๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

หากจะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ที่ทรงชอบและทรงเชียวชาญ รักการเลี้ยงปลาแล้วก็อดที่จะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ของ ๒ ประเทศ คือ ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้ เพราะทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีความสามารถ และรักปลาจนแทบจะมีการกล่าวว่า “ทรงรักเหมือนลูก”และทรงมีการเจริญสัมพันธไมตรีกันระหว่างประเทศโดยการใช้ปลาเป็นสื่อ คือ “ปลานิล”

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ติดตามข่าวต่อเนื่องได้จาก : ชาวญี่ปุ่น รักและเทิดทูล ในหลวง รัชกาลที่๙ มาก รู้หรือไม่เพราะเหตุใด?

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ตั้งแต่โบราณกาลของญี่ปุ่น มีสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ ในปัจจุบันนี้เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระอิสริยยศ”สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ”ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ ๑๒๕ ของประเทศญี่ปุ่น ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เท็นโน เฮกะ หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะเรียกว่า ยุคเฮเซ  หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว อาจมีการขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำผู้หนึ่ง ในกลุ่มนักวิชาการประมงเรียกตัวเองว่า มีนกร” (คำนี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา เด็กประมง ม.เกษตรศาสตร์ เรียกตัวเองว่า มีนกรมาแต่ไหนแต่ไร) ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกะคุชุอิน กรุงโตเกียว

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ในส่วนของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เรื่องราวเริ่มต้นในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖ ซึ่งเป็นวันครบรอบแห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระองค์ ทรงปล่อยปลาหมอเทศ ปลาแรด และปลากระโห้ลงในบ่อที่พระราชวังไกลกังวล ซึ่งเป็นบ่อที่ดัดแปลงจากสระว่ายน้ำและใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเป็นตัวอย่างตามพระราชดำริ เนื่องจากมีพระราชประสงค์จะส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงปลาน้ำจืด ด้วยทรงเห็นว่าแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่มีอยู่บ่อน้ำที่ขุดขึ้น ควรมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหาร เมื่อปลาทั้งหลายที่เลี้ยงไว้โตจนได้ขนาด จึงได้พระราชทานปลาจากบ่อหลวงนี้พร้อมด้วยหนังสือคู่มือว่าการเลี้ยงแก่ราษฏรเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป และเมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าปลาชนิดใดเลี้ยงง่าย จะทรงพยายามหาพันธุ์มาพระราชทาน จนกระทั่งวันหนึ่งในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๐๗  สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น เสด็จเยือนประเทศไทย มกุฎราชกุมารพระองค์นี้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ปลาอย่างหาตัวจับยาก ด้วยเหตุนี้  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้รับสั่งขอพระราชทานพันธุ์ปลานิล และต่อมาปลานิลจากญี่ปุ่นก็เดินทางจำนวน ๕๐ ตัว ก็ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ว่ากันว่าปลานิล ๕๐ ตัวที่เดินทางไกลมานั้น เหลือรอดถึงวังสวนจิตรลดาเพียง ๑๐ ตัว และในหลวงของเราได้ทรงประคับประคองปลานิลที่รอดชีวิตเหล่านี้ โดยทรงทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดาอย่างใกล้ชิด จนมีเรื่องเล่ากันว่า ทรงไม่โปรดเสวยปลานิล เพราะเคยมีพระกระแสรับสั่งว่า  “ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินได้อย่างไร” ในที่สุดปลานิลได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี จึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica) ) และทรงพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกรต่อไป ส่วนปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า “ปลานิลจิตรลดา”

๒ พระราชาผู้ทรงรักและเชียวชาญเรื่องปลายิ่งกว่าผู้ใด จักรพรรรดิอะกิฮิโต และ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ข้อมูล วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://irrigation.rid.go.th และ http://www.chiangmaicitylife.com

ติดตามข่าวต่อเนื่องได้จาก : “อาหารที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไม่ทรงโปรดมาก จนถึงกับโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปจากโต๊ะเครื่องเสวยทุกครั้ง!!!

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์