ยอมรับการตัดสินใจของ “บิ๊กตู่” !!!  ผู้แทนเกษตรกร ขอเดินหน้าขยายแนวคิดปฏิรูปการจัดการหนี้

ยอมรับการตัดสินใจของ “บิ๊กตู่” !!! ผู้แทนเกษตรกร ขอเดินหน้าขยายแนวคิดปฏิรูปการจัดการหนี้

นายภูมิพัฒน์  เหมือนจันทร์  ผู้แทนเกษตรกรภาคใต้  กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยกรณีคำสั่ง คสช.ยุบคณะกรรมการตามพรบ.กองทุนฟื้นฟูฯและให้มีคณะกรรมการเฉพาะกิจทำหน้าที่แก้ปัญหาหนี้เร่งด่วนของเกษตรกรพร้อมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของกองทุนฟื้นฟูฯว่า การใช้.ม.44 ยุบบอร์ด.กองทุนฟื้นฟูฯ แม้จะเป็นการปัญหาแบบผิดฝาผิดตัว แต่ก็เคารพการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี แม้ตนจะมีความเห็นว่า ควรใช้.ม.44 ยกเลิกหนี้ให้เกษตรกรลงครึ่งหนึ่งแล้วให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอาชีพ โดย กฟก.เป็นองค์กรรับผิดชอบและควรใช้.ม.44 ให้  กฟก.คืนหลักประกันให้เกษตรกรที่ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วทุกคน

 

ยอมรับการตัดสินใจของ “บิ๊กตู่” !!!  ผู้แทนเกษตรกร ขอเดินหน้าขยายแนวคิดปฏิรูปการจัดการหนี้

 นายภูมิพัฒน์ ในฐานะตัวแทนของเกษตรกรที่นำเสนอประเด็นนี้ให้เกิดรูปธรรมในทั่วประเทศ และเดินหน้านำเสนอแนวคิดในการ ปฏิรูปการจัดการหนี้ของสมาชิก กฟก. ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการจัดการหนี้ในอดีต ใช้วิธีจัดอันดับความสำคัญ โดยจัดการหนี้เร่งด่วน หรือ หนี้ที่โดนบังคับคดี ขายทอดตลาด ซึ่งเกิดจากพื้นฐานวิธีคิดคืองบประมาณที่มีอยู่จำกัดของกฟก.จึงให้ความสำคัญกับการซื้อหนี้เร่งด่วน เพื่อรักษา ที่ทำกินของเกษตรกรในขณะเดียวกันก็พยายามรวบรวมตัวเลขสมาชิก ตัวเลขมูลหนี้เพื่อของบประมาณประจำปีจากรัฐบาล ซึ่งการจัดการหนี้ในรูปแบบนี้ก่อให้เกิดคำถามมากมาย เช่น เจ้าหนี้ต้องฟ้องเกษตรกร หรือ เกษตรกร ท้าทายให้เจ้าหนี้ฟ้องร้อง เพื่อได้เข้าสู่ กระบวนการในการจัดการหนี้ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างมหาศาลและความเข้าใจผิดพลาดจนถึงขั้น มีการยุยงให้เกษตรกรไม่ยอมชำระหนี้ เพื่อหวังให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องและทำทุกวิถีทาง ที่จะได้เข้าสู่กระบวนการ จัดการหนี้ ของกองทุนฟื้นฟู หรือเข้าถึงงบประมาณ อันน้อยนิดและจำกัดจำเขี่ยได้ ในขณะเดียวกันจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ตลอด16ปีที่ผ่านมามีสมาชิกกว่า6ล้านรายขึ้นทะเบียนหนี้เพียง 6 แสนราย และสามารถดำเนินการจัดการหนี้ได้เพียง 3 หมื่นราย 

เห็นได้ชัดว่า รูปแบบการจัดการหนี้หรือซื้อหนี้อย่างนี้ ไม่ต่างอะไรกับ การถมทะเลที่ไม่มีวันเต็ม 
นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่รับการจัดการหนี้ ก็ไม่ได้เคยได้รับการฟื้นฟูอาชีพ หลังจากการจัดการนี้เลย ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจน ของพี่น้องเกษตรกรถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเพียงการพักหายใจชั่วคราวจากกระบวนการเร่งรัดหนี้สิน คงความเป็นทาสทางการเงินและเกษตรกรไม่สามารถกลับมาประกอบอาชีพบนเส้นทางเกษตรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนซ้ำร้ายกระบวนการดังกล่าวยังก่อให้เกิดคอขวด ในการเลือกปฏิบัติ เพราะช่องโหว่ ของกฎหมายหรือระเบียบการจัดการหนี้ ที่ขึ้นอยู่กับสถาบันเจ้าหนี้ จะขายหรือไม่ขายให้กับกองทุนฟื้นฟูด้วยเหตุหลายประการ อาทิ ประเภทของหนี้สิน ประเภทของหลักทรัพย์ค้ำประกัน วัตถุประสงค์ของการกู้หรือแม้แต่การที่เกษตรกรจะได้รับเลือก ให้เป็นผู้ถูกซื้อ หรือจัดการหนี้ โดยกองทุนฟื้นฟูนั้น ส่งผลให้บุคคลผู้มีอำนาจบางกลุ่มสามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้หลากหลายวิธีโดยชอบธรรมเพราะดอกเบี้ยที่ลดลง เงินต้นที่ลดลง ตามมติครม.ก็ดีหรือมติกรรมการจัดการหนี้ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นที่มาของ การหากิน บนความจนหรือที่เรียกกันติดปากว่า นายหน้าค้าความจน 

นายบดินทร์เดชา ชูคล้าย ผู้แทนเกษตรกรภาคอีกสานกล่าวว่า ในยุคของการปฏิรูป ครั้งนี้ ควรใช้ระบบการจัดการหนี้รูปแบบใหม่ คือ 

1 ใช้มติครม.ชะลอการดำเนินคดีกับเกษตรกร ที่ขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร ทั้งหมดเพื่อตัดวงจรนายหน้าค้าความจน

2.จัดระบบการจัดการหนี้บุคคลแต่ละประเภทโดยคำนึงถึงอายุความสามารถและประสิทธิภาพในการชำระหนี้ของเกษตรกรเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเกษตรกร หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่สามรถชำระหนี้ได้ควรได้รับการยกเว้นเช่นเกษตรกรกลุ่มผู้พิการ สูงอายุควรได้รับการยกหนี้เป็นต้น

3.ใช้ศาสตร์พระราชา ในการแก้ปัญหา โดยให้สถาบันพัฒนาเกษตรกร หรือนโยบายห้าประสานให้ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ของเกษตรกร ไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ จัดอบรมหลักสูตรเร่งด่วน ในการสร้างงาน สร้างรายได้สัมมาชีพ เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีต่างๆในการประกอบอาชีพทางการเกษตร

4.ฟื้นฟูเกษตรกร ด้วยโครงการนำร่อง ให้เกษตรกรเป็นผู้เขียนแผนธุรกิจ เพื่อที่จะนำเสนอขอกู้เงิน จากกองทุนฟื้นฟู โดยมีการวางแผน ชำระเงินกู้ ให้กับสถาบันเจ้าหนี้ โดยให้บุคลากรของสถาบันเจ้าหนี้และกฟก.ร่วมกันเป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ชเกษตรกรในการทำแผนและโครงการต่างๆตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

5.ปรับกลยุทธ์การใช้งบประมาณของกฟก.ในการสร้างเกษตรกรสมาชิกรุ่นใหม่เน้นส่งเสริมการแก้ปัญหาหนี้สินด้วยการสร้างงานสร้างรายได้สัมมาชีพและการพึ่งพาตนเองยกตัวอย่างเช่น งบประมาณ 3000 ล้าน ซื้อหนี้เกษตรกร 2 หมื่นราย เฉลี่ยรายละ 150,000 บาท 

 

ยอมรับการตัดสินใจของ “บิ๊กตู่” !!!  ผู้แทนเกษตรกร ขอเดินหน้าขยายแนวคิดปฏิรูปการจัดการหนี้

หากมองในมุมกลับกัน เข้าสู่กระบวนการอบรม เรียนรู้ดูงาน สร้างรายได้สัมมาชีพ โดยใช้งบประมาณ รายละ 2,000 บาท จะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรถึง 1,500,000 รายในจำนวนนี้ เกษตรกรที่เขียนแผนธุรกิจ สามารถเข้าสู่ขบวนการกู้เงินของกองทุน ซึ่งมีงบประมาณในหมวดการฟื้นฟูอาชีพรองรับอยู่แล้ว เพื่อที่จะไปชำระหนี้ ของตนเอง ได้ต่อไป ทำให้เกิดประโยชน์ ในวงกว้างสร้างทายาทเกษตรกรให้มีส่วนร่วมในโครงการ    ส่งเสริมสถาบันครอบครัวเพื่อการอยู่ร่วมในชุมชน ป้องกันการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองใหญ่และเป็นการสร้างความมั่นคงมั่นคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง