25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตพระนเรศวร! เปิดตำนาน “เหลืองหางขาว” ไก่เชลย! ชัยชนะครั้งแรกตอนทรงพระเยาว์ สู่ยุทธหัตถี “ช้างกู้เมือง”

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

       ในวันที่ 25 เมษายน ของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันที่คนไทยควรร่วมน้อมรำลึกถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องจาก 25 เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ สาเหตุเพราะสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ พระอาการหนัก สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษา ในอดีตพระองค์ได้กอบกู้อิสรภาพของไทย และทำนุบำรุงบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนปกปักรักษาเอกราชของชาติจนทำให้มีประเทศไทยอย่างเช่นทุกวันนี้

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตพระนเรศวร! เปิดตำนาน “เหลืองหางขาว” ไก่เชลย! ชัยชนะครั้งแรกตอนทรงพระเยาว์ สู่ยุทธหัตถี “ช้างกู้เมือง”

                        ในครั้งพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดการชนไก่มาก เมื่อครั้งไปเป็นองค์ประกันอยู่กรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ " ไก่เหลืองหางขาว " จากบ้านกร่างเมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี การชนไก่ระหว่างพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า ในปี พ.ศ. 2112 เมื่อครั้งที่พระองค์ตกเป็นเชลยของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง และผลปรากฎว่า ไก่ชนของไทยเป็นฝ่ายชนะ ทำให้พระมหาอุปราชาเกิดโทสะและพิโรธมาก จึงตรัสเสียดสีเหยียดหยามสมเด็จพระนเรศวรว่า "ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ" สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีพนันชนเอาเดิมพันเลย ถึงชนเอาบ้านเอาเมืองกันเมื่อไหร่ก็ได้” นับเป็นชัยชนะในวัยเยาว์ของพระองค์

 

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตพระนเรศวร! เปิดตำนาน “เหลืองหางขาว” ไก่เชลย! ชัยชนะครั้งแรกตอนทรงพระเยาว์ สู่ยุทธหัตถี “ช้างกู้เมือง”

            เช้าของวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้วหรือเคยผ่านสงครามชน ช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงค์บาทเท่านั้นที่ติดตามไปทัน สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าว พระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้า พี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอ เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง แต่ในมหายาชะเวงหรือพงศาวดารของพม่า ระบุว่า การยุทธหัตถีครั้งนี้ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรบุกเข้าไปในวงล้อมของฝ่ายพม่า ฝ่ายพม่าก็มีการยืนช้างเรียงเป็นหน้ากระดาน มีทั้งช้างของพระมหาอุปราชา ช้างของเจ้าเมืองชามะโรง ทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ระดมยิงปืนใส่ฝ่ายพม่า เจ้าเมืองชามะโรงสั่งเปิดผ้าหน้าราหูช้างของตน เพื่อไสช้างเข้ากระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรเพื่อป้องกันพระมหาอุปราชา แต่ปรากฏว่าช้างของเจ้าของชามะโรงเกิดวิ่งเข้าใส่ช้างของพระมหาอุปราชาเกิดชุลมุนวุ่นวาย กระสุนปืนลูกหนึ่งของทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ยิงถูกพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์

25 เมษายน วันคล้ายวันสวรรคตพระนเรศวร! เปิดตำนาน “เหลืองหางขาว” ไก่เชลย! ชัยชนะครั้งแรกตอนทรงพระเยาว์ สู่ยุทธหัตถี “ช้างกู้เมือง”

 

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนเรศวรมหาราช