เรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้!! ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา สู่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

กระแสข่าวการขุดคลองเชื่อมระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย กลับเข้ามาสู่ความสนใจอีกครั้ง ดังนั้น จะได้นำเอาบทวิเคราะห์มาให้อ่านกัน

 

ในช่วงเวลานี้ กระแสข่าวการขุดคลองเชื่อมระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย กลับเข้ามาสู่ความสนใจอีกครั้ง ดังนั้น จะได้นำเอาบทวิเคราะห์ ที่ทาง เสธ น้ำเงิน ได้เขียนไว้บนเพจ แฉ..ความลับ มาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกัน


วันที่
16 ส.ค.57 ไขปริศนา..ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา (ตอน 1)

มีการถกเถียงกันตลอดมาว่า ทำไมประเทศไทยไม่ขุดคลองคอดกระ เราไม่มีศักยภาพ ปัญหาความมั่นคงดินแดน มีอะไรมาค้ำคอเราไม่ให้ขุด หรือว่าเกี่ยวกับความมั่นคงระหว่างประเทศ เพราะ รายได้จากการเดินเรือ ความเจริญของพื้นที่ รวมถึงทำให้ไทยต่อยอดธุรกิจทางเรือได้

คอคอดกระ คือ ส่วนแคบที่สุดของแผ่นดิน อยู่ภาคไต้ของไทย มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตก จรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร การขุดคลองคอคอดกระ เพื่อเชื่อมทะเลอันดามันกับอ่าวไทย พูดกันมากว่า 300 ปีแล้ว เพราะพื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ

พ.ศ. 2200 สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เปิดประเทศติดต่อกับชาติยุโรป เคยคิดในการที่จะขุดคลองตัดผ่าน ในสมัยนั้นพระองค์ทรงศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างทางน้ำตัดผ่านคอคอดกระ เพื่อเชื่อมต่อสงขลา กับมะริด แต่วิทยาการสมัยนั้นยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าพอที่จะทำโครงการนี้ให้สำเร็จได้

พ.ศ. 2303- 2373 ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป โดยเริ่มในอังกฤษ ก่อน ทำให้อังกฤษเกิดความทะเยอทะยาน และขวนขวายที่สร้างฐานอำนาจของตนนอกทวีปยุโรป เอเชียจึงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดในโลก

อังกฤษจึงต้องการสร้างความได้เปรียบ โดยครอบครองแหล่งทรัพยากรดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการผลิต การขายสินค้า และแสวงหาตลาด อังกฤษ ตามด้วยฝรั่งเศส เยอรมนี (ปรัสเซีย) และรัสเซีย พากันเดินทางโดยเรือ เข้ามายังเอเชีย โดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่เมืองจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของทวีป

อังกฤษต้องการเปิดเสรีการค้าในจีนแต่ไม่สำเร็จ จึงก่อสงครามฝิ่นขึ้นเพื่อเอาชนะจีน เมื่อชนะแล้ว ก็ได้ครอบครองตลาดการค้าขนาดใหญ่สมใจปรารถนา การเดินทางติดต่อกับเอเชียในอดีตกาล ต้องใช้เรือสำเภา หรือเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ รอนแรมมาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน

และต้องแวะจอดพักตามเมืองท่าภาคบังคับของอังกฤษ ที่อินเดีย ปีนัง และสิงค์โปร์เป็นหลัก อังกฤษจึงเป็นอิทธิพลมากที่สุดครอบครองเส้นทางหลักสายนี้ตลอดมา มหาอำนาจอังกฤษ และ ฝรั่งเศส จึงช่วงชิงกัน ในการขยายอำนาจนอกอาณาจักร ทำให้ไทยต้องถูกบีบให้เสียดินแดนหลายครั้ง คือ

พ.ศ.2329 เสียดินแดนครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 1 เสียเกาะหมาก (ปีนัง) ให้กับประเทศอังกฤษ พื้นที่ 375 ตร.กม. เกิดจากพระยาไทรบุรี ให้อังกฤษ เช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมาก จากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ จนในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไปดื้อ ๆ

ช่วงนี้ สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ ดำริเรื่องการขุดคลองเชื่อม 2 ฝั่งทะเล แต่ก็ไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อ

 

เรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้!! ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา สู่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

พ.ศ.2336 เสียดินแดนครั้งที่ 2 ในสมัยรัชกาลที่ 1 เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า พื้นที่ 55,000 ตร.กม. แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย แต่มังสัจจา เจ้าเมืองทวาย แปรพักตร์ไปเข้ากับพม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้

ประกอบกับชาวเมืองทวายส่วนใหญ่เป็นมอญ เกรงจะถูกไทยกวาดกลับกรุงเทพฯ จึงเกิดการต่อต้านสยาม เมื่อพม่ายกทัพใหญ่มาถึง กองทัพสยามต้องล่าถอยออกมา จึงตกเป็นของพม่าไป และสยามไม่สามารถยึดเมืองคืนได้อีก

พ.ศ.2353 ครั้งที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 2 เสียบันทายมาศ (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส

พ.ศ.2368 เสียดินแดนครั้งที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่า พื้นที่ 62,000 ตร.กม. แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ แต่เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล

ประกอบกับเกิดกบฏ เจ้าอนุเวียงจันทร์ และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นไม่นานพม่า ก็เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุง ก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง

พ.ศ.2369 เสียดินแดนครั้งที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษ เป็นการสูญเสีย ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปีเท่านั้น

พ.ศ.2393 เสียดินแดนครั้งที่ 6 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เสียสิบสองปันนาให้กับจีน พื้นที่ 90,000 ตร.กม. เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวง ที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเชียงรุ้งเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเองในราชวงศ์ เจ้าที่ครองราชย์นั้นขอสวภิภักดิ์กับจีน ส่วนเจ้าแสนหวีฟ้า มหาอุปราช หนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

ไทยจึงได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง เพื่อจะได้เดินทางไปตีเมื่องเชียงรุ้งต่อได้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท ยกทัพไปตีเชียงตุง เป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จอีก เพราะสยามกำลังที่ไม่เข้มแข็งพอ อีกทั้งในภูมิศาสตร์เดินทางขนเสบียงเสียเปรียบ จึงต้องเสียให้จีนไป

พ.ศ. 2401 ในสมัยรัชกาลที่ 4 อังกฤษได้เสนอขอพระบรมราชานุญาต ทำการขุดคอคกระ แนวระนอง-หลังสวน เป็นส่วนที่แคบที่สุด พระองค์ทรงยินยอมแต่ขาดเงินทุน ทำให้หยุดชะงัก

พ.ศ.2406 อังกฤษสำรวจบริเวณคอคอดกระ ส่วนที่แคบที่สุดได้แต่ติดสันเขา ขุดลำบาก เครื่องมือไม่มีจึงยกเลิก

ฝรั่งเศสจึงมีความพยายามคลองเชื่อม ทวีปยุโรป กับ มหาสมุทรอินเดีย โดยต้องการสัมปทานในการขุดคลองสุเอซ ฝรั่งเศสจะมีเปรียบดีกว่าอังกฤษ ในการขอสัมปทาน เพราะนายเดอเลสเซป หัวหน้าโครงการ มี connection อยู่กับ เจ้าเมืองอียิปต์

แต่อังกฤษ ก็พยายามขัดขวาง ฝรั่งเศสทุกวิถีทาง ด้วยการเสนอรัฐบาลอียิปต์ ให้อังกฤษตัดหน้าสร้างทางรถไฟคร่อมคอคอดแม่น้ำไนล์ แทนการขุดคลองของฝรั่งเศส แต่เส้นทางรถไฟก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางการอียิปต์ ซึ่งไม่ต้องการผูกขาดกับอังกฤษอีกต่อไป เนื่องจากตกอยู่ภายใต้การปกครอง และอิทธิพลของอังกฤษมานาน จึงต้องการหันไปหาฝรั่งเศสบ้าง

พออังกฤษรู้ตัวว่าจะสู้ฝรั่งเศสไม่ได้ ก็ใช้มุกเดิมที่ใช้มาจนปัจจุบัน คือ สร้างสงครามตัวแทน โดยปลุกระดมมวลชนที่เป็นแรงงานต่างด้าว ให้ลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบในอียิปต์ จนเกิดการจลาจลย่อยๆ ขึ้นที่กรุงไคโร เป็นเหตุให้ทางการต้องส่งกำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ และระงับเหตุวุ่นวาย

พ.ศ. 2412 ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ของอังกฤษ ก็หนุนรัฐบาลอียิปต์ จนการขุดคลองดำเนินต่อไปได้ จนประสบความสำเร็จในการขุดคลองสุเอซ ลัดเชื่อมทวีปยุโรป กับ มหาสมุทรอินเดีย ทำให้การเดินทางติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลกใกล้ชิด และสะดวกยิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สร้างความผิดหวังให้อังกฤษ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ และความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดินิยม 2 มหาอำนาจนี้ ในส่วนต่างๆ ของโลกบ่อยขึ้น

พ.ศ.2410 เสียดินแดนครั้งที่ 7 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เสียเขมร และเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส พื้นที่ 124,000 ตร.กม. เพราะฝรั่งเศส บังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง จากฝรั่งเศส หลังจากนั้น ได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่ตกลงกันไม่ได้

ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศส ได้ทำสัญญากัน โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ระหว่างพม่าที่อังกฤษยึด กับเขมรที่ฝรั่งเศสยึด

ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ รัชกาลที่ 5 (ช่วงนั้นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์) ที่เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย เห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนนี้ไป

พ.ศ. 2411 หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ขุดคลองสุเอซสำเร็จ ฝรั่งเศสขอเจรจาเพื่อดำเนินการขุดคอคอตกระ แต่รัชกาลที่ 4 ไม่อนุญาต เนื่องจากเกรงจะเสียพระราชอาณาจักร ช่วงนี้ความขัดแย้งโครงการขุดคลองลัดนานาชาติในสยาม กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ถูกยับยั้งไว้

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสเข้ามาเกลี้ยกล่อมสยาม อ้างว่าเป็นตัวแทนของวิศวกรที่เคยขุดคลองสุเอซ สำเร็จมาแล้ว ได้ขอสำรวจคอคอกกระ หรือกิ่วกระ บริเวณแคบสุดของแหลมมลายู เพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมไปทางแหลมมลายู ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองกับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ระยะทาง 50 กิโลเมตร

โดยมีแนวคิดว่าจะมีการขุดคลองเชื่อม เพื่อร่นระยะเวลาการเดินทางของเรือเดินสมุทร จากฝรั่งเศสมาเวียดนาม โดยไม่ต้องไปอ้อมแหลมมลายู ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษมหาอำนาจคู่แข่งสำคัญในยุคนั้น

 

เรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้!! ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา สู่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

พ.ศ. 2426 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศส ยึดเวียดนามได้อย่างเด็ดขาด ฝรั่งเศสเลยอยากที่จะขุดคลองลัดเชื่อมมหาสมุทรอินเดีย เข้ากับทะเลจีนใต้ เพื่อจะได้เดินทางมายังเมืองอาณานิคมของตน ในอินโดจีนสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องผ่านเส้นทางทางผูกขาด ของอังกฤษ อ้อมไปแหลมมลายู

พ่อค้า และนักการเมืองฝรั่งเศสจึงกดดันรัฐบาลของตน ให้รื้อฟื้นเรื่องขุดคดคอดกระขึ้นอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ต่อการเดินเรือ ของฝรั่งเศส ไปยังเวียดนาม ความพยายามครั้งใหม่ มีเหตุผลทางการเมืองมากกว่าในสมัยก่อนๆ

กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้แจ้งข่าวเรื่องคนฝรั่งเศส เสนอโครงการขุดคลองกระไปยังลอนดอน รมต.ต่างประเทศอังกฤษ ได้ออกคำสั่งให้กงสุลของตน พยายามยับยั้งล็อบบี้ มิให้สยามให้สัมปทานแก่ฝรั่งเศส ขุดคลองคอคอดกระ ด้วยเกรงว่าฝรั่งเศส จะแผ่อิทธิพลมากเกินไปในภูมิภาคนี้ และกระทบกระเทือนกับธุรกิจการเดินเรือของอังกฤษในสิงคโปร์

กงสุลอังกฤษ จึงเปิดการเจรจาปัญหานี้กับรัฐบาลสยาม แต่ปรากฏว่าได้รับคำตอบที่คลุมเครือและไม่น่าพอใจ การเมืองภายในราชสำนักสยาม ก็ยังไม่เป็นเอกภาพ เนื่องมาจากเสนาบดีว่าการกรมท่า และกลาโหม เสนาบดี มีบทบาทสูง มีอำนาจในการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
ในเวลานั้น สนับสนุนให้ขุดคลองนี้ ในเขตปกครองของตน เพราะหวังจะได้ประโยชน์ส่วนตัว จากการให้สัมปทานแก่ฝรั่งเศส

แม้ในตอนต้นรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน อำนาจทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น อังกฤษจะมีอิทธิพลมากกว่าชาติอื่นๆ ในสยาม พระองค์ก็ต้องรักษาน้ำใจสงวนท่าทีกับอังกฤษ ผู้มีอิทธิพลสูงสุดในสยามประเทศเวลานั้น อีกทั้งพระองค์ ก็ทรงเป็นไมตรี และสนับสนุนอังกฤษอยู่ แต่ในเวลานั้น พระองค์ก็ยังมิได้ทรงมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินอย่างเต็มที่ และอิทธิพลด้านการต่างประเทศ ยังอยู่ในมือของขุนนาง

อังกฤษจึงกลัวว่า คณะเสนาบดีจะมีอิทธิพลเหนือพระเจ้าแผ่นดินไทย และชักนำพระองค์ให้เห็นดีด้วยกับพวกฝรั่งเศส จากแรงสนับสนุนของขุนนางให้ทีมงานฝรั่งเศสประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วเหมือนคลองสุเอซอีก

ช่วงนั้นไทยแม้จะเป็นประเทศเสรี แต่อยู่ในสถานะรัฐกันชน และโดนบีบจากทั้งสองฝ่าย คือ ฝั่งพม่า และมลายู ก็เป็นของอังกฤษ ฝั่งอินโดจีน ก็เป็นของฝรั่งเศส ก็พยายามประคับประคองสถานการณ์ให้ดีที่สุด สิ่งที่รัชกาลที่ 5 ทรงหน่วงเหนี่ยวไว้ คือ การให้ฝรั่งเศสสำรวจให้แน่ใจก่อนว่า จะเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน และราษฎรเพียงใด เพราะที่บริเวณนั้นมีบ่อแร่ที่สำคัญอยู่หลายแห่ง

ถึงแม้จะดูเหมือนการเหยียบเรือสองแคม แต่ท่าทีที่สยามเข้าด้วยกับทุกฝ่าย ย่อมแสดงว่าสยามมีอิสรภาพทางความคิด ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความเห็นของชาวต่างชาติ จากภายนอกประเทศเสมอไป

ฝรั่งเศสจึงสำรวจพื้นที่ และทำแผนที่ขึ้น โดยไม่แยแสต่อรัฐบาลอังกฤษ แผนที่สำรวจคอคอดกระฉบับแรก หรือพิมพ์เขียว (Blueprint) จึงเกิดขึ้นโดยผลงานของชาวฝรั่งเศส ท่ามกลาง ความประหลาดใจ ระคน กับความหวั่นวิตก ของอังกฤษ ที่เห็นการตัดสินใจของสยาม

ทำให้อังกฤษปักใจเชื่อว่าโครงการคอคอดกระ มีผลประโยชน์ทางการเมือง จากกลุ่มขุนนางภายใน และกลุ่มจักรวรรดินิยม จากภายนอกประเทศแอบแฝงอยู่ แผนที่ฉบับนี้จะกลายเป็นเผือกร้อน ที่กดดันให้สยาม เรื่องคอคอดกระ

ทฤษฎีหนึ่งคือ ขุดคลองกระตามคำแนะนำของฝรั่งเศส อีกทฤษฎีหนึ่งคือ ฉีกแผนที่ฉบับนี้ทิ้งเพื่อรักษาความเป็นกลางไว้ต่อไป รัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้กุศโลบายซื้อเวลา การถ่วงเวลามิให้การขุดคลองกระเกิดขึ้นอย่างรีบร้อนเกินไป จนกว่าจะทรงแน่พระทัยถึงผลลัพธ์ และเงื่อนไขอำพรางจากทุกฝ่าย

ทรงเห็นว่าถ้าให้ฝรั่งเศสขุดคลองนี้ขึ้น ประโยชน์อังกฤษจะตกไป อังกฤษคงจะไม่ยอมเป็นแน่ ก็จะหาเรื่องกับไทย จึงควรต้องแน่ใจเสียก่อนว่าฝรั่งเศสได้พูดตกลงกับอังกฤษแล้วถึง จะให้ดำเนินการต่อไป

รัชกาลที่ 5 ทรงบ่ายเบี่ยง และต่อรองให้ทางการอังกฤษ ตอบยืนยันก่อนว่าเห็นด้วย ถ้าให้ฝรั่งเศสขุดคลองกระ ซึ่งอังกฤษก้ถ่วงเวลาไม่รีบร้อนที่จะตอบให้ทราบ เพราะอังกฤษจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที ดังนั้นพระองค์จึงถ่วงเวลาไม่ให้ขุดได้จะดีที่สุด จึงทรงให้ฝรั่งเศสก็สำรวจพื้นที่ไปเรื่อย ๆ แต่การเรื่องการขุดคลองก็ยืดเวลาออกไป จนเรื่องเงียบหายไปในที่สุด

โดยที่ไม่มีแถลงการณ์จากรัฐบาลสยามเกี่ยวกับความชัดเจนของโครงการนี้ ไม่มีคำยืนยันการให้สัมปทานแก่ ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพิเศษ ทุกอย่างสิ้นสุดลงโดยปราศจากคำอธิบายใดๆ ภายหลังการสำรวจของชาวฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลงแล้ว

แผนที่สำรวจคอคอดกระของฝรั่งเศส ได้สูญหายจากประเทศสยามนับแต่นั้น และไม่มีใครพูดถึงอีกเลย สันนิษฐานว่าแผนที่ฉบับนี้ถูกทำลายหลักฐาน เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางการสยาม

สยามพะวังอยู่กับการปราบโจรจีนฮ่อ ซึ่งเป็นสงครามปลายพระราชอาณาเขต แถบแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก พงสาลี เชียงขวาง และหลวงพระบาง รัชกาลที่ 5 ทรงพะวงอยู่กับการจัดกองทัพไปปราบปราม งติดพันอยู่หลายครั้ง เป็นเวลายาวนานถึง 33 ปี ก็ยังปราบไม่สำเร็จ

การที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครมไม่เป็นปกติสุข ส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นด้านความมั่นคง การใดจะเสียเปรียบต่างชาติ และการผูกมัดด้านการต่างประเทศ จึงเน้นความรอบคอบเป็นที่สุด

พ.ศ.2431 เสียดินแดนครั้งที่ 8 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ช่วงนั้นพวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทย จึงจัดกำลัง 2 กองทัพไปปราบ แต่เป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่ามาช่วยไทยปราบฮ่อ

แต่หลังจากปราบได้แล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมยกทัพกลับอีก และไทยก็กองทัพอ่อนแอไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ

เรื่องที่คุณยังไม่เคยรู้!! ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา สู่ปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้