได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่๕ จบศาสนศาสตรบัณฑิต

สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๙๑

สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๙๓

จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ปี พ.ศ.๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

ปี พ.ศ.๒๕๕๓ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

และเมื่อ วันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาในวันที่๑๒ กุมภาพันธ์๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

สมณศักดิ์

พ.ศ.๒๕๑๔เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี

พ.ศ.๒๕๒๔เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ.๒๕๓๓เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ.๒๕๓๘เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ.๒๕๔๓เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ.๒๕๕๒เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี

พ.ศ.๒๕๖๐สถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

และจากการที่ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่๒๐ จึงทำให้ประชาชนโดยทั่วไปควรทราบถึง คำราชาศัพท์ที่ควรใช้กับสมเด็จท่านใหม่ดังรายละเอียดประกอบภาพ

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

คำราชาศัพท์ที่เราควรรู้สำหรับไว้ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมพระเกียรติแก่พระองค์ท่าน สาธุ!

ขอขอบคุณที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ ราชบัณฑิตยสถาน

 ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์