ตำนาน "รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง" รอยประทับที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับไว้ในดินแดนพระพุทธศาสนาหลายประเทศ พร้อมบทนมัสการ

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

รอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง


ในอินเดียโบราณความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ในทุกศาสนา ไม่ว่าในศาสนาพราหมณ์ เชน และพุทธ สำหรับพุทธศาสนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุดที่แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท คือ ปุณโณวาทสูตร ในอรรถกถาของพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมานิกาย กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงทิ้งรอยพระบาทไว้สองแห่ง คือ ฝั่งแม่น้ำนัมมทาและบนภูเขาสัจจพันธคีรี ส่วนหลักฐานที่เป็นรอยพระพุทธบาท เริ่มพบในศิลปะอินเดียตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว จากนั้นจึงปรากฏแพร่หลายทั่วไปในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ถึงคติการนับถือรอยพระพุทธบาทของไทยว่า รับสืบเนื่องมาจากชาวอินเดียและลังกา โดยชาวอินเดียแต่ครั้งพุทธกาลหรือก่อนหน้านั้น ไม่นิยมสร้างรูปเทวดาหรือมนุษย์ไว้บูชา เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจึงสร้างสถูปหรือวัตถุต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ รอยพระพุทธบาทเป็นวัตถุหนึ่งที่นิยมทำในสมัยนั้น
ส่วนคติของชาวลังกาเกิดขึ้นภายหลัง มีกล่าวถึงในตำนานเรื่อง มหาวงศ์ ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จทางอากาศไปยังลังกาทวีปและทรงเทศนาสั่งสอนชาวลังกาจนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับมัชฌิมประเทศ จึงได้ทรงทำปาฏิหาริย์ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ยอดเขาสุมนกูฎ เพื่อให้ชาวลังกาได้ทำการสักการบูชา
    ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เมื่อหลวงจีนฟาเยนเดินทางมาถึงลังกา ได้บันทึกโดยเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้สองแห่งในลังกา คือ ยอดเขาสุมนกูฏแห่งหนึ่ง กับอีกรอยทางทิศเหนือของเมืองอนุราธปุระ ซึ่งในเอกสารลังกากลับไม่พบการยืนยันถึงสถานที่ดังกล่าว หากแต่ในบทสวดบาลีที่ใช้กันในเมืองไทย มีการกล่าวถึง "สุวัณณมาลิก" ว่าเป็นหนึ่งในรอยพระบาทในจำนวน ๕ แห่งที่พระพุทธเจ้าประทับไว้ ได้แก่ เขาสัจพันธ์คีรี ฝั่งแม่น้ำนัมมทา เขาสุมนกูฏ และโยนกปุระ จึงเห็นได้ว่าความเชื่อที่ว่ามีรอยพระพุทธบาทแท้จริงที่เขาสัจจพันธ์คีรีและฝั่งแม่น้ำนัมมทานั้นเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่สุด เกิดขึ้นในอินเดียและปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ส่วนเขาสุมนกูฎและสุวรรณมาลิกเกิดขึ้นในลังกา และลังกาก็ได้ลืมรอยพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณมาลิกไปแล้ว แต่มาเหลือตกค้างอยู่ในบทสวดมนต์ที่ใช้ในเมืองไทย ซึ่งรับอิทธิพลทางพุทธศาสนามาจากลังกา ส่วนโยนกปุระเป็นสถานที่ที่ฝ่ายไทยเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง และอาจหมายถึงดินแดนอาณาจักรล้านนาที่เป็นอาณาจักรโยนกมาก่อน

หลักฐานการบูชารอยพระพุทธบาทในไทยที่เก่าสุด คือ รอยพระบาทคู่ที่สระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑๑๓ ในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานการทำรอยพระบาทอีกจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงพบแพร่หลายขึ้นทั้งในสุโขทัยและล้านนา อันอาจเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่พระเถระจากสุโขทัยและล้านนาหลายรูปได้เดินทางไปลังกาหรือพม่าอันเป็นดินแดนที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ไปเจริญอยู่ กระทั่งสืบคติดังกล่าวต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา โดยเฉพาะเมื่อมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนเขาสุวรรณบรรพตในจังหวัดสระบุรี การบูชารอยพระพุทธบาทยิ่งแพร่หลายขึ้นอีกมาก มีการค้นพบรอยพระบาทตามที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง พร้อมไปกับความนิยมในการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ก็มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทจำลองย่อมมีอานุภาพและสิริมงคลประดุจรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง

ตำนาน "รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง" รอยประทับที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับไว้ในดินแดนพระพุทธศาสนาหลายประเทศ พร้อมบทนมัสการ

 

คำนมัสการรอยพระพุทธบาท 5 แห่ง 

วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง
ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง
โย โลกะเสฏโฐ สะกะลังกิเลสัง
เฉตะวานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง
ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร
ยัง สัจจะพันธะคิริเก สุเมนา จะลัคเค
ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง
ตัง ปาทะลัญชะนะมะหังสิระสา นะมามิ
สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต สุมะนะกูเฏ
โยนะกะปุเร นัมมะทายะ นะทิยา
ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง 
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ 
อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว
ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติฯ 


คำแปล
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ,
ผู้เป็นธงชัยของไตรโลก ผู้เป็นนาถะเอกของไตรภพ,
ผู้ประเสริฐในโลก ตัดกิเลสทั้งสิ้นได้แล้ว ช่วยปลุกชน
หาที่สุดมิได้ให้ตรัสรู้มรรคผลและนิพพาน,
รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
ในหาดทรายแทบฝั่งแม่น้ำนัมมะทา,
รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
เหนือยอดเขาสัจจะพันธ์ และเหนือยอดเขาสุมะนา,
รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงไว้,
ในเมืองโยนะกะ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาท และ
รอยพระบาทนั้น ๆ ของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า,
ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาท, 
อันประเสริฐ ๕ สถานแต่ที่ไกล, คือที่เขาสุวรรณมาลิก ๑
ที่เขาสุวรรณะบรรพต ๑, ที่ยอดเขาสุมะนะกูฏ ๑,
ที่โยนะกะบุรี ๑, ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา ๑,
ข้าพเจ้าขอนมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใดๆ อันบุคคล
ควรไหว้โดยส่วนยิ่ง, อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้,
ได้แล้วซึ่งกองบุญอันไพบูลย์,
ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้นจงขจัดภัยอันตราย เสียเถิด,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา,
ขอให้ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,
ด้วยประการฉะนี้แล ฯ

จากบทสวดมนต์นี้มีรอยพระพุทธบาทห้าแห่ง คือ
1) สุวัณณะมาลิเก 2) สุวัณณะปัพพะเต 3) สุมะนะกูเฏ 4) โยนะกะปุเร 5) นัมมะทายะ นะทิยา

ตำนาน "รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง" รอยประทับที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับไว้ในดินแดนพระพุทธศาสนาหลายประเทศ พร้อมบทนมัสการ

 

จากการค้นหาข้อมูลจากพระไตรปิฎกในปุณโณวาทสูตร อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีการค้นหา สุวรรณมาลิกและสุมนกูฏ อยู่ในประเทศศรีลังกา ส่วนอีกสามแห่งอยู่ในประเทศไทย ในพระไตรปิฎกเรียกว่า แคว้นสุนาปรันตะ ห่างจากเชตวันวิหาร 3000 โยชน์ (บางตำราว่า 300 โยชน์) ทรงเสด็จทางอากาศพร้อมภิกษุอรหันต์ 499 รูปไปโปรดดาบสที่เขาสัจจพันธ์ (สระบุรี) ให้บรรลุพระอรหันต์บวชแล้วตามเสด็จพระพุทธองค์ไปโปรดนิมมทานาคราช พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนิมมทา (เชื่อกันว่าคือรอยพระพุทธบาทที่เกาะแก้วพิศดาร ปลายแหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต) จากนั้นโปรดให้พระสัจจพันธ์กลับไปพำนักที่เขาสัจพันธ์ตามเดิม พระสัจพันธ์ทูลขอเครื่องสักการะบูชา พระพุทธองค์จึงประทับรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดเป็นตำนานที่มาของรอยพระพุทธบาทบนเขาสัจจพันธ์ จ.สระบุรี ส่วนรอยพระพุทธบาทที่โยนกบุรี คงหมายเอาชื่อโยนกนครอันเป็นชื่อเดิมของล้านนาตามที่กล่าวไว้ข้างบนที่ ส่วนที่ศรีลังกานั้นมีเจดีย์องค์หนึ่งบนเขาอภัยคีรี หรือ Abhayagiri Dagoba (ไทยเรียกว่า สุวรรณมาลิก หรือ สุวรรณมาลี) สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ดังข้อความภาษาอังกฤษอ้างอิงดังนี้

The Abhayagiri Dagoba is the second biggest brick structure in the world after the Jetavana Dagoba. The Abhayagiri Dagoba was built by King Gajabahu (114-136AD) and reaches a height of 370 feet (115m). Abhayagiri monastery is one of the eight sacred sites for Buddhists in Anuradhapura, Sri Lanka. It is believed that the Abhayagiri Dagoba was built over the footprint of the Buddha.The Buddha came to Lanka and by his supernatural powers placed one foot in the north of Anuradhapura, the other on top of Adam's Peak.

The Abhayagiri Dagoba is the second biggest brick structure in the world after the Jetavana Dagoba. The Abhayagiri Dagoba was built by King Gajabahu (114-136AD) and reaches a height of 370 feet (115m). Abhayagiri monastery is one of the eight sacred sites for Buddhists in Anuradhapura, Sri Lanka. It is believed that the Abhayagiri Dagoba was built over the footprint of the Buddha.The Buddha came to Lanka and by his supernatural powers placed one foot in the north of Anuradhapura, the other on top of Adam's Peak.

คำนมัสการ ลายลักษณ์พระพุทธบาท

สำหรับเรื่องรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งนี้ ผู้เขียนใคร่ขอ รณรงค์วัฒนธรรมไทยอีก เรื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังจะสูญหายไปจากความนิยม ไทยสมัยใหม่ ถ้าหากผู้ที่ได้ศึกษาเรื่อง มงคล ๑๐๘ ประการในฝ่าพระบาท หรือที่เรียกว่า ลายลักษณ์พระบาทซึ่งเป็นศิลปกรรมยุคโบราณ คนสมัยก่อนได้นำมาผูกเป็นบทกลอน ในปัจจุบันนี้บางวัดยังท่องกันอยู่ แต่ส่วนใหญ่กำลังจะสาบสูญไปแล้ว คณะอาจารย์สันต์ ภู่กร (เริ่มท่องเป็นประจำ) ผู้เขียนจึงได้นำต้นฉบับเก่าๆ ทั้งของภาคกลางและภาคใต้ ที่นิยมท่องกันสมัยนั้นมาเทียบเคียง พร้อมกับตรวจทานกับคัมภีร์ พุทธปาทะลักขณะซึ่งจารึกไว้เป็นภาษาบาลี จึงได้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง โดยมีใจความคล้าย ทำนองเสนาะ

ตำนาน "รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง" รอยประทับที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับไว้ในดินแดนพระพุทธศาสนาหลายประเทศ พร้อมบทนมัสการ

ที่มา http://kamontham.orgfree.com

             https://board.postjung.com