ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 25 พ.ค. 2560  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนัดกิจ ชารีรัตน์ ศูนย์บูรณะระบบนิเวศน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โชว์ผลงานนวัตกรรม คอนกรีตพรุน เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ผ่านต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้าในเขตชุมชนเมือง ซึ่งคอนกรีตพรุนสามารถระบายน้ำได้ดี ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังตามทางเดินเท้า และยังมีระบบการจัดการน้ำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ลดการเกิดหลุมขรุขระ การทรุดตัวของวัสดุรองชั้นผิวทาง น้ำบางส่วนยังสามารถออกแบบให้ซึมลงใต้ดินเพื่อเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน เป็นนวัตกรรมของระบบการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน

 

 

ผศ.ดร.ถนัดกิจ ชารีรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหัวหน้านักวิจัยฯ เปิดเผยว่า ผลงานวิจัยคอนกรีตพรุน (Eco-Concrete) เคยได้รับรางวัลในระดับชาติจากการประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย(Eco-Design)ซึ่งจัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 15 ผลงานวิจัยที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ (Research Commercialization) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และเข้าร่วมโครงการ Leaders in Innovation Fellowships Programme (LIF) ประจำปี 2558 ที่ผ่านมา  ในส่วนของ ผลงานนวัตกรรมคอนกรีตพรุน การวิจัยต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้าในเขตชุมชนเมือง   ผศ.ดร. ถนัดกิจ ชารีรัตน์ หัวหน้านักวิจัยฯ ม.อุบลฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “บล็อกคอนกรีตพรุนได้ออกแบบความพรุน (อัตราส่วนโพรง) ไว้ที่ 30% และให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำที่ 0.91 เซนติเมตรต่อวินาที  โดยบล็อกคอนกรีตพรุนดังกล่าวสามารถลดอุณหภูมิและความร้อนสะสมบนพื้นผิว ลดแสงสะท้อนเข้าสู่ตัวอาคารและสามารถดูดซับเสียงได้บางส่วน นอกจากนี้ตัวบล็อกคอนกรีตพรุนยังมีพื้นผิวที่ไม่ลื่น ไม่มีน้ำขัง ไม่มีตะไคร่น้ำและมีความสวยงาม เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุข โดยช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มในพื้นที่ห้องน้ำหรือพื้นที่โดยรอบตัวบ้านสำหรับกลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้พิการได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เทคโนโลยีคอนกรีตพรุนจึงถือเป็นเทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ที่นักวิจัยต้องการสนับสนุนให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Society) อย่างแท้จริง”  ซึ่งบล็อกคอนกรีตพรุนช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังตามทางเดินเท้า ลดโอกาสการเกิดหลุมขรุขระอันเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของวัสดุรองชั้นผิวทาง นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดการน้ำส่วนที่ไหลผ่านผิวทางเท้าให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100 % เช่น รดน้ำต้นไม้ สนามหญ้า เป็นต้น โดยน้ำที่ใช้ได้ผ่านระบบการกรอง การตกตะกอนและการเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ น้ำบางส่วนสามารถออกแบบให้ซึมลงใต้ดินเพื่อเพิ่มระดับน้ำใต้ดินได้อีกด้วย

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานแห่งความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่สามารถนำผลงานนวัตกรรมมาใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว ถือเป็นนวัตกรรมของระบบการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชนเมือง สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้าในเขตชุมชนเมือง เพื่อลดภาวะโลกร้อน (Eco-Footpath) สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ผศ.ดร.ถนัดกิจ ชารีรัตน์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อาคาร EN6 ชั้น 4 โทร. 045-353343 หรือ ชมตัวอย่างต้นแบบทางเดินเท้าในเขตชุมชนเมืองเพื่อลดภาวะโลกร้อน ได้ที่บริเวณหน้าศูนย์บูรณะระบบนิเวศน์ อาคาร EN2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

อึ้งกันไปเลย!! คลิปสุดเจ๋ง.. อาจารย์วิศวะ ม.อุบลฯ โชว์เทคโนโลยีคอนกรีตชนิดใหม่ ต้นแบบระบบจัดการน้ำบนทางเท้า แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง (ชมคลิป)

ข่าว/ภาพ  จิรวัฒน์ บุญจอง    ผู้สื่อข่าวภูมิภาค    สำนักข่าวทีนิวส์    จังหวัดอุบลราชธานี