ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระพุทธญาณเรศวร์

ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

ที่เคยสงสัยว่า ทำไมจึงศักดิ์สิทธิ์

           ถ้าไม่ได้เห็นภาพในอดีต และบันทึกจากผู้ที่อยู่เหตุการณ์ในวันนั้นมาประกอบในการเล่า คนรุ่นหลังคงมองเพียง พระประธานในพระอุโบสถวัดญาณสังวราราม

สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์

           เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๙ สังกัดธรรมยุตินิกาย มีคำเลื่องลือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างมากมาย ด้วยการสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชกุศลต่อสมเด็จพระนเรศวร์มหาราช เป็นพระพุทธปฏิมาที่ประทับอยู่บนพื้นแผ่นดินอย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จเททองหล่อ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๓ ณ อุโบสถรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ในกาลครั้งนี้ พระพุทธที่นำบรรจุ มีพระพุทธรูป ภปร.ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว ๙นิ้ว ปี๒๕๐๘,พระไพรีพินาศ ปี๒๕๐๕ ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว,รูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ปี๒๕๐๖ ผู้เป็นอุปัชฌาย์จารย์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

 

           

 

           สำหรับท่อที่อัดดินต่อขึ้นมาถึงฐานองค์พระ ก็ด้วยที่จะให้พระพุทธญาณเรศวร์ ได้ประทับนั่งบนแผ่นดิน เพื่อแผ่บารมี โดยการต่อท่อบรรจุดินขึ้นมาจนถึงฐานชุกชีเพื่อเป็นการอัญเชิญพระพุทธบารมีให้แผ่ไปทั่วผืนปฐพี พรหมเทพ เทวดา ทั้งหลายเสด็จแวดล้อมรักษา จึงมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่

           เมื่อครั้งที่บรรจุพระในพระพุทธญาณนเรศวร์ ตอนที่สร้างองค์พระครึ่งองค์ ท่านสุริยะ จงอติเรกลาภ และคุณทินกร รัตนกุสุมภ์ ได้นุ่งชุดขาว ลงไปบรรจุพระ โดยมีเด็กชายกลกร รวบรวม ,เด็กชายฐิติพัฒน์ รวบรวม ลูกศิษย์รับใช้ แล้วจึงประกอบท่อนบนขององค์พระต่อ และหลังจากบรรจุพระด้านบนพระรัศมีแล้วเสร็จ จึงได้ลงรักปิดทอง

ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

           อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน บรรจุพระบรมธาตุในยอดพระเกศมาลา และปิดทับด้วยพระรัศมี และทรงอัญเชิญพระกรัณฑ์ทองคำที่สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชนนีทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ลงในพระเศียร พระพุทธญาณเรศวร์ ในองค์สมเด็จพุทธญาณนเรศวร์ จึงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธพิมพ์เท่าพระธรรมขันธ์ ในที่นี้จะเผยแผ่ปาฏิหาริย์แห่งองค์สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ เพื่อเสริมศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นปรากฏว่ามีคราบน้ำไหลจากพระเนตร

            สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จัดสร้างด้วยผู้สร้างได้ใช้ต้นแบบจากองค์สมเด็จพุทธชินสิห์ พระประธานวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นแบบปั้นหุ่น เมื่อตรวจแบบหุ่นขี้ผึ้งเป็นที่เรียบร้อยจึงจัดพิธีเททองขึ้น เมื่อเททองเสร็จปรากฏว่าไม่งดงามอย่างที่ตั้งใจไว้และไม่เหมือนกับองค์ต้นแบบ คือ สมเด็จพระพุทธชินสีห์ ทำให้คณะกรรมการที่จัดสร้างรู้สึกกังวลใจและเศร้าหมองเป็นอย่างมากจนกระทั่งอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนฐานชุกชีก่อนเพื่อรอฉลองในวันรุ่งขึ้นก็ยังไม่สบายใจ

 

ด้วยพระบารมีของ"สองธรรมราชา" ร่วมสร้าง! ที่มา"พระพุทธญาณเรศวร์" แห่งวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร รู้แล้วสิ้นสงสัย..ว่าเหตุใดจึงศักดิ์สิทธิ์นัก!

         ในที่สุดปาฏิหาริย์แห่งองค์สมเด็จพุทธญาณนเรศวร์ก็บังเกิดในวันรุ่งขึ้นเมื่อทำพิธีฉลองสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ ทรงมีวรรณรัศมีที่เปล่งประกายออกมา พระพักตร์ที่เดิมไม่งดงามนักเปลี่ยนเป็นพระพัตร์ที่งดงามทรงบารมีน่าเกรงขาม ยังให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการทุกคนถึงกับขนลุก

           เมื่อถึงกำหนด เสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ยอดพระเกศ อีกทั้ง ครูบาอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีในพระอุโบสถต่างกล่าวว่าเป็นเพราะพรหมเทพสำคัญๆ หลายองค์ได้อัญเชิญพุทธรัศมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงตรงมายังองค์สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ พรหมเทพ จึงแวดล้อมมากมาย ยังให้เกิดปาฏิหาริย์ยังความสง่างามให้บังเกิดสมพระบารมี

 

 

 

จินต์จุฑา รายงาน

ที่มา : ป๊อป วัดบวร