เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

รายการทีนิวส์สด ลึก จริงวันนี้(1พ.ค.60)นำเสนอรายงานโพลสำรวจเปิดโพลแรงงานไทย กับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

      โพลชี้แรงงานไทยยังคุณภาพเท่าเดิม ขอรัฐปรับค่าจ้างขั้นต่ำเหมาะสมค่าครองชีพ รายได้เท่ากับรายจ่ายไม่เหลือเก็บ 15 องค์กรลูกจ้าง-สพร.ท.เรียกร้องรัฐบาล 5 ข้อ ปฏิรูปประกันสังคม เร่งแก้กฎหมายดูแลแรงงานนอกระบบ นักวิชาการคาดสถานการณ์เลิกจ้างลดลง หลังเศรษฐกิจกระเตื้อง แต่ยังขาดแคลนบางสาขา


        ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เรื่อง “คุณภาพชีวิตแรงงานไทย” จากประชาชนที่เป็นผู้ใช้แรงงาน 

       จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 พบว่า ผู้ใช้แรงงานมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ 7.41 (พอใจค่อนข้างมาก)

      และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมอาชีพ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 7.88 รองลงมาคือด้านลักษณะงานที่ทำ ตรงกับความต้องการ 7.73 ด้านสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ (สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ) 7.53 ด้านผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน 7.40 ด้านความสมดุลระหว่าง การทำงาน การพักผ่อน และชีวิตส่วนตัว 7.38 ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา สิทธิประโยชน์ต่างๆ ฯลฯ) 7.06 และด้านความมั่นคง โอกาส และความก้าวหน้าในอาชีพ 6.89

       สำหรับความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในภาพรวมของการทำงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 42.24 ระบุว่าเหมือนเดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง, ร้อยละ 34.08 ระบุว่าดีขึ้น และร้อยละ 23.68 ระบุว่าแย่ลง

       ด้านความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทยในปัจจุบัน ภายหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 พบว่า ผู้ใช้แรงงาน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.04 ระบุว่ายังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก รองลงมาร้อยละ 28.40 แรงงานไทยถูกทดแทนด้วยแรงงานต่างด้าวในแถบอาเซียนเพิ่มมากขึ้น, ร้อยละ 15.76 แรงงานไทยไม่ได้รับการพัฒนา ขาดการเอาใจใส่ หรือให้ความสำคัญ, ร้อยละ 8.80 แรงงานไทยได้รับการพัฒนาด้านภาษา ฝีมือ ทักษะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น, ร้อยละ 0.64 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ งานที่หายากมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว และค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่สอดรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่าแรงงานไทยมีความมั่นคงและสวัสดิการที่ดีขึ้น

       ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 ระบุว่าควรพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ รองลงมาร้อยละ 42.08 ควรหมั่นตรวจสอบ ควบคุม ดูแล บริษัท ผู้ประกอบการ นายจ้าง ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน หรือเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ, ร้อยละ 39.52 ควรปรับปรุงหรือแก้ไขข้อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิ สวัสดิการต่างๆ ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน, ร้อยละ 34.24 ระบุว่าควรส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านความรู้ ฝีมือ ให้กับแรงงานไทย

       ร้อยละ 32.64 ระบุว่าควรเร่งแก้ไขปัญหาการว่างงาน ส่งเสริมการมีงานทำ การจัดหางาน การออกบูธประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน, ร้อยละ 26.24 ระบุว่าควรเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว, ร้อยละ 1.20 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ลดค่าครองชีพ, เร่งจัดหาแหล่งที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ไม่มีอาชีพ ควรมีการช่วยเหลือจากภาครัฐให้กับผู้ที่ปลดเกษียณหรือมีรายได้น้อย และควรกระจายแรงงานไปยังภูมิภาคต่างๆ และร้อยละ 3.52 ไม่มี/ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ


       ในส่วนของผลสำรวจจากกรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า” โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,149 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 305-310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ เริ่ม 1 ม.ค.2560 ที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 34.8 ไม่ทราบข่าว 

       ทั้งนี้ เมื่อถามต่อว่าได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาทแล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 ระบุว่า “ได้รับแล้ว” ขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่า “ยังไม่ได้รับ
ขอปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่ม

        สำหรับเรื่องความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เห็นว่าน่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่าเป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนร้อยละ 14.4 เห็นว่ายิ่งขึ้นยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น

       เมื่อถามว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4 เห็นว่าพอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ส่วนร้อยละ 33.8 เห็นว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 18.8 เห็นว่าเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

        และเมื่อให้เปรียบสภาพทางการเงินของตนเองกับสำนวนไทย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 เปรียบได้กับสำนวน พออยู่พอกิน รองลงมาร้อยละ 31.4 ชักหน้าไม่ถึงหลัง และร้อยละ 3.1 เหลือกินเหลือใช้

       นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน หรือกีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เห็นว่า “ไม่ใช่” ขณะที่ร้อยละ 48.6 เห็นว่า “ใช่” 

        เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีเพิ่มขึ้น จาก 300 ไปจนถึง 700 แก่กลุ่มแรงงานมีฝีมือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.7 ระบุว่า “ไม่ทราบ” ขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่า “ทราบ”

        สุดท้ายเมื่อถามว่า หากมีโอกาสอยากได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านใดจากหน่วยงานภาครัฐหรือกระทรวงแรงงาน เพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.3 อยากได้รับการพัฒนาด้านการทำอาหาร เครื่องดื่มมากที่สุด รองลงมาด้านไอที คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 20.9) และด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 19.9)

        ส่วนทางด้านน.ส.อัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท.) เปิดเผยว่า วันแรงงานแห่งชาติวันที่ 1 พ.ค.นี้ สภาองค์การลูกจ้าง 15 องค์กร ร่วมกับสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ และศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ เรียกร้องรัฐบาล 5 ข้อ คือ

1.ขอให้รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98

2.ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม ยกสถานะเป็นองค์กรอิสระ แก้กฎกระทรวงกรณีลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากการทำงานเมื่อลูกจ้างใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนครบตามสิทธิ์แล้ว ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้กองทุนประกันสังคมต่อไปได้ ผู้ประกันตามมาตรา 39 และ 40 มีสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนเงินออมแห่งชาติ

3.ขอให้กระทรวงแรงงานเร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบให้มีสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจัดตั้งกรมคุ้มครองและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ 4.ขอให้รัฐบาลคงความเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ไม่ลดสัดส่วนการถือครองจากภาครัฐลงน้อยกว่าร้อยละ 50 และ 5.ขอให้แก้ไข พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกสถานประกอบกิจการ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนทำงาน

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

 

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

 

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

 

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

 

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)

 

เปิดโพลแรงงานไทย!?!? โอด งานหายาก ค่าครองชีพสูงลิ่ว วอนรัฐบาลเห็นใจ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ(มีคลิป)