จีนก็มีความพยายามในเชิงรุกมากเป็นพิเศษในการหาข่าวกรองในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้

สำนักข่าวต่างประเทศได้ รายงานข่าวกรณี ทางการจีนได้ สังหาร และ จำคุก บุคคลที่เป็นแหล่งข่าวให้กับทางสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ 18 ถึง 20 คน ระหว่างปี 2010-2012 โดยได้อ้างคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯทั้งในปัจจุบัน และในอดีตจำนวนมากที่ว่า การรั่วไหลในการหาข่าวกรอง ที่ร้ายแรงที่สุดคราวหนึ่งในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้ทั้งสำนักงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐฯ และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่าง สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) เร่งดำเนินการสอบสวน โดยเจ้าหน้าที่สอบสวนเหล่านี้มีความเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามีสายลับที่ทำงานให้จีนรายหนึ่งแอบแฝงอยู่ในซีไอเอและเปิดเผยแหล่งข่าวของสำนักงานข่าวกรองแห่งนี้ให้จีนทราบ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าทางการจีนสามารถเจาะเข้าสู่ระบบปิดลับที่ซีไอเอใช้ในการติดต่อสื่อสารกับพวกแหล่งข่าวต่างประเทศ

 

การถกเถียงในเรื่องต้นตอของข่าวกรองรั่วไหลนี้ก็ยังคงไม่มีข้อยุติ แต่เรื่องที่แน่นอนชัดเจนแล้ว ก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยทางการจีนได้สังหารบุคคลที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ซีไอเอไปอย่างน้อย 12 คนในช่วงตั้งแต่ปี 2010 จนถึงสิ้นปี 2012 แล้วยังมีรายอื่นๆ ที่ถูกจับตัวเข้าคุก อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ 2 คนกล่าวว่า รวมทั้งสิ้นแล้วฝ่ายจีนได้ฆ่าหรือจำคุกผู้ให้ข่าวแก่ซีไอเอ ระหว่าง 18 - 20 คน ซึ่งเป็นการทำลายเครือข่ายที่หน่วยข่าวกรองอเมริกันใช้เวลาหลายปีสร้างขึ้นมา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นในจีนคราวนี้ มีการสูญเสียทรัพย์สินในรูปของผู้ให้ข่าว


สัญญาณแรกที่แสดงให้เห็นความยุ่งยากนั้นปรากฏขึ้นมาในปี 2010 โดยที่ในตอนนั้น ซีไอเอได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานระดับวงในของรัฐบาลจีน ซึ่งถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในรอบระยะเวลาหลายปี ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่สามารถดึงเอาแหล่งข่าวหลายรายที่อยู่ในระดับลึกๆ ภายในระบบราชการในจีนมาทำงานให้ อดีตเจ้าหน้าที่อเมริกัน 4 คนบอก แหล่งข่าวเหล่านี้บางรายเป็นบุคคลสัญชาติจีนซึ่งซีไอเอเชื่อว่าเกิดความรู้สึกหมดหวังเนื่องจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลจีน
ข้อมูลข่าวสารที่เคยมีก็เริ่มหายไปเมื่อถึงต้นปี 2011 พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีไอเอก็ตระหนักว่าพวกเขาเจอปัญหาแล้ว เนื่องจากพวกทรัพย์สินที่เป็นบุคลากรในจีน รวมทั้งรายหนึ่งที่เป็นแหล่งข่าวมีค่าที่สุดของพวกเขา กำลังเริ่มทยอยหายตัวไป แหล่งข่าวถูกสังหารเพิ่มมากขึ้นอีก เอฟบีไอ และ ซีไอเอ จึงเริ่มร่วมกันสอบสวนหารูรั่วที่เกิดขึ้น โดยมีการตรวจสอบการปฏิบัติการทั้งหมดที่ดำเนินในจีน และขุดคุ้ยประวัติลูกจ้างแทบทุกรายที่ทำงานในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำจีน ไม่ว่าจะมีตำแหน่งสูงขนาดไหน เมื่อถึงปี 2013 เอฟบีไอ และซีไอเอ ก็มีข้อสรุปว่า ความสามารถของจีนในการระบุตัวแหล่งข่าวผู้ส่งข้อมูลข่าวสารให้ซีไอเอนั้นได้หดหายไปแล้ว ถึงแม้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

 

โทษของผู้ทรยศแผ่นดินคือตาย!! “จีน” สังหาร  สายลับ CIA และ FBI กว่า 20 คน บางส่วนโดนขังคุก ทำงานข่าวสหรัฐฯ สิ้นประสิทธิภาพ

จีนก็มีความพยายามในเชิงรุกมากเป็นพิเศษในการหาข่าวกรองในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ โดยนอกเหนือจากเรื่องการแฮกสำนักงานบริหารจัดการงานบุคคลของสหรัฐฯแล้ว เมื่อปี 2016 ลูกจ้างของเอฟบีไอผู้หนึ่งรับสารภาพว่าเป็นสายลับคอยส่งข่าวให้จีนมาหลายปี โดยมุ่งส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีอ่อนไหวทั้งหลายไปให้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด, ห้องพักหรูหราเวลาเดินทางไปต่างประเทศ และ บริการโสเภณี

โทษของผู้ทรยศแผ่นดินคือตาย!! “จีน” สังหาร  สายลับ CIA และ FBI กว่า 20 คน บางส่วนโดนขังคุก ทำงานข่าวสหรัฐฯ สิ้นประสิทธิภาพ