สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

พล.อ.เจมส์ แมตทิส รมว.กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว พล.อ.เจมส์ แมตทิส รมว.กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ว่า สหรัฐอเมริกา นั้นไม่ได้มีความต้องการ ที่จะปล้นน้ำมัน ของอิรัก ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางด้านสหรัฐฯ ก็ได้จ่ายค่าแก๊ส และ น้ำมัน ให้กับประเทศผู้ผลิตมาโดยตลอด และ ตัวเขาเองก็เชื่อมั่นว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ก็คงไม่มีความต้องการจะปล้นน้ำมันจากประเทศใด ๆ และคงจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวครบเหมือนเดิมในอนาคต

ซึ่งก่อนหน้านี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้พูดขณะที่ได้ไปเยือนสำนักงานใหญ่ของสำนักข่าวกรองกลาง หรือ ซีไอเอ ว่าสหรัฐฯ ควรยึดแหล่งน้ำมันในอิรัก เพื่อเป็นการตัดขาดท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มไอเอส และนำเอารายได้ จากแหล่งผลิตน้ำมันมาเป็นทุนในการสนองนโยบายทางทหารของสหรัฐฯ

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ


 

การเดินทางเยือนอิรัก ของทางด้าน พล.อ.เจมส์ แมตทิส เกิดขึ้นในขณะที่กองกำลังทหารของรัฐบาลอิรัก ได้ดำเนินการไล่ล่ากลุ่มก่อการร้ายไอเอส ทางฝากฝั่งตะวันตกของเมืองโมซุล ซึ่งถือเป็นฐานที่มั่นแห่งสุดท้ายในอิรักของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้ นอกจากนั้นทางด้าน รมว.กลาโหมสหรัฐฯ และ พล.อ.โจเซฟ ดันฟอร์ด ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐฯจะต้องทำแผนยุทธศาสตร์ปราบปรามกลุ่มไอเอส ส่งให้กับทางด้าน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ภายใน 30 วัน ซึ่งทางด้าน นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกคำสั่งพิเศษ ไว้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2560

 

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ

ในขณะที่เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 ที่ผ่านมานั้นทางรัฐบาลอิรัก ได้ออกมาเรียกร้อง ให้สหรัฐฯ เพิกถอนคำสั่งแบนวีซ่าพลเมืองอิรัก ซึ่งถือเป็น การตัดสินใจที่ผิดพลาด ขณะที่รัฐสภาอิรักเตรียมออกมาตรการตอบโต้หากสหรัฐฯยังไม่ทบทวนจุดยืน คำขู่จากอิรักเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาตอบโต้ที่ทั่วโลกมีต่อคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งห้ามมิให้พลเมืองจากอิรัก, อิหร่าน, ซีเรีย, ซูดาน, โซมาเลีย, ลิเบีย และเยเมน เดินทางเข้าอเมริกาอย่างน้อย 90 วัน โดย นายโดนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่ามาตรการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากกลุ่มก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรง

 

 

 

 


ก่อนหน้านี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ เคยพูดหลายครั้งว่า สหรัฐฯ ควรจะปล้น น้ำมันของอิรักเสียก่อนที่จะถอนทหารออกมาในปี 2011 และมาตรการแบนวีซ่าอาจทำให้สหรัฐฯ ยิ่งถูกต่อต้านจากรัฐบาลและพลเมืองของประเทศซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการทำสงครามกวาดล้างลัทธิก่อการร้าย


ทางด้านรัฐสภาอิรักก็มีมติเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการตอบโต้ลักษณะเดียวกัน หากสหรัฐฯ ไม่ยอมเพิกถอนคำสั่ง นอกจากนี้ยังขอให้สภาคองเกรสสหรัฐฯ กดดันประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ทบทวนการตัดสินใจ และขอให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น), สันนิบาตอาหรับ และองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ออกมาคัดค้านคำสั่งดังกล่าวด้วย
 


คำสั่งของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยที่เดินทางไปถึงสหรัฐฯ ถูกกักตัวอยู่ตามสนามบินต่างๆ และยังกระตุ้นให้ชาวอเมริกันหลายหมื่นคนออกมาเดินขบวนประท้วง มีการยื่นฟ้องเอาผิดกับรัฐบาล และเรียกเสียงประณามรุนแรงจากนักสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการกิจการต่างประเทศแห่งรัฐสภาอิรักก็เสนอให้รัฐบาลใช้มาตรการกีดกันชาวอเมริกันบ้างเช่นกัน แต่ ฮัสซัน ชไวริด รองประธานคณะกรรมการ ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องของพวกเขาไม่ได้เหมารวมถึงทหารอเมริกันที่กำลังปฏิบัติภารกิจต่อต้านไอเอส ส่วนทางด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยืนยัน ว่าจะโน้มน้าว ให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้ยอมผ่อนผันแก่ชาวอิรักที่ทำงานเป็นทหารและล่ามให้กับกองทัพสหรัฐฯ

 

สวนทางผู้นำ!! “รมว.กลาโหมสหรัฐฯ”  ยืนยัน ไม่เคยคิด “ปล้นน้ำมัน” จาก “อิรัก” แต่ “ทรัมป์” หลุดปาก “ปล้นน้ำมันมาเป็นทุนสนองนโยบายทางทหารสหรัฐฯ


Sathaporn Tnews.