คนไทยเจ๋งไม่แพ้ชาติใดในโลก!! เคยรู้ไหม?? ประเทศไทยเคยสร้างเครื่องบินใช้เองมาแล้ว (ตอนแรก)

ทหารบกไทย สู้รับกับฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส ที่สมรภูมิบ้านพร้าว ในเขมร และทหารเรือไทยต่อสู้กับกองทัพเรืออฝรั่งเศส ในสมรภูมิเกาะช้าง

หลังจากที่อินโดจีนฝรั่งเศส ได้ใช้กำลังแย่งชิงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาว) ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (ไชยบุรี และจำปาศักดิ์ ของลาว) และเขมรส่วนใน (พระตะบอง, เสียมราฐ และศรีโสภณของเขมร)ไปจากไทยไปอย่างไม่เป็นธรรมไปแล้วถึง 5 ครั้ง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้บ่มเพาะเป็นความเจ็บแค้น อยู่ในจิตใจของคนไทยเรื่อยมา

ความสามารถในการสู้รบ ของทหารไทยในสงครามอินโดจีน
โดยทหารบกไทย สู้รับกับฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส ที่สมรภูมิบ้านพร้าว ในเขมร และทหารเรือไทยต่อสู้กับกองทัพเรืออฝรั่งเศส ในสมรภูมิเกาะช้าง

วันที่
31 มกราคม 2454 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีวัตถุแปลกประหลาดบินวนไปเวียนไปมาบนท้องฟ้า เหนือมหานครกรุงเทพฯ สร้างความพิศวงงงงวย ตื่นตะลึง ตื่นตาตื่นใจ ในสิ่งมหัศจรรย์นี้ให้กับคนไทย ที่อยู่บนพื้นดินในเวลานั้นเป็นอย่างมาก

จนกระทั่งเมื่อเจ้าสิ่งนั้นร่อนลงสู่พื้น ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) คนไทยก็ได้รู้จักกับ “เครื่องบิน” เป็นครั้งแรกในครั้งนั้นคนไทยเราแทบจะไม่เชื่อสายตาตนเองเลยว่า มนุษย์ก็สามารถบินได้เหมือนกัน เครื่องบินวันนั้นเป็นแบบปีก 2 ชั้น
แบบอังรี ฟามัง 4 (Henri Farman IV) ชื่อ Wanda นักบินเบลเยี่ยมมาแสดงการบินให้คนไทยได้เห็นกับตา



 

พล.อ.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ได้มาทอดพระเนตรเหตุการณ์สำคัญนี้ด้วย และนั่นคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ประเทศไทยของเรา มีกิจการบินเป็นของตนเอง จากวันนั้นเอง รัชกาลที่ 6 และเจ้านายอีก 2 พระองค์
คือ เสนาธิการทหารบก และ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม


ได้ทรงตระหนักเห็นถึงความสำคัญที่ประเทศสยาม ต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศชาติจากภัยคุกคามต่างๆ ดังนั้นการคัดเลือกนายทหารระดับหัวกะทิ เพื่อที่จะถูกส่งไปเรียนวิชาการบินจึงเริ่มต้นขึ้นในเวลานั้น มีนายทหารจำนวน 3 นาย
ที่ถูกคัดเลือก ถูกมอบภารกิจพิเศษ คือ ไปศึกษาวิชาการบิน ที่โรงเรียนการบินนิเออปอร์ต
ณ สนามบินวิลลาคูเบลย์ ประเทศฝรั่งเศส

พ.ศ. 2455 เวลา 1 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้จัดตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้น โดยอยู่ในบังคับบัญชาของพล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรการช่างทหารบก และมีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินชั่วคราว ไว้ที่สนามม้าสระปทุม ในปีถัดไป

พ.ศ.
2456 เมื่อนายทหารทั้ง 3 คน สำเร็จหลักสูตรการบินแล้ว จึงเดินทางกลับประเทศไทย
โดยได้นำเครื่องบินที่ทางราชการสั่งซื้อเป็นจำนวน 8 เครื่อง มายังประเทศไทยโดยบรรทุกมาทางเรือ เป็นเครื่องบินแบบ “นิเออปอร์ต” จำนวน 4 เครื่อง และแบบ “เบรเกต์”
อีก 4 เครื่อง นำมาไว้ในโรงเก็บที่สนามม้าสระปทุม

ทั้ง 3 นาย ที่สำเร็จการบิน ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ น.อ.พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
และ น.อ.พระยาทยานพิฆาฏ ตามลำดับ กองทัพอากาศ จึงถือว่าท่านทั้ง 3 นาย เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ทั้งยังได้เป็นครูฝึกสอนการบิน และช่างเครื่องให้กับนักบินรุ่นต่อๆ มาด้วย


 

วันที่ 29 ธันวาคม 2456 เป็นวันที่แผนกการบิน ได้ทำการทดลองบินด้วยเครื่องทั้ง 8 ลำ ของประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุมนั่นเอง โดยในวันนั้นมีทั้งข้าราชการฝ่ายทหาร และพลเรือน รวมทั้งประชาชนมากมาย แห่กันไปชมการบินอย่างคับคั่ง เป็นความสำเร็จครั้งแรกของกิจการการบินของไทย

หลังจากวันนั้น นายทหารทั้ง
3 นาย ได้ช่วยกันสร้างรากฐานการบินของไทยไว้เป็นอย่างดี ทำให้กิจการบินได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุด สนามม้าสระปทุม สถานที่ที่ใช้เป็นแผนกการบินก็ดูจะคับแคบเกินไป ในปีต่อมาจึงต้องย้ายสนามบินมาอยู่ที่ดอนเมือง

วันที่
27 มีนาคม 2457 กระทรวงกลาโหม ได้ออกคำสั่งให้ตั้ง กองบินทหารบกขึ้นโดยมีที่ตั้งอยู่ที่สนามบินดอนเมือง นั่นเอง หลังจากก่อตั้งการบินทหารบกได้ไม่ถึง 2 เดือน พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ ได้ประกาศศักดาเสืออากาศไทย ด้วยการนำเครื่องบินเบรเกต์ 3 ที่สร้างขึ้นเองด้วยวัสดุภายในประเทศ (ยกเว้นเครื่องยนต์) ขึ้นทดลองบินที่ระยะสูง 300 ฟุต 
เป็นผลสำเร็จ มีสมรรถนะไม่แพ้เครื่องจากต่างประเทศ

 

ข้อมูลโดย คุณครูดอทคอม