เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

เคลื่อนเสาเอกและโครงสร้างเหล็กพระเมรุมาศ จากโรงงาน จ.พระนครศรีอยุธยา ไปท้องสนามหลวง

       (วันที่ 22 กพ. 60 )  ขบวนรถบรรทุกโครงเหล็กประกอบพระเมรุมาศ จำนวน 5 คัน เคลื่อนขบวนออกจากโรงงานที่ ต.โพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อมุ่งหน้าสู่ท้องสนามหลวง เเละจะมีการขนย้ายไปจนถึงวันที 24ก.พ. นี้

 

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

 


       ขบวนรถบรรทุกโครงเหล็กสำหรับก่อสร้างพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบไปด้วยรถบรรทุกเทเลอร์ขนาดใหญ่ 5 คัน คันแรกนำด้วยรถเทเลอร์บรรทุกเสาโครงเหล็กประกอบเสาเอกพระเมรุมาศ ตามด้วยรถบรรทุกรากฐานรับน้ำหนักพระเมรุมาศ 4 คัน โดยจะเคลื่อนย้ายเหล็กบางส่วนจากโรงงาน ที เฟรม แอนด์ ทรัส ที่ตำบลโพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปยังท้องสนามหลวง ใช้ฤกษ์เวลา 16.49 น. และจะทยอยเคลื่อนย้ายจนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เพื่อรองรับพิธียกเสาเอกพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้  ฤกษ์ในเวลา 10 โมง 1 นาที  โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

 


       สำหรับเส้นทางขนส่งเริ่มจากโรงงานเข้าสู่ถนนสายเอเซีย และเลี้ยวเข้าถนนสาย 347 บางปะหัน-ปทุมธานี จากนั้นจอดรถพักที่ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน และเวลา 21.00 น. จะเคลื่อนขบวนขึ้นทางด่วนเชียงรากน้อย ลงทางด่วนยมราช ไปยังท้องสนามหลวง

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

 

 

เคลื่อนย้ายโครงสร้างเหล็ก เเละเสาเอก"พระเมรุมาศ" ไป"ท้องสนามหลวง" พร้อมบวงสรวงยกเสาเอก "27ก.พ."นี้ (มีภาพ)

 

 

     การสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้มีขนาดใหญ่ สูงถึง 50.49 เมตร เป็นทรงบุกษก 9 ยอด เทียบความสูงเท่าตึก 18 ชั้น โครงสร้างฐานรากทั้งหมดจึงถูกวิเคราะห์และออกแบบให้มั่นคงปลอดภัยถึง 2 เท่า สามารถรับแรงลมทั้งทางตรงและด้านข้าง ต้านทานแรงสั่นสะเทือน เสาทุกต้นทำด้วยเหล็กกล่องขนาดใหญ่ มีคุณสมบัติรองรับแรงทั้ง 4 ด้านเท่ากัน เมื่อนำงานวิจิตรศิลป์มาติดตั้งไม่ทำให้โครงสร้างพลิ้วไหว สามารถต้านแรงลมบนยอดพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร และพระวิสูตรหรือม่านขนาดใหญ่ โดยโครงสร้างหลักใช้เสา 4 ต้น คือ เสาเอก เสาโท เสาต้นที่ 3 และต้นที่ 4 มีขนาดเท่ากันทั้ง 4 ต้น ความสูง 23.5 เมตร หนัก 20 ตัน ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้ว 100%

 

     ความพิเศษของการวางโครงสร้างครั้งนี้ ทีมวิศวกรกรมศิลปากรออกแบบให้เสาทุกต้นของพระเมรุมาศยึดเข้ากับโครงเหล็กรับเสา หรือซูเปอร์ทรัส ขนาด 16 ตัน ความสูง 1.8 เมตร ยาว 17 เมตร แตกต่างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยโครงเหล็กรับเสาจะวางบนฐานคอนกรีตยึดด้วยน็อตขนาดใหญ่อีกชั้น แม้จะเป็นการสร้างพระเมรุมาศแบบชั่วคราว หรือแบบน็อกดาวน์ แต่มีความมั่นคงปลอดภัยคงทนสูง

 

 

     การติดตั้งโครงสร้างเหล็กและเสาพระเมรุมาศตามแผนต้องแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคม ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประกอบงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ลงบนพระเมรุมาศ ซึ่งต้องดำเนินงานควบคู่กันให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด การออกแบบโครงสร้างพระเมรุมาศ นอกจากจะก่อสร้างได้รวดเร็ว ยังง่ายต่อการรื้อถอน ซึ่งโครงสร้างเหล็กทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทีมผู้จัดทำยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ทุกส่วนอย่างคุ้มค่าที่สุด

 

 

 

ขอบคุณภาพ

Rungrot Kongpiban

สำนักข่าวไทย