รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๘

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

หลังจากเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคกลาง อีสาน และเหนือแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๐๒ เป็นเวลาประมาณ ๒๐ วัน โดยเสด็จออกจากพระนครด้วยขบวนรถไฟพิเศษ โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการมาส่งเสด็จเป็นจำนวนมากแล้ว พระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง ๓ พระองค์ ได้ไปส่งเสด็จที่สถานีรถไฟด้วย ขบวนเสด็จออกจากสถานีจิตรลดาในเวลา ๖.๔๕ น. ของวันที่ ๖ มีนาคม ประทับที่ชุมพร ๑ คืน ต่อจากนั้นเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งตลอด ไปยังจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากนราธิวาสเสด็จโดยรถไฟไปประทับที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดสุดท้าย

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

ติดตามข่าวเพิ่มเติม : ๕๙ ปีแห่งความทรงจำ การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรครั้งแรกที่ภาคเหนือของ รัชกาลที่ ๙ เมื่อ ๒๗ ก.พ.-๑๗ มีค. ๒๕๐๑(ภาพหาชมยาก)

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

       ขบวนรถไฟพระที่นั่งเข้าเทียบชานชาลาสถานีรถไฟชุมพร อันเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ เมื่อเวลา ๑๗.๔๐ น.ในคืนวันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดเสด็จเยี่ยมราษฎรภาคเหนือ ให้ประชาชนชมที่โรงเรียนประจำจังหวัดชุมพร ชุมพรศรียาภัยและโปรดให้แพทย์ส่วนพระองค์ฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาต์แก่ประชาชน ด้วยปืนฉีดยาแบบใหม่ที่เรียกว่า ไฮโปสเปรย์มีประชาชนสนใจมารับการฉีดวัคซีนแบบใหม่กันมาก เนื่องจากช่วงเวลาเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนี้ เป็นระยะเวลาที่มีอหิวาตกโรคระบาดประจำในทุกปี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงให้จัดรถพยาบาลพิเศษ พร้อมด้วยแพทย์พยาบาลและเวชภัณฑ์ ติดตามขบวนเสด็จไปทุกจังหวัด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนที่มาแน่นขนัดอยู่ในเมืองชุมพรนั้น ถนนยังกับย่านเยาวราช แม้แต่ ๒๑ น.แล้ว ประชาชนก็ยังขวักไขว่อยู่ตามถนนต่างๆเหมือนมีงาน ตกดึกก็นอนกันอยู่ข้างถนน รอเฝ้าวันรุ่งขึ้น บางคนก็นอนที่หน้าศาลากลางจังหวัด ยึดที่ไว้เฝ้าในตอนเช้า

ในวันที่ ๘ มีนาคม เวลา ๐๗.๐๐ น.เสด็จพระราชดำเนินออกจากจังหวัดระนองไปพังงา ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในทิวทัศน์อันสวยงามตามเส้นทางระหว่างระนองกับกะเปอร์เป็นอย่างมาก ขบวนเสด็จถึงตะกั่วป่าเมื่อเวลา ๑๒.๐๐ น.       ในสมัยนั้นยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปถึงท่านุ่น รถยนต์พระที่นั่งต้องลงแพขนานยนต์ ข้ามช่องปากพระจากท่านุ่นของพังงา ไปท่าฉัตรไชยของภูเก็ต มีประชาชนรอเฝ้าอยู่แน่นขนัด นอกจากพสกนิกรชาวไทยแล้ว ชาวต่างชาติในภูเก็ต ทั้งจีน อินเดีย มลายู ฝรั่งทุกชาติทุกภาษา ต่างตั้งซุ้มในแบบของตนเรียงรายไปไม่ต่ำกว่า ๒๐ ซุ้ม ในเย็นและค่ำวันเสด็จมาถึงนั้น การจราจรในภูเก็ตหลายสายต้องติดขัด

       ในคืนวันที่ ๙ ฝนซึ่งไม่เคยตกในภูเก็ตมา ๓-๔ เดือนแล้ว ได้เกิดตกมาอย่างหนักเป็นเวลาถึง ๔๕ นาที ชาวภูเก็ตถือกันว่าเป็นอภินิหาร แต่ทำให้สมเด็จพระราชินีมีพระอาการประชวรเป็นหวัดเล็กน้อย

       ในเช้าวันที่ ๑๑ มีนาคม พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปรเวทออกชมเกาะภูเก็ตพระองค์เดียวอีก ไปประทับที่หาดป่าตอง ตอนบ่ายได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิต นมัสการพระพุทธรูปทองคำที่เพิ่งพบใหม่ จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่ศาลากลางจังหวัดพังงา และเสด็จไปเยี่ยมราษฎรที่อำเภอทับปุด จากนั้นจึงเสด็จไปยังจังหวัดกระบี่และนครศรีธรรมราช

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

ติดตามข่าวเพิ่มเติม : ตามรอยความศรัทธาในราชวงศ์จักรีต่อประเพณี“ แห่พระบฏขึ้นธาตุ” ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์!!! สืบสานประเพณีชาวพุทธ ของคนนครศรีฯ ในวันมาฆบูชา

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

       ในวันที่ ๑๔ มีนาคม ในการเสด็จลงให้ประชาชนเฝ้า ขณะนั้นนครศรีธรรมราชกำลังจะมีพิธีเก็บข้าว ที่ปฏิบัติกันมาจะใช้ แกะเก็บข้าวทีละรวง เมื่อทรงไต่ถามราษฎรเรื่องการทำมาหากิน พบกับผู้มีอาชีพทำนา จึงทรงแนะนำให้ใช้เคียวเกี่ยวข้าวจะได้รวดเร็วกว่ามาก

       ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ทั้งสองพระองค์เสด็จไปน้ำตกพรหมโลก อำเภอเมือง ซึ่งปัจจุบันขึ้นกับอำเภอพรหมคีรี ซึ่งราษฎรอำเภอเมือง อำเภอลานสกา อำเภอหัวไทร อำเภอท่าศาลา ทั้งไทยพุทธและอิสลาม โดยการนำของนายอำเภอท่าศาลา ร่วมกันตัดถนนมาเป็นเวลาแรมเดือน เพื่อให้เสด็จไปทอดพระเนตรน้ำตกที่ร่ำลือกันว่าสวยจนสุดพรรณนา และด้เข้ากราบนมัสการพ่อท่านคล้าย เกจิอาจารย์ของภาคใต้ในสมัยนั้น

       วันที่ ๑๖ เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากที่ประทับไปจังหวัด

       ในเช้าวันที่ ๑๗ มีนาคม เสด็จออกจากจังหวัดตรังไปพัทลุง และทอดพระเนตรการแสดงมโนราห์โดย ขุนอุปถัมภ์นรากร หรือมโนราห์พุ่มเทวา ซึ่งเป็นครูของมโนราห์ชื่อดังในภาคใต้หลายคน ขณะนั้นอายุ ๗๐ ปีเศษแล้ว พอมโนราห์ไหว้ครูฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก จึงต้องรำในสายฝน ส่วนคนที่รับเสด็จ ก็เฝ้ากันอยู่เหมือนไม่มีฝนเกิดขึ้น

       ที่จังหวัดสงขลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปยังวัดมัชฌิมาวาส เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้าและสมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์

       ในวันที่ ๑๙ มีนาคม เวลา ๐๙.๐๐ น. ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จทางชลมารคทอดพระเนตรการแข่งเรือในทะเลสาบสงขลา โดยมีเรือชื่อ พัทลุงเป็นเรือประทับ กลางทะเลสาบมีซุ้มที่ชาวประมงตำบลบ้านหัวเขาแต่งถวาย มีพระปรมาภิไธยย่อของทั้งสองพระองค์และตัวอักษร จงทรงพระเจริญด้านล่างมีเครื่องหมายของ ๒ ศาสนา พุทธและอิสลาม เมื่อเรือพระที่นั่งผ่านซุ้ม พระสงฆ์สวดชยันโต ส่วนฝ่ายอิสลามก็สวดประสานเสียง นับได้ว่าเป็นเรื่องแปลกของโลก ที่ต่างศาสนาร่วมกันได้อย่างสนิทแนบในประเทศไทย

      วันต่อมา ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมมัสยิดกลางนราธิวาส และเสด็จเยี่ยมราษฎรที่อำเภอระแงะ

      ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ก่อนขบวนรถพระที่นั่งจะเทียบชานชาลาสถานีสุราษฎร์ธานี ฝนได้กระหน่ำลงมาอย่างหนัก แต่ประชาชนที่รอเฝ้ารับเสด็จอย่างล้นหลามก็ไม่ยอมถอย กล่าวกันว่าฝนตกเพราะพระบารมี และซาลงเมื่อขบวนรถพระที่นั่งมาถึงสถานีสุราษฎร์ธานีในเวลา ๑๘.๓๕ น.      

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จจากที่ประทับแรมไปยังสถานีรถไฟสุราษฎร์ เพื่อประทับรถไฟพระที่นั่งกลับสู่พระนคร โดยขบวนรถไฟพระที่นั่งเทียบชานชาลาสถานีจิตรลดาเมื่อเวลา ๐๙.๐๐ น.ของวันที่ ๒๘ มีนาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา ขณะพระชนมายุ ๗ พรรษา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงการณ์ ขณะพระชนมายุ ๖ พรรษา เสด็จขึ้นรับสองพระองค์บนรถไฟ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงทรงจูงพระหัตถ์พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จเจ้าฟ้าชายทรงจูงพระหัตถ์สมเด็จพระราชินี ลงมาจากรถไฟพระที่นั่ง

       นี่ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่จะจารึกอยู่ในหัวใจคนไทยตลอด ๕๘ ปีที่ผ่านมา

ที่มา : http://www.manager.co.th และ oknation  และไทยรัฐออนไลน์

รำลึก ๕๘ ปี เส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จเยี่ยมพสกนิกรทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ปี ๒๕๐๒

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์