รำลึกถึง"วังวิเซอร์"ที่แห่งนี้ไม่ใช่วังร้าง! แต่คือห้องเรียนของนิสิตจุฬาฯ เผย!ความรู้สึกผู้เคยเรียน ต่างพากันรู้สึกโกรธแค้น เมื่อวังถูกทุบ!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

 

จากบทความของ ร.ศ.รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์. "รำลึกประวัติศาสตร์จุฬาฯ กับ พระตำหนักวินเซอร์”" หนังสือจามจุรี สื่อเชื่อมสายใย น้ำใจน้องพี่ กรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๔๐

รำลึกถึง"วังวิเซอร์"ที่แห่งนี้ไม่ใช่วังร้าง! แต่คือห้องเรียนของนิสิตจุฬาฯ เผย!ความรู้สึกผู้เคยเรียน ต่างพากันรู้สึกโกรธแค้น เมื่อวังถูกทุบ!

วังวินเซอร์ในความทรงจำ..

          "ศ.ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ ท่านเป็นปูชนียบุคคลทางด้านภาษาและวรรณคดีไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนที่ตึกอักษรเก่า และตึกคณะวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ห้อง ๒๐๐ พอขึ้นปีที่ ๓ จึงย้ายไปเรียนที่พระตำหนักวินเซอร์ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสนามศุภชลาศัยหรือสนามกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน วิชาเรียนชั้นปีที่ ๓ เป็นวิชาครูเมื่อจบปีที่ ๓ แล้วจะต้องออกฝึกสอน (ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ) ๑ ปี โรงเรียนที่ทางมหาวิทยาลัยใช้เป็นโรงเรียนฝึกสอนคือ โรงเรียนหอวัง ซึ่งก็อยู่ในบริเวณพระตำหนักวินเซอร์ นั่นเอง นอกจากโรงเรียนหอวัง แล้วยังมีโรงเรียนอื่น ๆ ภายนอกด้วย ท่านเป็นนักเรียนทุนได้เงินเดือน เดือนละ ๑๕ บาท ได้อยู่หอพักฟรีซึ่งหอพักมี ๔ หลัง ตั้งอยู่หลังพระตำหนักวินเซอร์ เรียกว่า ก ข ค ง หอพักอาคาร ก และ ง เป็นอาคารเตี้ย อาคารหอพัก ข และ ค เป็นอาคารใต้ถุนสูง ชั้นล่างให้เป็นที่รับประทานอาหารและทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย ท่านอาจารย์เล่าว่า รู้สึกประทับใจหอวังมาก มีอาคารหอพัก นิสิตอยู่สบายดี ห้องใหญ่ มีเตียงนอน ตู้เสื้อผ้า ชั้นหนังสือพร้อม แต่เวลานอนต้องกางมุ้งเพราะยุงชุมมาก ปกติจะอ่านหนังสือนอกห้องพัก แต่พอใกล้สอบนิสิตหลายคนก็จะเอาโต๊ะทำงานเข้าไปตั้งในมุ้ง ท่องหนังสือ และทำงานในมุ้ง พอง่วงมาก ๆ ก็จะมุดลงไปนอนใต้โต๊ะนั้น ตอนนั้น พระยาภะรตราชา เป็นผู้ดูแลหอพัก ซึ่งก็มีตำแหน่งเป็นอนุสาสกเช่นกัน พระยาภะรตราชา ท่านเป็นคนเข้มงวดมาก คอยกวดขันความประพฤติของนิสิต เช่นคอยเตือนไม่ให้นิสิตนั่งไขว่ห้างฟังคำบรรยาย เป็นต้น

รำลึกถึง"วังวิเซอร์"ที่แห่งนี้ไม่ใช่วังร้าง! แต่คือห้องเรียนของนิสิตจุฬาฯ เผย!ความรู้สึกผู้เคยเรียน ต่างพากันรู้สึกโกรธแค้น เมื่อวังถูกทุบ!

          สำหรับพระตำหนักวินเซอร์ เป็นอาคาร ๓ ชั้น มีบันไดขึ้นลงตรงกลาง พระตำหนักนี้เดิมเป็นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาจึงใช้เป็นอาคารเรียนของมหาวิทยาลัย อาคารชั้น ๒ มีห้องเรียนสำหรับเรียนวิชาครู นอกจากนี้ยังใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนหอวังด้วย ท่านจำได้ว่าอาจารย์ ๒ ท่าน ที่สอนเมื่อครั้งเรียนชั้นปีที่ ๓ ที่พระตำหนักวินเซอร์ คืออาจารย์ เอส เอช โอนีล และหลวงปราโมทย์ จรรยาวิภาค นอกจากนั้นยังมีอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงวิจิตรวาทการ ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) ส่วนด้านหลังของพระตำหนักวินเซอร์มีสนามเทนนิสอีก ๓-๔ สนามสำหรับนิสิต ด้านหน้าพระตำหนักเป็นสนามฟุตบอล ซึ่งกีฬาทั้งสองชนิดเป็นที่นิยมของนิสิตในสมัยนั้น

รำลึกถึง"วังวิเซอร์"ที่แห่งนี้ไม่ใช่วังร้าง! แต่คือห้องเรียนของนิสิตจุฬาฯ เผย!ความรู้สึกผู้เคยเรียน ต่างพากันรู้สึกโกรธแค้น เมื่อวังถูกทุบ!

             เมื่อสำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม) เป็นรุ่นที่ ๓ ก็ออกไปรับราชการสอนหนังสือที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรได้เงินเดือน เดือนละ ๘๐ บาท รู้สึกสบายมาก เพราะเคยได้เดือนละ ๑๕ บาทเท่านั้น พอสอนหนังสือได้ ๑ ปี ทราบว่าทางจุฬาฯ เปิดหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นหลักสูตร ๔ ปี ซึ่งถ้าจะกลับมาเรียนก็เรียนเพิ่มอีก ๒ ปี เนื่องจากเรียนไปแล้ว ๒ ปี แต่จะกลับมาเรียนทันทีไม่ได้ เพราะรับทุนกระทรวงฯ ไว้ ต้องทำงานใช้หนี้ก่อน อย่างไรก็ตามได้พยายามกลับมาเรียนให้ได้ โดยไปขอให้เปิดสอนตอนบ่ายบ้าง ขออนุญาตทางกระทรวงฯ บ้างขณะนั้น พระตีรณสารวิศวกรรม เป็นปลัดกระทรวงฯ อยู่ ในที่สุดก็ได้กลับมาเรียนในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต นิสิตที่กลับมาเรียนหลักสูตรนี้ก็จะมีนิสิตเก่าที่จบไปแล้ว รุ่นที่ ๑ และ ๒ รวมกับรุ่น ๓ ด้วย ฯพณฯ องคมนตรี ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ สำเร็จอักษรศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ นับเป็นอักษรศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ ๑

             ท่านยังเล่าเสริมอีกว่า บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ในตอนนั้นเป็นป่าจามจุรี ร่มครึ้ม ส่วนบริเวณพระตำหนักวังวินเซอร์ เต็มไปด้วยป่าไม้ประดู่ลำต้นสูงใหญ่ ถ้าเดินผ่านตอนกลางคืนก็น่ากลัวอยู่เหมือนกัน

             ต่อมาอาคารพระตำหนักวินเซอร์ก็ถูกรื้อไป เมื่อทางราชการจะเอาสถานที่นี้ไปสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ ทำให้บรรดาผู้ที่เคยร่ำเรียนที่พระตำหนักวินเซอร์โกรธมากโดยเฉพาะผู้ที่เป็นต้นคิดถูกโกรธเป็นอันดับหนึ่ง..."

 

 

 

จากบทความของ ร.ศ.รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์. "รำลึกประวัติศาสตร์จุฬาฯ กับ พระตำหนักวินเซอร์”" หนังสือจามจุรี สื่อเชื่อมสายใย น้ำใจน้องพี่ กรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๔๐

 

ที่มา : หอประวัติจุฬาฯ