ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

แถลงการณ์ทุบโต๊ะ! 3 ภาคีเครือข่าย สภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดตรัง ร่วมกับชมรมชาวประมงพื้นบ้านฯ  และมูลนิธิอันดามัน   “บอยคอต” ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนข้อมูลทุกด้านในพื้นที่กับ สวทช.หลังปล่อยอุทยานแห่งชาติแห่งชาติหาดเจ้าไหม ติดแท็กเครื่องติดตามพฤติกรรมพะยูน พบว่าสร้างความทรมานให้กับพะยูนกับการดำรงชีวิตอย่างมาก หนังสือยับยั้งจากกรมอุทยานฯ ก่อนหน้าแค่เสือกระดาษ  ขณะที่นักวิจัยต่างชาติชี้ชัดควรยกเลิกโปรเจกต์นี้ใช้การไม่ได้ดี อันทำให้เกิดความเสียหายและประเทศเสียชื่อเสียงได้

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 21 พ.ค.60 ที่มูลนิธิอันดามัน ม.4 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง นายภาคภูมิ  วิธานติรวัฒน์ ประธานมูลนิธิอันดามัน จ.ตรัง นายอะเหร็น พระคง ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง พร้อมด้วย สภาองค์กรชุมชนตำบล จ.ตรัง ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง มูลนิธิอันดามัน ประมาณ 30 8o  ผนึกกำลังอ่านแถลงการณ์จดหมายเปิดผนึกถึงผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ปล่อยพะยูนให้เป็นอิสระ ยุติโครงการวิจัยของ สวทช.ไว้ชั่วคราว และให้ถอดสัญญาณที่ติดไว้กับหางพะยูนออก ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นการต่อหางพะยูนยาวออกไปถึง 3 เมตร โยงกับทุ่นสัญญาณ เวลานาน 3 เดือน รวม 3  ตัว ซึ่งเป็นการทำร้ายทรมานพะยูน  ประเด็นนี้ สืบเนื่องจากอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม นำโดย ดร.มาโนช วงส์สุรีรัตน์ หน.อุทยานฯ ได้ดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าว แม้ว่ากรมอุทยานฯ ได้มีหนังสือสั่งการยับยั้งโครงการวิจัย ชั่วคราวไปแล้วในครั้งแรก แต่ทางอุทยานฯหาดเจ้าไหม ยังดื้อรั้นและเพิ่งจับพะยูนมาติดแท๊กใช้เชือกผูกหางติดทุ่นอีกเป็นครั้งที่ 2

เครือข่ายประมงพื้นบ้านตรัง มูลนิธิอันดามัน ออกแถลงการณ์คัดค้านการติดอุปกรณ์ติดตามพะยูนในทะเล ทุกรูปแบบ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

 “ฉะนั้นทางภาคีเครือข่ายจึงขอเรียกร้องให้ สวทช.ทำการปลดสัญญาณดาวเทียมจากตัวพะยูนทันที และให้ยุติโครงการดังกล่าว และประกาศจะยุติความร่วมมือทุกประการกับโครงการนี้จนกว่าจะมีการแก้ไข ที่สำคัญโครงการดังกล่าวจึงน่าเป็นห่วงมากกว่า ผลกระทบจากมนุษย์ที่เป็นอยู่นี้อาจทำให้จำนวนพะยูนหมดไปในอนาคต ดังนั้นพะยูนทุกตัวที่มีในทะเลไทยจึงมีความสำคัญมาก โครงการจับพะยูนครั้งนี้ดูเหมือนไม่ได้รับการวางแผนที่ดีมาก่อน และไม่แน่ใจว่าทำไปเพื่ออะไร ไม่มีใครจับพะยูนได้ ไม่ใช้อวนแบบที่ประเทศไทยทำอีกแล้ว เพราะมีวิธีที่ดีกว่า และมีวิธีอื่นที่จะได้ข้อมูลพะยูนโดยไม่ต้องติดสัญญาณที่หางพะยูน” 

เครือข่ายประมงพื้นบ้านตรัง มูลนิธิอันดามัน ออกแถลงการณ์คัดค้านการติดอุปกรณ์ติดตามพะยูนในทะเล ทุกรูปแบบ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

หนังสือรายงานจากผู้เชี่ยวชาญพะยูนระดับโลกจาก DTGCMS Dugong MOU จากประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรต (UAE) Dr.Himansu Sekhar Das และ Dr.Helene Marsh ซึ่งได้รับคำตอบว่าวิธีการจับพะยูนด้วยอวนนั้นเป็นการวิจัยที่ผิดพลาด ก่อให้เกิดอันตรายต่อพะยูนได้ ทั้งนี้พะยูนแต่ละตัวมีวิถีทางที่ต่างกัน การติดพะยูนเพียง 3 ตัว ไม่ได้บอกความหมายอะไร ว่าพะยูนที่ทะเลตรังทั้งหมดมีวิถีชีวิตอย่างไร  ดังนั้นการติดสัญญาณติดตามพะยูนไม่ได้เพิ่มองค์ความรู้อะไร ไม่ได้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พะยูน  ยังมีวิธีวิจัยอีกจำนวนมากที่ประเทศทั่วโลกยอมรับทางสากล เช่น การใช้โดรน หรือวิธีบินสำรวจ มองว่าการติดสัญญาณติดตามพะยูนนั้นเป็นการก่อกวนและมีความเสี่ยงกับชีวิตพะยูน และการทำแบบอาจทำให้ประเทศเสียชื่อเสียงได้ 

ด้าน นายอะเหร็น พระคง ประธานชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง เผยว่า พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านได้ลงไปสำรวจได้ไปเจอพะยูนที่ผูกหางและมีทุ่นติดตามตัวลอยอยู่ สภาพพะยูนมีอาการเหนื่อยเพราะมีลูกทุ่นที่มันต้องลากอยู่กับตัวตลอดเวลาดำผลุบๆ โผล่ เพราะเหนื่อยมาก ออกน้ำลึกจะอยู่ได้ไม่นาน ไม่สามารถประคองตัวเองได้ แต่ถ้าทุ่นอยู่ระดับน้ำนิ่งตื้นจะอยู่ได้แต่ก็เสี่ยงพะยูนเกยตื้น   จะสังเกตุเห็นได้ว่าพะยูนที่ไม่ติดสัญญาณอยู่อย่างสบาย วิธีดังกล่าวทั่วโลกเลิกใช้ไปแล้วเพราะไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ

นายภาคภูมิ  กล่าวอีกว่า เรื่องนี้  Dr.Himansu Sekhar Das g0hk เจ้าของรางวัล Y0ung Scientist Award ในปี 2539 จากยูเนสโกแผนกวิทยาศาสตร์ ทางระบบนิเวศภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere) ได้มีรายงานเป็นหนังสือลงวันที่   7 พ.ค.60 โดยสรุปข้อมูลส่วนหนึ่งว่าโปรเจกต์ที่ทางประเทศไทยจับพะยูนมาติดสัญญาณดาวเทียมแบบนี้ จากการสังเกตจากวีดีโอทำให้สรุปได้ว่าโปรเจกต์ การจับพะยูนติดสัญญาณที่ประเทศไทยไม่ได้รับการวางแผนที่ดีมาก่อน  ซึ่งปัจจุบันจะใช้เทคนิคการจับแบบ Rodeo ซึ่งเป็นวิถีที่ดีที่สุดในขณะนี้  ซึ่งจะช่วยลดความเครียดของพะยูนเวลาโดนจับ นักวิจัยไทยที่ทำงานในโปรเจกต์ นี้ควรปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ในประเทศอื่น ๆ ควรปรึกษาและวางแผนอย่างดีเพื่อหาผลลัพธ์ที่ได้มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับพะยูนไทย

ข้อมูลที่ได้จากการติดสัญญาณดาวเทียวที่หางสามารถทำได้โดยวิธีอื่น ยังพอมีเวลาที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯหาดเจ้าไหมซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบที่จะหารือกับหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องพะยูนและสัตว์ในอันกับพะยูนอย่าง DTG CMS Dugong Secretariat และ IUCN  Sirenian Specialist group เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมถูกต้องตามแบบระเบียบของสากล หน่วยงานสูงสุดของประเทศไทยที่ดูแลเรื่องนี้ ควรจะได้รับทราบว่าการกระทำแบบนี้จะทำให้ประเทศเสียชื่อเสียงได้  ซึ่งทั้งนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ (UAE) มีประชากรพะยูนมากเป็นอันดับสองของโลก เคยลองทำการติดสัญญาณดาวเทียม แต่พบว่าข้อมูลที่ได้มาไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงไป จึงยกเลิกโครงการแบบนี้ไป 

 จึงอยากให้ สวทช.ทบทวนเรื่องนี้ก่อน และในขั้นต้นระหว่างที่ สวทช.ทบทวนทางภาคีเครือข่ายต้องยุติความร่วมมือทุกประการกับการวิจัยนี้ โดยไม่ให้ข้อมูลใดๆ ตอนนี้เป็นการยุติหากไม่แก้ปัญหาต้องมีการบอยคอตในชั้นต้นเเป็นเรื่องเหตุผลทางวิชาการให้เขาไตร่ตรองคิดทบทวนก่อน หลังจากนั้นหากไม่มีการจัดการใดๆ ก็ต้องมีมาตรการที่เข้มแข็งขั้นต่อไป ทั้งนี้อยากให้ดำเนินการทันทีเวลา 3 เดือนมีผลกระทบต่อพะยูนมาก

ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม สำนักข่าวภูมิภาค ทีนิวส์ จังหวัดตรัง

เครือข่ายประมงพื้นบ้านตรัง มูลนิธิอันดามัน ออกแถลงการณ์คัดค้านการติดอุปกรณ์ติดตามพะยูนในทะเล ทุกรูปแบบ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์