คนเดียวประวัติศาสตร์"ตำรวจไทย" เป็นทั้ง อธิบดีและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ..ปฎิรูปตำรวจถอยหลังเข้าคลองต้องถามคนนี้ !! "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก "

คนเดียวประวัติศาสตร์"ตำรวจไทย" เป็นทั้ง อธิบดีและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ..ปฎิรูปตำรวจถอยหลังเข้าคลองต้องถามคนนี้ !! "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก "

ภายหลังจากที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานระหว่าง สนช. และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ( สปท.) แถลงข่าวผลการพิจารณาศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ระหว่าง สนช. และ สปท. 

 

ด้านพล.ต.ท.บุญเรือง ผลพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ เปิดเผยข้อเสนอการปฏิรูปตำรวจที่เตรียมจะส่งไปยังรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไปว่า  ได้เสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้การทำงานร่วมกับตำรวจ อัยการ ศาล มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และบูรณาการกับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายในสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้วุฒิสภา ( ส.ว.) ควบคุมการบริหารงานผ่านการพิจารณาประจำปี

 

ทางด้านอนุกรรมาการฯ ได้ตั้งเป้าหมายว่า การปฏิรูปตำรวจภายใน 1 ปีแรกนั้น การคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นตำรวจ จะต้องมีวิธีและรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งความประพฤติ ทัศนคติและจิตใจ  และปรับปรุงองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ กตร. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ กตช. จะต้องมีธรรมาภิบาล

 

พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก นายตำรวจมือปราบมีฉายาว่า "อินทรีอีสาน" ผู้ปฏิรูปให้กรมตำรวจออกจากกระทรวงมหาดไทยโดยให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้พล.ต.อ.ประชา เป็นทั้งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้ายและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก เนื่องจากมีตำแหน่งสูงสุดในช่วงที่ปรับเปลี่ยนสถานะของกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ซึ่งกรมตำรวจ อยู่ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งถึงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2541  โดยให้เหตุผลว่า กรมตำรวจที่เป็นกรมขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย สมควรโอนกรมตำรวจ ไปจัดตั้งเป็น " สำนักงานตำรวจแห่งชาติ " ให้ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้มีอำนาจหน้าที่ในการักษาความมั่นคงภายใน ส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การตระเวนชายแดน การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชน และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและให้อยู่ในบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี และโดยที่มาตรา 230 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้การโอนกรมที่มีผลเป็นการจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ โดยไม่มีกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งมีผลตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115
ตอนที่ 73 ก ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2541 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี  

 

จากนั้น พล.ต.อ.ประชา ได้ขึ้นดำรงณ์ตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนแรก นับตั้งแต่16 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543

 

คนเดียวประวัติศาสตร์"ตำรวจไทย" เป็นทั้ง อธิบดีและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ..ปฎิรูปตำรวจถอยหลังเข้าคลองต้องถามคนนี้ !! "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก "

พล.ต.อ.ประชา เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2540 ภายหลังเกษียณราชการแล้ว ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา  และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่ประกาศลาออกไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ภายหลังรัฐบาลนายสมชายต้องพ้นวาระไปจากคดียุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องว่างลง พล.ต.อ.ประชาได้รับการสนับสนุนจากนายเสนาะ เทียนทอง และพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนต่อไป ในวันที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา เสียงที่เลือก พล.ต.อ.ประชา แพ้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 235 เสียง ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้โหวตให้แก่ตัวเองด้วย

ต่อมา พล.ต.อ.ประชา ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 และเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย  และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554  และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 5 จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พล.ต.อ.ประชา ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ต่อมาได้มีการแต่งตั้ง ดร.สุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เข้ามาทำหน้าที่แทน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 8 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั้งราชอาณาจักรในวันเดียวกันได้ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ.ประชา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม