ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร!! วางแผนซับซ้อน ปฏิวัติซ้อนปฏิวัติ "รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม" ร่างไว้เตรียมการ ยึดอำนาจได้เมื่อไหร่...ประกาศใช้ทันที่!!??

ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร!! วางแผนซับซ้อน ปฏิวัติซ้อนปฏิวัติ "รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม" ร่างไว้เตรียมการ ยึดอำนาจได้เมื่อไหร่...ประกาศใช้ทันที่!!??

หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 มีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์ไป และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วนั้น เป็นเวลา 85ปี ที่ประเทศไทยปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ จนถึงปัจจุบันนี้มีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ แต่เชื่อหรือไม่ว่า 25ปี ของคณะราษฎรใช้รัฐธรรมนูญไปถึง 6ฉบับ

โดยที่แปลกประหลาดที่สุด คือรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า ฉบับ "ใต้ตุ่ม" โดยมีสมาชิกคณะราษฎรคนหนึ่งที่ชื่อว่า พลโท พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หลวงกาจ กาจสงคราม  หรือ เทียน เก่งระดมยิง ได้เตรียมร่างรัฐธรรมนูญแอบเอาไว้ใต้ตุ๋ม

 

ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร!! วางแผนซับซ้อน ปฏิวัติซ้อนปฏิวัติ "รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม" ร่างไว้เตรียมการ ยึดอำนาจได้เมื่อไหร่...ประกาศใช้ทันที่!!??

หลวงกาจ กาจสงคราม

โดยเตรียมการที่จะรัฐประหารล้มรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  หลวงกาจสงครามอ้างเรื่องแผนมหาชนรัฐว่าจะก่อให้เกิดการวินาศกรรมครั้งใหญ่ จึงได้ตัดสินใจรัฐประหารเสียก่อน โดยหมายมั่นปั้นมือนำ จอมพล ป. ที่สูญสิ้นอำนาจไปจากพ้ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง  จากนั้นเมื่อวันที่8พ.ย. 90  เกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศ นำโดย หลวงกาจสงคราม เป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งประกอบด้วยนายทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ  พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียรและ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ แต่เพื่อให้เกิดความตายใจ ได้แต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี  และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2490 ฉบับที่ 4 ก่อนหน้านี้เก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ “ใต้ตุ่ม” หรือ “ตุ่มแดง”  

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม เนื่องจากหลวงกาจสงคราม เป็นผู้ร่างไว้ตั้งแต่ระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ยังใช้บังคับอยู่ และได้นำเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มแดงในบ้าน โดยเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลค้นพบและถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้เด็ดขาดแล้วในตอนค่ำของวันที่ 8 พฤศจิกายน นายเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ ได้ใช้เวลาแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำอีก 7 ชั่วโมง ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลขอให้ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้นมีพระบรมราชโองการประกาศใช้

โดยคณะรัฐประหารได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แทนรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ว่า ที่จำต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญฉบับก่อนเหมาะสมกับประเทศไทยในสมัยที่แล้วมาเท่านั้น นอกจากนั้นแนวการปกครองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นเหตุให้ประเทศชาติทรุดโทรมลงเป็นลำดับได้ คณะรัฐประหารเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็น “วิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร” และเป็น “ทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวงให้เข้าสู่ภาวะปกติได้สืบไป”

 

แต่หลังจากการบริหารประเทศของนายควง อภัยวงศ์ เพียงไม่นาน เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2491 ในวันที่ 6 เม.ญย. 91หลวงกาจสงครามพร้อมทหารสี่นาย ได้บุกเข้าพบนายควง ที่ทำเนียบรัฐบาล และบีบบังคับให้นายควงลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนายควงก็ลาออกแต่โดยดี การรัฐประหารครั้งนี้เรียกว่า “รัฐประหารเงียบ” เนื่องจากไม่มีการใช้กำลังทหาร และเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด และตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีตามความต้องการแต่แรกเริ่ม 

ไม่เพียงเท่านั้นกลุ่มคนเหล่านี้ยังเคยใช้รัฐธรรมนูญตามอำเภอใจของตนเอง และนำรัฐธรรมนูญส่งให้ผู้สำเร็จราชาการแทนพระองค์ลงนาม โดยคณะสำเร็จราชาการแทนฯจะมี2คน คนหนึ่งลงนามแต่อีกคนไม่ได้ลงนาม  กลุ่มคนเหล่านี้ก็ประกาศใช้ แสดงให้เห็นถึงความรุกแก่อำนาจ ความเป็นเผด็จการอีกซีกหนึ่งของคระราษฎร