ทส.มอบ "กรมป่าไม้-กรมอุทยานฯ" เดินหน้าแก้ปัญหา "บุกรุกพื้นที่ป่า" จ.น่าน พร้อมฟื้นฟูภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ข้อ !!!

ติดตามข่าวเพิ่มเติม http://www.tnews.co.th

นายประลอง ดำรงค์ไทย โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน ทส.จึงได้มอบหมายให้  กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้การแปลภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต ในการตรวจสอบสภาพพื้นที่ป่า  พบว่าตั้งแต่ปี 2557 มาจนถึงปัจจุบัน  อัตราการลดลงของพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน เฉลี่ยเหลือเพียงปีละ 345 ไร่ จากก่อนหน้าปี 2557 พื้นที่เคยถูกบุกรุกกว่า ปีละ 74,000ไร่ (ข้อมูลพบว่าปี 2551 จังหวัดน่านมีพื้นที่ป่า 5,103,550 ไร่ ปี 2557 มีพื้นที่ป่า 4,659,641 ไร่ ปี 2559 มีพื้นที่ป่า 4,658,605 ไร่) 

 

ทส.มอบ \"กรมป่าไม้-กรมอุทยานฯ\" เดินหน้าแก้ปัญหา \"บุกรุกพื้นที่ป่า\" จ.น่าน พร้อมฟื้นฟูภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ข้อ !!!

เนื่องจากนโยบายการหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าของรัฐบาล คสช. ที่เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะจังหวัดน่าน สามารถทวงคืนพื้นที่ป่าได้กว่า 20,040 ไร่  โดยการทำงานบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ในการจัดการป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน โดยเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน ใช้หลักการแก้ไขปัญหารูปแบบประชารัฐในการลงไปสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการและประชาชน รวมทั้งกลุ่มต่างๆในจ.น่าน ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ให้ร่วมกันฟื้นฟู 


ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินการ 7 ข้อ  ได้แก่ 

- การสร้างความเข้าใจทุกภาคส่วน (มท.)
- การจัดระเบียบคนและพื้นที่ (ทส.)
- การป้องกันและรักษาป่า (ทส.)
- การฟื้นฟูระบบนิเวศ (ทส.)
- การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ (กษ.)
- การสร้างองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ศธ.)
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (มท.)

 

 

นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร  ในเขตป่าของจังหวัดน่าน ได้มีการประชุมและประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ระหว่าง 4  หน่วยงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงเกษตร  กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ในการปรับแก้พืชเกษตรที่จะมาทดแทนข้าวโพด โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชาในเรื่องของการปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้ในการดำเนินการ  

 

พร้อมกันนี้กระทรวงทรัพยากรฯ โดยกรมป่าไม้ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเลือกชนิดพืชเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับที่จะไปดำเนินการในเรื่องนี้ อีกทั้งมีการหารือเรื่องการลดการใช้สารเคมี และการนำรูปแบบวนเกษตรมาใช้    จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเพื่อฟื้นฟู ดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบพื้นที่ป่า เพื่อให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน โดยในพื้นที่จังหวัดน่านมีศูนย์ดังกล่าว จำนวน 8 ศูนย์ โดยแต่ละศูนย์ฯ ก็จะมีการไปจัดตั้ง ฐานปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ซึ่งฐานฯดังกล่าวจะไปตั้งอยู่บนยอดเนิน ครอบคลุมพื้นที่ ที่ถูกบุกรุก เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่าทั้งหมดโดยจะมี เจ้าหน้าที่ของ กรมป่าไม้.และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช  ไปประจำอยู่ ณ.ฐานฯ ดังกล่าว เช่น ศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข ทั้งนี้ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่เพื่อการจัดการ มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ในการดูแลรักษาป่า การจัดตั้งป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำ 1, 2 ในรูปแบบวนประชารัฐ พื้นที่ลุ่มน้ำ 3, 4, 5 มีการจัด คทช. เพื่อส่งเสริมราษฎรทำกินในพื้นที่ในรูปแบบวนเกษตร การปลูกป่าเศรษฐกิจ และมีการนำรูปแบบโครงการสร้างป่าสร้างรายได้มาขยายผล 

 

ทส.มอบ \"กรมป่าไม้-กรมอุทยานฯ\" เดินหน้าแก้ปัญหา \"บุกรุกพื้นที่ป่า\" จ.น่าน พร้อมฟื้นฟูภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ข้อ !!!

โฆษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวต่อถึง การจัดที่ดินทำกินให้กับชุมชน  ในพื้นที่ จงหวัดน่าน 7.58 ล้านไร่ ซึ่งมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพ 1,435,604 ไร่ แบ่งเป็น  

1) ป่าเสื่อมสภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,2 จำนวน 917,995 ไร่ 
2) ป่าเสื่อมสภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ 3,4,5 จำนวน 517,609 ไร่ 
ซึ่งพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพดังกล่าวสามารถดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้ จำนวน 139,344 ไร่ โดยดำเนินการไปแล้ว 46,596 ไร่ 

 

ทส.มอบ \"กรมป่าไม้-กรมอุทยานฯ\" เดินหน้าแก้ปัญหา \"บุกรุกพื้นที่ป่า\" จ.น่าน พร้อมฟื้นฟูภายใต้ยุทธศาสตร์ 7 ข้อ !!!

 

สำหรับส่วนที่เหลือ ท่าน รมว.ทส. ได้สั่งการให้กปม.ได้เร่งดำเนินการอย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติตามแนวทาง คณะกรรมการ คทช. ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว บางพื้นที่ ก็ได้มีการดำเนินการ ตามคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557  ขณะเดียวกันทางกรมป่าไม้ได้เสนอร่างกรอบการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในภาพรวมเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยเป็นการดำเนินงานในรูปแบบวนประชารัฐ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างสามัคคีปรองดอง กระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป.ย.ป.ท.ส) เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบนโยบายดังกล่าว จะส่งผลให้กรมป่าไม้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการปลูกพื ชเชิงเดี่ยว และการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในพื้นที่สูงชันได้อย่างชัดเจนและเห็นผลเป็นรูปธรรม ต่อไป